VDO ซึ่งความจริงแล้ว คำว่า วีดีโอ เป็นคำที่เขียนตามคำอ่าน คำแปลที่ใช้กันเป็น
ทางการและใช้ตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา คือ คำว่า วีดิทัศน์ เว็บไซต์ของ
สำนักราชบัณฑิตยสภา อธิบายที่มาของคำนี้ ดังนี้
┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นว่า video เป็นเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกับ television ซึ่งมีคำไทยใช้ว่า โทรทัศน์ แล้ว สมควร
คิดหาคำไทยใช้กับ video ด้วยโดยคำที่จะคิดขึ้นนี้ควรจะมีคำว่า “ทัศน์” ประกอบ
อยู่ด้วย เพื่อให้เข้าชุดกัน และควรหาคำที่จะมีเสียงใกล้เคียงกับคำทับศัพท์ที่นิยมใช้
กันอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้มีการยอมรับศัพท์ที่คิดขึ้นได้ง่าย คำ video เป็นคำคุณศัพท์
ที่มีความหมายว่า “มองเห็นได้ เห็นเป็นรูปภาพได้ เกี่ยวข้องกับรูปภาพ” พจนานุกรม
ต่างประเทศหลายเล่มเก็บความหมายไว้เท่ากับ television ด้วย ศาสตราจารย์
คุณบรรจบ พันธุเมธา กรรมการท่านหนึ่ง ได้เสนอคำ วีติ ซึ่งเป็นคำสันสกฤตที่อาจจะ
แปลงอักขระเป็น วีดิ ในภาษาไทยได้และมีเสียงใกล้เคียงกับ video ด้วย คำ วีติ
ในภาษาสันสกฤตแปลว่า enjoyment pleasure เมื่อนำคำ “ทัศน์” มาลงท้าย
ในลักษณะเดียวกับคำโทรทัศน์ จะลงรูปเป็น วีดิทัศน์ ซึ่งหากจะแปลความหมาย
อย่างง่ายๆ ก็อาจแปลได้ว่า เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความเพลิดเพลิน แต่ถ้าแปล
ตรงตามตัวก็แปลว่า“เกี่ยวกับภาพเพื่อความเพลิดเพลิน”
┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
ส่วนคำภาษาอังกฤษ VDO ที่ใช้กันทั่วไป โดยคิดว่าเป็นคำย่อของ video นั้น
ที่ถูกต้องคือ คำว่า video เป็นคำเดียว ไม่สามารถย่อได้ หากจะใช้คำย่อ ต้องใช้
คำว่า vc ย่อมาจากคำว่า video clip และใช้เป็นภาษาไทยว่า คลิปวีดิทัศน์ หรือ
ถ้าเป็นเทปวีดิทัศน์ใช้ videotape หรือ video tapes คำว่า video เป็น
mass noun ก็ได้ คือไม่มีรูปพหูพจน์ ไม่เติม s เช่น
People like to use video to talk over the Net. หรืออาจใช้เป็น
singular/plural noun สามารถเติม s ได้เมื่อเป็นพหูพจน์
เช่น I’m watching a video. คำที่ใช้ กับ video ยังมีอีกหลายคำที่เราได้ยินกันบ่อย
เช่น music video เรียกย่อว่า MV มีศัพท์บัญญัติว่า ภาพประกอบเพลง
นอกจากนี้ยังมีคำว่า videotape หรือ video cassette, home video, video store
, video game, video camera, video jockey หรือที่เรียกย่อๆว่า วีเจ (vj),
video maker, video editor กลุ่มคำเหล่านี้ สามารถ ใส่ a หน้าคำว่า video ได้
เพราะ main noun หรือ คำนามหลักที่อยู่หลังคำว่า video ได้แก่ store, game,
camera, jockey , maker, และ editor เป็นนามนับได้ หรือจะใช้เป็นรูปพหูพจน์
ใส่ s ท้ายคำเหล่านี้ ก็ได้ เช่น I always play video games. รู้อย่างนี้แล้ว
โปรดใช้คำว่า video และ วีดิทัศน์ ให้ถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน/การแปลด้วย
------------ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรสิริ พลเดช ------------
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๒
#Siamstr
quoting# วีติ (video, not VDO)
nevent1q…jhw5
> "วีติ" ซึ่งเป็นคำสันสกฤตที่อาจจะแปลงอักขระเป็น "วีดิ" ในภาษาไทยได้ และมีเสียงใกล้เคียงกับ video ด้วย
วีติ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า enjoyment, pleasure เมื่อนำคำ “ทัศน์” มาลงท้ายในลักษณะเดียวกับคำว่า "โทรทัศน์" จะลงรูปเป็น "วีดิทัศน์" ซึ่งหากจะแปลความหมายอย่างง่าย ๆ ก็อาจแปลได้ว่า เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความเพลิดเพลิน แต่ถ้าแปลตรงตามตัวก็แปลว่า “เกี่ยวกับภาพเพื่อความเพลิดเพลิน”
ที่มา : http://legacy.orst.go.th/?knowledges=video-%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
#siamstr