การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คือเครื่องมือส่งเสริมการผูกขาดให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ ช่วยกำจัดรายเล็กไม่ให้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่ง
ลองนึกดูดีๆ นะครับ ว่าการบังคับขึ้นค่าแรงจะกระทบกับคนกลุ่มใดบ้าง
ถามว่าบริษัทใหญ่ เช่น กลุ่มบริษัทมหาชนที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนประเทศ มีกี่ต่ำแหน่งงานที่ให้เงินเดือนแรงงานต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ?
คำตอบคือ แทบจะไม่มี
แม้กระทั่งตำแหน่งที่เล็กที่สุดอย่าง แม่บ้าน ก็มีเงินเดือนที่หารต่อวันเกินค่าแรงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้นบริษัทใหญ่ก็ไม่กระทบอะไรอยู่แล้วนี่ ยิ่งสายป่านยาว ค่อยๆ วางแผนปรับเปลี่ยนรับมือเอาสบายๆ
แต่ผู้ประกอบการรายกลางรายเล็ก รวมถึงพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยที่อยู่แบบเดือนชนสองเดือน
เจอนรกของจริง สภาพเหมือนโดนส้นตรีนถีบยอดหน้าอย่างจัง
จริงๆ แล้ว การกำหนดค่าแรงว่าควรจ่ายเท่าไร ควรปล่อยไปตามกลไกตลาดหรือไม่ ตามความสามารถของผู้จ่าย หรือควรให้รัฐมาชี้นิ้วสั่งแบบที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ทุกการกระทำมี ราคา ต้องจ่าย และการตัดสินใจของคนที่ไม่มีส่วนได้เสีย มักจะทำมันพังเสมอ
ผู้ที่มีปัญญาในการจ่ายต่ำจะทำยังไง?
เมื่อผู้ประกอบการไม่มีทางเลือก ต้องขึ้นค่าแรงตามกฎหมายกำหนด แต่ความสามารถในการจ่ายมีไม่ถึง เขาก็ต้องดิ้นรนสักทาง จะขึ้นค่าแรงยังไงให้อยู่รอด
เลี่ยงไม่พ้น 2 ทาง
1. ขึ้นราคาสินค้า/บริการเพื่อรองรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เพียงสินค้าของเรา แต่ในสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการที่ขายวัตถุดิบขึ้นราคาทั้งหมด
ขึ้นราคาสินค้าก็ไม่ง่าย เพราะเงินเฟ้อได้ไม่จำกัด แต่ราคาสินค้าขึ้นได้จำกัด มันมีเส้นราคาที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายค้ำคออยู่ เมื่อไรก็ตามที่ตั้งราคาล้ำเส้นนี้ งานอาจจะงอกกว่าเดิม สัดส่วนราคาที่เพิ่มขึ้นไม่มีทางไล่อัตราเงินเฟ้อทัน หมายความว่า กำไรลดลง
2. ลดพนักงานลงเพื่อให้จ่ายเท่าเดิม เคยจ้าง 10 คน ก็เหลือ 7 เหลือ 5 ลดจำนวนคนจนกว่าค่าแรงรวมที่ต้องจ่ายจะอยู่ในจุดที่รับไหว แล้วไปรีดเค้นศักยภาพของคนที่อยู่เพิ่มเอา
Productivity ของแรงงาน 1 คน จำเป็นต้องสูงขึ้นต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้ผลผลิตเท่าๆ เดิม
เติบโตยากขึ้น เพราะนอกจากต้นทุนวัตถุดิบและการตั้งราคาสินค้าจะสู้รายใหญ่ยากอยู่แล้ว กำแพงต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนี้มันกีดกันการเติบโตไปอีก
การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้การกดค่าแรงหมดไปไหม? คำตอบคือ ไม่
เจ้าของกิจการที่สันดานชอบกดค่าแรง มันก็จะกดอยู่นั่น ไม่ว่ารัฐบาลจะขึ้นหรือไม่ขึ้นค่าแรงก็ตาม และในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่รัฐก็ยากที่จะจัดการ
ลองตอบตัวเองในใจดูครับว่า... ณ วันนี้ที่มีกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ เฉลี่ยราว 350.- ยังมีคนที่แอบกดราคา จ่ายค่าแรงต่ำกว่าอยู่ไหม?
รัฐไม่ควรยุ่ง ควรปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ
ใครมีปัญญาจ่ายเท่าไรก็จ่ายตามนั้น เจ้าของกิจการรายไหนที่สันดานชอบเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ ใช้งานลูกน้องหนักเยี่ยงทาส กดค่าแรงต่ำๆ จะถูกลงโทษโดยกลไกตลาดแรงงานเอง
ทำให้เกิดการแข่งขันแบบเสรี แรงงานมีสิทธิ์ที่จะเลือก กิจการไหนให้ค่าแรงอัปปรีย์ กดราคาต่ำกว่าชาวบ้าน คุณก็ยากที่จะหาแรงงานที่ตรงสเป็ก เนื่องจากเขาเลือกไปทำที่อื่น
แต่ถ้ามีคนเลือกทำด้วยค่าแรงที่ต่ำโดยความสมัครใจ ไม่ใช่การถูกบังคับกดขี่ แสดงว่าราคาค่าแรงของเขานั้นยังมีความต้องการในตลาดอยู่ ซึ่งเจ้าของกิจการที่เลือกให้ค่าแรงต่ำก็ต้องแลกกับความเสี่ยงด้านความมั่นของแรงงาน การขับเคลื่อนธุรกิจของตัวเองก็จะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากได้คนที่คุณสมบัติไม่ตรง มีการลาออกบ่อย หาคนใหม่ยาก หรืออาจจะหาคนมาทำด้วยไม่ได้เลย
ตลาดเสรีจะบีบบังคับคนทำธุรกิจให้ตั้งค่าแรงที่เหมาะสมโดยธรรมชาติ เพื่อจูงใจให้คนมาทำงานด้วย ไม่งั้นธุรกิจก็ไปต่อไม่ได้
แล้วตลาดจะเจอจุดสมดุลย์ของมันเอง ไม่ใช่ให้คนที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาเจ้ากี้เจ้าการ
#Siamstr