Why Nostr? What is Njump?
2023-08-17 08:25:26

Libertarian.realpolitik on Nostr: ...

รัฐจะให้รัฐสวัสดิการมากเท่าไหร่ คนก็ไม่ได้หายจนหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.
สวัสดิการให้คนจนไม่ได้ทำให้คน "หายจน" หรือ "บรรเทาความยากจน"
ไม่ว่าจะอ้างวิธีการให้ได้ผลยังไงในแบบเฉพาะเจาะจงหรือแบบถ้วนหน้าก็ไม่ได้ทำให้คนหายจน ตามสมมติฐานที่ว่า "ถ้าแจกเงินคนละล้านหรือมากกว่านั้นต่อคนทุกคน ก็หมายความว่าคนทุกคนจะต้องร่ำรวยขึ้นในสภาวะที่มีเงินจำนวนมากในมือ แล้วในปัจจุบันมีธนาคารแห่งชาติที่สามารถพิมพ์ธนาบัตรออกมาจากอากาศได้อย่างไม่จำกัดที่จะสามารถแจกเงินจำนวนมากได้"
.
ถ้าเช่นนั้นหมายความว่าทุกคนจะต้องเป็นคนรวยและไม่มีใครเลยเป็นคนจน แต่ในความเป็นจริงคนทุกคนย่อมจนเหมือนเดิมเงินที่ถืออยู่ก็ไม่มีค่าใด ๆ กำลังซื้อลดน้อยถอยลงและการตั้งราคาสินค้าและบริการจะต้องตั้งในราคาสูง ๆ ตามปริมาณเงินในเศรษฐกิจที่ล้นเกิน
.
สมมติฐานนี้ใช้ได้กับ "รัฐสวัสดิการ" (welfare state) ถ้าหากการแจกเงินบรรเทาหรือลดความยากจนได้ ทำไมคนถึงยังไม่ออกจากความยากจน หรือ ขยับทางชนชั้นขึ้น? ตามทฤษฏีเคนส์มันจะส่งเสริมให้คนใช้จ่ายเพื่อยังชีพในระยะสั้นเท่านั้น แต่ในระยะยาวคนก็จนลงเหมือนเดิม กลับกันการออกจากความยากจนและการขยับทางชนชั้นมาจากการมีความมั่งคั่งที่สูงขึ้นอันมาจากการเก็บออม และเนื่องด้วยพฤติกรรมคนที่แตกต่างกันคำว่าการเก็บออมแล้วใช้ในอนาคตก็ย่อมแตกต่างตามสถานการณ์ ต่างจากการสร้างสภาวะที่กระตุ้นให้เกิดการบริโภคในระยะสั้นและก็ต้องบริโภคในระยะสั้นตามที่กำหนดจากรัฐ
.
แม้แต่เรื่องความเหลื่อมล้ำ (inequality) จะต้องทบทวนถึงทฤษฏีฝ่ายซ้ายที่อ้างได้ว่าพวกเขาจะไม่ใช่อำนาจรัฐเลย ถ้าเพราะทุกคนจะตกลงร่วมใจกันอย่าง "เท่าเทียม" แต่ในความเป็นจริงมันทำไม่ได้เพราะมนุษย์ไม่เคยเท่าเทียมและไม่มีทางที่จะเท่าเทียม ฉะนั้นฝ่ายซ้ายจะต้องใช้ "อำนาจของอะไร" ในการบังคับคนให้เท่าเทียม? ก็ต้องอำนาจรัฐ ไม่ใช่สังคมหรือวัฒนธรรมก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงชนชั้นและความไม่เท่าเทียมเสมอ แม้แต่มิติทางเศรษฐกิจ มันทำให้ฝ่ายซ้ายจะต้องเลือกเข้าหาอำนาจรัฐเพื่อปราบปรามชนชั้นและความไม่เท่าเทียมที่หลีกเลี่ยงการบังคับไม่ได้อยู่ดี
.
ดังนั้น เราควรหันกลับมามองด้วยสายตาที่ยาวขึ้นและหาความมั่นคงในชีวิต เริ่มต้นจากประเด็นเชิงโครงสร้างของรัฐที่ควรลดการใช้จ่ายและแทรกแซงเศรษฐกิจ การปล่อยไปตามกลไกตลาดจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้คนดำเนินชีวิตอย่างไม่มีอุปสรรคขัดขวางและทำให้คนเกิดความจำเป็นต้องเก็บออม เมื่อเป็นเช่นนี้ความมั่งคั่งก็ต้องเพิ่มขึ้น (การเพิ่มความมั่งคั่งในสภาวะเศรษฐกิจปกติล้วนแล้วมาจากพฤติกรรมของคนเช่น การทำงานหนัก การมีวินัยทางการเงิน การเก็บออม ฯลฯ) ตรงนี้ก็ไม่ต้องมีความจำเป็นจะต้องกังวลเรื่องความเหลื่อมล้ำแล้วเพราะมันเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์และแก้ไขไม่ได้ มันจะแสดงให้เห็นว่าในตลาดเสรีทุนนิยม ยิ่งคนรวยขึ้นก็จะรวยขึ้นไปอีก ยิ่งคนที่จนอยู่แล้ว พวกเขาก็ตีนถีบตัวเองให้รวยขึ้นตามลำดับ
.
จากที่กล่าวมาข้างต้นและจนถึงทุกวันนี้ก็ไม่มีการยืนยันเชิงประจักษ์ (empirical verified) ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจริง ๆ ว่าความยากจนมันลดลงได้ยังไงจากการนโยบายการแทรกแซงเศรษฐกิจของรัฐ (ยกเว้นความยากจนจะลดลงแค่ในระยะสั้น) นอกเหนือจากในช่วงเวลานั้นมันจะต้องมีปัจจัยภายใต้เงื่อนไขหนึ่งที่เอื้อให้เกิดความมั่งคั่งขึ้นนำไปสู่การหลุดพ้นจากความยากจนเท่านั้น การหลุดพ้นจากความยากจนหรือการเกิดความมั่งคั่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างโดด ๆ มันต้องมีเหตุที่ทำให้มันเกิดขึ้น แต่พูดได้ว่ามันไม่ได้เกิดจากการให้สวัสดิการกับคนยากจนแน่นอน

Author Public Key
npub187fs6hc9k2ase93v54h9qzx3zz5rrhwc89gstjdextprzlxcee9sdltz9m