แล้วพอเราเข้าใจแล้วว่าเราไม่เข้าใจเรื่องอะไรก็ทำให้เราหาความรู้เพิ่มเพื่อที่จะเข้าใจเรื่องที่ไม่เข้าใจแต่เมื่อเราคิดว่าเราเข้าใจแล้วก็จะพบว่ามีบางเรื่องที่เรายังไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจเรื่องที่ไม่เข้าใจ
quoting note1uk8…9kcgใช่มะ ;)
ปล. คำอธิบายนี้ไม่อิงตามหลักของพจนานุกรมใด ๆ แค่อยากบอกเฉย ๆ
คือเราเอาคำว่า “เข้าใจ” มาเติมคำนำหน้าว่า “ถ้า” ที่มีความหมายเป็น เงื่อนไข (เหมือน if/else ในการโปรแกรม) พอรวมกันเป็นคำว่า “ถ้า+เข้าใจ” มันเลยเป็นเงื่อนไข 2 ตัวเลือก ระหว่างสิ่งที่ตรงข้ามกัน ระหว่าง “เข้าใจ (true) ” กับ “ไม่เข้าใจ (false)” แล้วใช้ “จะ” เพื่อเป็นการเน้นย้ำผลลัพธ์ของคำว่า “เข้าใจ“ อีกทีว่าจะให้ผลลัพธ์จากเงื่อนไงยังไงบ้าง
ดังนั้นมันเลยมีความหมายจากการย่อเป็นคำพูดสั้น ๆ ของ ”ถ้าเข้าใจ จะเข้าใจ“ ว่า
[ถ้าหากว่าคุณเข้าใจ คุณจะเริ่มเข้าใจมันมากขึ้น], แต่ถ้าหากคุณไม่เข้าใจ คุณก็จะไม่มีวันเริ่มเข้าใจมัน
งง กว่าเดิมมั้ยนะ, ภาษาเวลาเอามาย่อให้สั้น ๆ โดยที่ไม่มีบริบท เวลาต้องตีความแต่ละคนจะตีความไม่เหมือนกัน สงสัยได้กลับไป Long-Form แบบเดิมดีกว่า 555
ในบริบทนี้คำว่า “เข้าใจ” เป็นคำเชิงบวก ให้ผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้น ส่วน “ไม่เข้าใจ“ เป็นคำเชิงลบ ให้ผลลัพธ์ที่เท่าเดิมอยู่กับที่
เช่น
บอกเล่า
”ผมไม่เข้าใจจริง ๆ ทำไมถึงมีคนถือบิตคอยน์“
ก็คือผมไม่อยากจะเข้าใจมันนั่นแหละ
”ผมเข้าใจแล้ว ทำไมบิตคอยน์ถึงมีแค่ 21 ล้านหน่วย“
ก็คือเข้าใจแล้วว่าการมีซัพพลายจำกัดดียังไง แต่ถ้าเรียนรู้เพิ่มก็จะเข้าใจต่อไปอีกว่าทำไมมันถึงต้องเป็นแค่ 21 ล้านหน่วยไม่มากไม่น้อยกว่านี้
“ผมเข้าใจแล้ว ทำไมบิตคอยน์ถึงไม่เหมาะกับผม”
ก็คือเข้าใจจากการได้ศึกษามันแล้วว่า บิตคอยน์มันจะทำลายมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ ที่เขามีในหน่วยของเฟียต ถ้าหากว่าบิตคอยน์มันประสบความสำเร็จ เขาถึงรู้ดีว่าจะต้องต่อต้านมัน
บอกเล่า แต่ระวังการกลับความหมาย
“ผมเข้าใจครับ / แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เข้าใจ”
“ครูครับ ผมไม่เข้าใจบทเรียนบทนี้ / เข้าใจ แต่ยังเข้าใจไม่ทั้งหมด แต่ใช้การสื่อสารว่าไม่เข้าใจ เพื่อที่จะให้ครูอธิบายให้เข้าใจมากขึ้น”
นั่นแหละ ทำไมประโยคคำพูดสั้น ๆ ถึงสามารถทำคนให้ทะเละกันได้, พวกที่ชอบตัดเอาแค่ Quote สั้น ๆ มาแปะก็ด้วย