Why Nostr? What is Njump?
2024-02-21 14:21:52

itssara on Nostr: มา ต่อ! หลังจากโน้ตก่อนหน้านี้ ...

มา ต่อ!

หลังจากโน้ตก่อนหน้านี้ ที่ได้พูดถึงการจ้างงานในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการมาถึงของเงินเดือนซึ่งอยู่ในช่วงปีค.ศ. 1870 - 1930 เราลองมาดูพัฒนาการของการจ้างงานแต่ละประเทศกันครับ

ประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยแล้ว ระบบเงินเดือนนั้นเริ่มมีปรากฎครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีค.ศ. 1875 หรือ พ.ศ.2418 ซึ่งแต่เดิมที่ข้าราชการจะได้รับค่าตอบแทนจากค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าจ้างงานจากเมืองหลวง โดยอาจมีโบนัสจากกษัตริย์เป็นครั้งคราวขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในผลงานและสถานการณ์บ้างเมืองในช่วงเวลานั้น

นอกจากนี้ยังมีข้าราชการที่ถูกส่งไปดูแลหัวเมืองต่างๆ หรือเรียกว่า “ข้าราชการกินเมือง” ซึ่งได้รับอิสระในการบริหารจัดการหัวเมืองนั้นๆ ในระดับนึง ค่าตอบแทนที่ได้รับจึงมาจากค่าธรรมเนียมในการอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับข้าราชการในเมืองหลวง แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ “ทุนจากชาวบ้าน” ทุนเหล่านี้หมายความทั้ง ข้าวปลาอาหาร, ทรัพยากรต่างๆที่ชาวบ้านหามาได้ในรูปแบบของภาษี และทรัพยากรเวลา แรงงานที่ได้จากชาวบ้านในหัวเมืองนั้นๆ ให้ข้าราชการเหล่านั้นใช้งาน ว่ากันง่ายๆก็คือ “กำลังพล”นั่นแหละครับ

ซึ่งการมีอิสระในลักษณะนี้ย่อมส่งผลถึงความมั่นคงของเมืองหลวง เมื่อหัวเมืองสามารถสะสมทรัพยากร สะสมกำลังได้ ส่งผลให้หัวเมืองมีความแข็งแรงและอาจกระด้างกระเดื่องต่อเมืองหลวง ฉะนั้นรัชกาลที่ 5 จึงเลือกใช้นโยบายรวมศูนย์อำนาจไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกระบบ “จตุสดมภ์”แล้วเปลี่ยนเป็นกระทรวง ทบวง กรม, ยกเลิกระบบไพร่ทาส เพื่อสลายกำลังไพร่พลของขุนนาง, ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (หรือให้เข้าใจง่ายๆ นี่ก็คือ สรรพากร เพื่อนรักนั่นเอง 555) เพื่อเก็บเงินภาษีเข้าคลังแทนที่จะฝากให้ข้าราชการกินเมืองได้สะสมเงิน สะสมทรัพยากรได้ รวมถึงการปฏิรูปค่าตอบแทนข้าราชการโดยใช้ระบบเงินเดือนมาแทนที่ ช่องทางทำกินที่เสียไปจากนโยบายข้างต้น

สหรัฐอเมริกา

ในอดีตระบบการจ้างงานนั้นมีหลากหลายแปรผันไปตามอาชีพ พื้นที่ ช่วงเวลา ไม่ได้จ่ายเงินเป็นเดือนๆ แบบในปัจจุบัน ตัวอย่างก็เช่น จ่ายเงินเป็นรายปี, จ่ายค่าจ้างตามงาน, จ่ายรายวัน หรือจ่ายค่าจ้างตามฤดูกาล

หลังจากวิกฤต The Great Depression 1929 ไม่นาน สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ซึ่งได้ออกนโยบายแทรกแซงตลาดอย่างหนักอย่างในนิทานอิสซุป Ep.1 ยกตัวอย่างไปเช่น นโยบายประกันเงินฝาก (FDIC), ห้ามชาวอเมริกันถือทองคำ (Executive Order 6102), ควบคุมราคาผลผลิตทางการเกษตร, การใช้งบประมาณรัฐบาลสร้างเขื่อน สร้างถนน, กฎหมายแรงงานเท่าเทียม Fair Labor Standards Act (FLSA) ซึ่งมีข้อกำหนดควบคุมการจ้างงานของแรงงานตั้งแต่จำนวนชั่วโมง, ค่าแรงขั้นต่ำ, ค่าจ้าง OT, การห้ามใช้แรงงานเด็ก

กฎหมายแรงงานของรัฐต่างๆ เช่น กฎหมายแรงงานของรัฐออริกอน(1973) กำหนดให้จ่ายค่าจ้างแรงงานอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน, การกำหนดวิธีจ่ายค่าจ้าง รวมถึงบทลงโทษของการจ่ายค่าจ้างไม่ตรงเวลา; กฎหมายแรงงานของรัฐแคลิฟอร์เนีย(1872) กำหนดให้จ่ายค่าจ้างอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน และแก้ไขในปี 1911 ให้จ่ายค่าจ้างอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน; กฎหมายแรงงานของนิวยอร์ก(1909) ที่กำหนดการจ่ายค่าจ้างอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนเช่นกัน และถูกแก้ไขในปี 1919 ให้จ่ายอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือนเช่นเดียวกัน
.

จากการข้อมูลที่ผมได้หามา ผมพบว่า

ปัญหาของสิ่งที่เรียกว่า “เงินเดือน” จากที่ผมตั้งข้อสังเกต ไม่ใช่เพียงแค่ค่าจ้างต่อรอบ 1 เดือนเท่านั้น จะรายสัปดาห์ 2สัปดาห์ หรืออะไรก็ตาม

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความถี่ว่าเงินเหล่านั้นจะจ่ายอย่างไรแต่มันคือข้อกำหนดที่ถูกแทรกแซงจากข้อกำหนดของรัฐ การแทรกแซงกลไกตลาดเสรี กฎระเบียบเหล่านี้สิ่งที่อันตรายไม่ใช่การกดขี่ผู้ประกอบการ แต่มันคือการอู้มชูและให้ค่าแรงงานเกินความเป็นจริงต่างหาก การวางมาตรฐาน วางพันธสัญญาเพื่อให้แรงงานรู้สึกมั่นคงเกินกว่าความเป็นจริง พวกเขาสามารถทำงานแบบขอไปทีได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว การมีปฏิสัมพันธ์ต่อตลาดนั้นหายไป “กรรม” ที่ทำไว้ไม่ได้รับการชดใช้ ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ให้กำเนิดทาสรูปแบบใหม่ ผลผลิตชั้นสุดท้ายของระบบเฟียต การทดลองในมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ “มนุษย์เงินเดือน” นั่นเอง

สายตาอันหิวกระหายของเหล่าปลิงดูดเลือดในระบบเฟียต เหล่า Rent Seeker ผู้ทำนาบนหลังคน

ในโน้ตหน้า เราจะมาพูดถึง “มนุษย์เงินเดือน : ทาสในเรือนเบี้ย กับโซ่ตรวนแห่งหนี้และเครดิต”

TBC. To Be Continue ครับ #siamstr
Author Public Key
npub1z7k4pffj7250eaydd3ya0v07mmzecylcq9cw5af68zu39q0k4u3qj6xre4