เมื่อผมโพสต์คลิปสรุปว่าจะทำให้อำเภอห้วยผึ้ง เปิดรับการชำระเงินด้วยบิทคอยน์
เป็นแนวคิดที่ดีครับ แต่การใช้จ่ายสกุลเงินคริปโต ผมยังมองว่ามันยังต้องสร้างคอมมูนิตี้เฉพาะในการซื้อขายเพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเหรียญครับ เพราะหากเรายังต้องอิงค่าสกุลเงินอื่นเช่นสกุลบาทในการคำนวณซื้อขาย ซึ่งการผันผวนเงินค่อนข้างสูงซึ่งไม่เหมาะ เพราะอาจจะเกิดปัญหา เรื่องกำไรขาดทุน นี่ยังไม่พูดถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสกุลเงินดังกล่าว อีกอย่างทางเจ้าของโพสต์ยังอ้างอิง ตัวสกุลบิทคอย ซึ่งมีมูลค่า 1 : 2,300,000 บาท ผมว่ามันอาจจะไกลตัวกับประชากรในอำเภอเรา เลยคิดว่าเราน่าจะไปมุ่งเน้นเรื่องอื่น ที่มันใกล้ตัวและสำเร็จได้ง่ายขึ้นและไม่เสียเวลาครับ ส่วนตัวผมยังดอยตัวบิทคับอยู่ที่ 200 กว่าเลย
ตอบ :
ตอนนี้มีเลเยอร์ที่ 2 ของบิทคอยน์แล้วครับ เราสามารถใช้จ่ายหน่วยย่อยๆ ของมันได้เลย 1฿ แลกได้ 40 ซาโตชิ ( 1 Bitcoin = 100,000,000 satoshi )
แอพที่ใช้(เรียกกระเป๋าwallet) เราสามารถระบุจำนวนเงินบาทได้เลยครับ
ที่ผมเสนอไปยังไม่ได้พูดถึงช่องทางรับเลยครับ เพราะจุดนั้นมันเป็นจุดที่เล็กมากๆ ในการสร้างแนวคิดการเปลี่ยนแปลง แต่ผมพูดถึงความเสี่ยง ความเข้าใจ และการมองหาความสำคัญที่จะต้องทำจุดนี้ต่างหากครับ เพราะคลิปโตมันคือการลงทุน แบบปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะถ้าเราไม่ลงทุนซื้อเพื่อเก็งกำไร ความจำที่จะเอาเงินบาทไปแลก ตรงนี้มัน=0จริงๆครับ หากกลุ่มเป้าหมายที่เรากำลังจะลงไปสร้างความรู้แล้วเกิดความสนใจ แต่ขาดความรู้และมีความโลภเกิดขึ้น อาจเกิดปัญหาเรื่องขาดทุนแล้วสูญเงินแบบไม่เป็นเรื่องได้ อีกอย่างที่ผมเทียบอัตราส่วน 1 : 2,300,000 บาทนั้น เพราะอยากให้มองถึงความต่างของมูลค่าของสกุลเงินครับ ว่ามันต่างกันมากๆ ซึ่งมันเสี่ยงมากๆเลยครับที่จะแนะนำให้คนที่ไม่ศึกษาแบบจริงจังเข้ามาในวงการนี้ เพราะมันหมดตัวได้แบบข้ามคืน ทั้งๆนี้ทั้งนั้น หากเราอยู่ในแวดวงนี้ ผมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ครับ แต่มันก็ถือเป็นเรื่องยากมากๆและมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง กับประชาชนทั่วไปในอำเภอเรา เลยมองว่าจุดนี้ มันอาจจะได้ไม่คุ้มเสียจริงๆครับ
ตอบ :
เข้าใจเรื่องความกังวลได้ครับ ซึ่งผมก็ไม่สามารถให้ความรู้ทุกคนได้ ถ้าเขาไม่สนใจจริงๆ ต่อให้เขาสนใจเกร็งกำไร ผมก็ไม่สอนอยู่ดี เพราะ bitcoin มันสร้างมาเป็นเงินที่แข็งแกร่ง ผมจะแนะนำให้แค่ว่า ค่อยๆ เก็บออมมันไป หยอดกระปุกไป 10฿ 20฿ กินให้อิ่มก่อน เหลือแล้วค่อยเก็บออม
แต่สิ่งที่ห้วยผึ้งจะทำคือ ผู้ประกอบการสามารถ ได้ bitcoin จากการขายสินค้าและบริการ เป็นหลัก ไม่ต้องไปลงทุนอะไร เปิดพื้นที่รับชำระ แค่นั้นเองครับ
ความแข็งแกร่งอันนี้ขอโต้แย้งครับเพราะปี 2 ปีที่แลัว หล่นลงมาที 9 แสนกว่าเลยจาก 2 ล้านกว่า ซึ่งหากจะคิดว่ามันคือการหยอดกระปุก โดยใช้เงินบาทหยอด มูลค่าจาก 10 บาท อาจจะตกมาที่ 5 บาท ได้แบบชั่วข้ามคืนจริงๆครับในสกุลคริปโต เพราะผมเจอบิทคับมาแล้ว อีกอย่างครับ คำว่าไม่ต้องลงทุนอะไร อันนี้ผมว่าผิดครับ เพราะการเอาเงินบาทไปแลกเงินสกุลคริปโตที่มีความผันผวนสูง มันคือการลงทุนเพื่อเก็งกำไรครับ เพราะหากเราเอาเงิน 10 บาทไปแลกเป็นเหรียญบิทคอย แต่พอมูลค่าเหรียญลดลง เหลือ8 บาท จากที่เราจะซื้อขนมในราคา 10 บาท โดยใช้บิทคอยซื้อ เราก็ซื้อมันไม่ได้เพราะมูลค่าเหรียญมันลดลง
สุดท้ายแล้วอะไรคือเหตุผลที่ผู้ประกอบการในอำเภอเราจะหันไปใช้สกุลเงินคริปโตที่มีความเสี่ยงต่อมูลค่าของเงินบาทที่ตัวเองมีเพราะสกุลเงินบาทผันผวนน้อยกว่ามากก และมีเสถียรภาพสูงอีกต่างหากครับ ผมจึงมองเห็นแย้งตรงนี้ และหาความจำเป็นยังไม่พบจริงๆครับ
ตอบ :
เพราะเงินบาทหรือเงินสกุลอื่นๆ ไม่สามารถรักษามูลค่าได้ครับเพราะถึงแม้ว่า จะเสถียรผันผวนน้อยกว่า แต่มันเฟ้อครับ เอาแค่ดอลล่าก็ได้ มูลค่าของมันลดลง 99% ตั้งแต่ รัฐบาลเมกายกเลิกการใช้ทองคำค้ำค่าเงินครับ พอเงินไม่สามารถ รักษา อำนาจการซื้อในอนาคตได้ เราจะต้องจ่ายสินค้าในราคาที่แพงขึ้น ทำงานแบกน้ำใส่ตุ่ม แต่เงินเฟ้อเจาะรูตุ่มเรา แบบนี้คนที่เก็บออมก็ไม่สามารถพักได้เลย
เหตุผลนี้ไม่น่าจะใช่เหตุผลที่เรากำลังโต้แย้งกันอยู่ครับ เพราะมูลค้าของสินค้าในประเทศเราโดนตีมูลค่าจากเงินบาททั้งหมดครับ โดยใช้ค่าเงินของดอลล่าร์เป็นตัวกลาง เราจึงไม่สามารถนำมูลค่าของเงินบาทแยกออกจากเหตุและผลได้ในระบบเศรษฐกิจครับ ผมขอโต้แย้งเพียงแค่นี้ละกันครับ
ตอบ :
เอาจริงผมอยากคุยต่อนะ เพราะถึงแม้ว่า การรับชำระด้วยบิทคอยน์ในมุมมองที่กังวลจะมีความเสี่ยง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกิด คนที่พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนบิทคอยน์เป็นเงินบาทให้คนต่างชาติ การแบกเปลี่ยนมือต่อมือ สามารถค่าธรรมเนียมในการทำธุระกรรมได้ พอสมควร
แถมมีความเป็นส่วนตัวสูงในการทำธุรกรรมอีก ยังไงแวะเข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันที่ร้านได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ
Here’s the translation of your conversation into English:
When I posted a clip summarizing how to make Huai Phueng District accept Bitcoin payments:
“This is a good idea, but I still think using cryptocurrency for payments requires building a specific community for transactions and exchanges. If we still need to reference another currency, like the Thai Baht, for calculations, the high volatility might make it unsuitable and lead to profit or loss issues. This doesn’t even mention the need for education, understanding, and confidence in such currency. Also, the post references Bitcoin with a value of 1 to 2,300,000 Baht, which might feel too distant for residents here. Perhaps we should focus on something more tangible and feasible without wasting time. Personally, I’m still ‘holding’ Bitkub at around 200 Baht.”
Response:
“There is now a second layer of Bitcoin, allowing us to use smaller units. One Baht can get you 40 Satoshi (1 Bitcoin = 100,000,000 Satoshi). Wallet apps let you specify amounts directly in Baht.
My suggestion doesn’t even cover the acceptance channels yet, as that’s a minor point in introducing this idea. What I’m addressing are the risks, understanding, and purpose of implementing this change. Cryptocurrency undeniably involves investment. If there’s no intent to buy for profit, the need to exchange Baht for Bitcoin is practically zero. If the target audience we aim to educate becomes interested but lacks knowledge and has unchecked greed, they might face unnecessary losses. As for referencing 1 Bitcoin at 2,300,000 Baht, it was to highlight the vast difference in value. Recommending this to those without thorough knowledge could be highly risky, as it could wipe them out overnight. While I support this idea within the crypto community, it’s a difficult, high-risk concept for the general public here. This point might not be worth it.”
Response:
“I understand your concerns. I can’t educate everyone if they aren’t genuinely interested. Even if they were interested in speculation, I wouldn’t teach it because Bitcoin was designed as hard money. I’d only recommend saving gradually, like putting away 10 or 20 Baht after essential expenses.
What Huai Phueng intends is for businesses to receive Bitcoin from goods and services rather than investing. Just open up to receive payments; that’s it.”
Response:
“I disagree with the notion of Bitcoin’s stability. A couple of years ago, its value dropped from over 2 million Baht to around 900,000 Baht. If you think of it as saving in a piggy bank in Baht, the 10 Baht you put away might drop to 5 Baht overnight in crypto. And the idea of ‘no investment’ is incorrect since exchanging Baht for a highly volatile cryptocurrency is speculative investment. If you buy Bitcoin with 10 Baht and its value drops to 8 Baht, you wouldn’t be able to buy a snack worth 10 Baht. In the end, why would local businesses adopt such a risky currency over the more stable Baht?”
Response:
“Because other currencies can’t maintain value; even if they’re more stable, they suffer from inflation. Take the US Dollar, for instance; its value has fallen by 99% since the US government abandoned the gold standard. When money can’t retain its purchasing power, prices go up, and savers can never rest.”
Response:
“This reason doesn’t seem relevant to our current debate. In our country, goods are valued in Baht based on the dollar as an intermediary. We can’t separate Baht’s value from the economic system. That’s all I’ll argue on this.”
Response:
“I’d actually like to continue this discussion. Although there are risks in accepting Bitcoin, it doesn’t mean it’s impossible. Those ready to exchange Bitcoin for Baht for foreigners can charge reasonable transaction fees with a high level of privacy. Feel free to drop by the shop and chat. Thank you!”
#siamstr #HPP #Huaiphuengproject #nostr #v4v #p2p #lightning #zap #localthailand #huaiphueng #kalasin #thailand #bitcoin #plebchain #runningbitcoin #ecosystem #wherostr #bitcoinhub #bitcoinasia #nostrasia #bitcoincity