Sirat on Nostr: การอำพรางความจริง: ระบบธนาคาร, ...
การอำพรางความจริง: ระบบธนาคาร, กลไกการเสกเงิน และการสร้างฮีโร่ที่จำเป็น
==========
ออกตัวไว้ก่อนว่าเป็นคนเขียนไม่ค่อยเก่งนะครับ อยากเขียนให้ดีขึ้น กระชับขึ้น เร็วขึ้นกว่านี้เหมือนกันครับ 😂 ผิดถูกอย่างไร แนะนำติชมกันได้ (ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ที่เขียนนี้ผมศึกษาเอาเองหมดเลย ถ้ามีตรงไหนที่ให้ข้อมูลผิดพลาดแจ้งได้เลยนะครับ กำลังเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เหมือนกัน)
ที่จริงผมอยากจะเขียนบทความยาวเกี่ยวกับระบบธนาคารกลางกับการอำพรางความจริง โดยโยงเข้ากับดราม่าเรื่องเงินสดคือหนี้สินนะ (หลังจากไปวอร์กับชาวบ้านมาหลายคน 555+) แต่ยังมีเวลาไม่เยอะนัก เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาอาจจะเขียนถึงนะครับ
วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับระบบธนาคารกลางและกลไกการเสกเงินแล้วกันนะ ผมอยากจะชวนทุกคนลงไปดูว่าระบบธนาคารกลางที่แทรกแซงเศรษฐกิจร่วมกับรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นและฮีโร่ของชาติอย่างที่คนเชื่อกันจริงหรือไม่ (โดยส่วนตัวผมมองว่ามัน Do more harm than good ครับ)
—————
กลไกการเสกเงินโดยย่อ:
ขอไม่เท้าความเยอะ เพราะคิดว่าหลายๆ คนในนี้น่าจะได้เห็นได้ฟังคนอธิบายผ่านๆ มาบ้างแล้วว่ากลไกการเสกเงินภายใต้ระบบ Fiat Money เป็นอย่างไร
(Disclaimer: ผมไม่ได้เจตนาโจมตีธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของบ้านเรานะครับ บทความนี้เราวิจารณ์คนออกแบบระบบหรือก็คือธนาคารกลางของอเมริกาล้วนๆ ประเทศอื่นๆ ทำอะไรแทบไม่ได้เลยนอกจากต้องเล่นตามเกมในระบบที่เค้าสร้างขึ้น)
ผมขอสรุปแบบ Recap ให้รวบรัดที่สุดดังนี้: ภายใต้ระบบ Fiat เงิน (Money) ถูกสร้างขึ้นมาจากหนี้ เป็นเพียงการสัญญากันว่าแต่ละฝ่ายมีภาระผูกพันที่ต้องชำระคืนในอนาคตด้วยสิ่งที่ตกลงกัน
การเสกเงิน = การปล่อยกู้ โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารกลาง
นั่นแปลว่า ทุกๆ ครั้งที่มีการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารกลางเป็นคนเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรงหรือโดยอ้อม (คือไปกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์มาถือเองอีกที) เงินจะถูกเสกเพิ่มขึ้นมาจากอากาศ
โดยหนี้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของระบบนี้คือพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เพราะมันเป็นทั้งสินทรัพย์แรกที่ถูกเสกขึ้นมาเพื่อนำมาให้ธนาคารกลางถือ (อาจพูดได้ว่าเงินถูกค้ำโดยพันธบัตรรัฐบาล) และมีบทบาทเป็นเครื่องมือในการ Manipulate อัตราดอกเบี้ยให้สูง/ต่ำตามที่ธนาคารกลางต้องการ ซึ่งโดยส่วนมากธนาคารกลางมักต้องการกดดอกเบี้ยให้ต่ำเพื่อจูงใจให้คนกู้ยืมจากธนาคารมากๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือจูงใจให้คนเป็นหนี้เพื่อเสกเงินเพิ่มจากอากาศไปเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าการทำแบบนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
—————
ตั้งเป้าเงินเฟ้อ…อ้างเหตุผลเพื่อตั้งเป้าเสกเงิน:
เราน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวจากภาครัฐและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักบ่อยๆ ว่าต้องทำให้เงินเฟ้ออ่อนๆ ถึงจะดีต่อเศรษฐกิจ ในที่นี้แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือหมายความว่า เค้า ‘ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นการกู้ยืมเพื่อเสกเงินเพิ่มทีละน้อยๆ’ นั่นเอง
เพื่อให้ทุกคนมีเงินอยู่ในมือ รู้สึกตัวเองร่ำรวยเพราะมีตัวเลขยอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น และออกมาใช้จ่าย ปาเงินที่ถูกเสกขึ้นมาใหม่ใส่กันเพื่อแย่งกันซื้อสินค้าและบริการ (ซึ่งมีปริมาณเท่าเดิม) จนดันให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ซึ่งก็คือเงินเฟ้อตามนิยามสมัยใหม่
(ปกติรัฐบาลมักจะอ้างตามหลักการเศรษฐศาสตร์ของสำนัก Keynesian ว่าต้องการทำให้เงินเฟ้อหน่อยๆ เพราะถ้าราคาไม่ขึ้นประชาชนจะไม่ยอมออกมาใช้จ่าย จะมัวรอให้ราคาสินค้าลง และธุรกิจจะอยู่ไม่ได้หากของราคาถูกลง ทำให้เจ๊งกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นตรรกะที่แทบไม่มีความจริงอยู่ในนั้นเลยครับ)
—————
ภาวะการอยู่ร่วมกันของรัฐบาลและธนาคารกลาง:
ถึงแม้ว่าโดยหลักการแล้วเค้ามักจะอ้างว่ารัฐบาลกับธนาคารเป็นอิสระต่อกัน แต่ผมมองว่าการมีอยู่ของทั้งสององค์กรนี้มันส่งเสริมกันเอง เป็นองค์ประกอบสำคัญของกันและกันในการค้ำจุนวาทกรรมว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องมีการควบคุมและเข้าแทรกแซงโดยภาครัฐ
ลองพิจารณาเหตุผลต่อไปนี้ดู
รัฐบาลออกพันธบัตร เพื่อมาใช้ค้ำสกุลเงินของประเทศ ซึ่งออกโดยธนาคารกลาง
ธนาคารกลางใช้พันธบัตรเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการควบคุมปริมาณเงินขึ้นลง รวมถึงเสกเงิน
เป้าหมายของรัฐบาลกับธนาคารกลางไปในทางเดียวกัน คือการทำให้เศรษฐกิจโต แต่ทำบนกรอบแนวคิดที่ว่าต้องทำเงินให้เฟ้อ
ต้องทำเงินให้เฟ้อ = ต้องเสกเงินให้เยอะขึ้น = ต้องจูงใจให้เกิดการกู้ยืมมากขึ้น = ธนาคารกลางต้องกดดอกเบี้ยให้ต่ำๆ เข้าไว้
แต่สภาพแวดล้อมที่ดอกเบี้ยต่ำยิ่งเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เพราะยิ่งกู้เงินผ่านการออกพันธบัตรได้ง่ายขึ้น เสกเงินมาใช้ได้ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยต่ำๆ
ทีนี้มันมีจุดที่ Tricky ตรงนี้ครับ
เพื่อความเป็นอิสระต่อกัน และไม่ให้เกิดข้อครหาว่าธนาคารกลางพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ฟรีๆ ธนาคารกลางเลยมักไม่เข้าซื้อพันธบัตรที่รัฐบาลออกตรงๆ ปล่อยให้รัฐบาลขายพันธบัตรให้กับธนาคารพาณิชย์และภาคเอกชนทั่วไปเอาเอง
แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี (ซึ่งก็อาจเกิดจากรัฐบาลกู้เงินไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายและไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร เพราะกู้มาด้วยต้นทุนต่ำ) ธนาคารกลางก็อ้างความจำเป็นในการเข้าแทรกแซงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเสกเงินเข้าระบบเพิ่ม เอาเงินที่เสกใหม่เข้ากว้านซื้อพันธบัตรเหล่านั้นอยู่ดี เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องและกดดอกเบี้ยให้ต่ำ แก้ปัญหาแบบวนลูป เป็นการตามเช็ดขี้ให้รัฐบาลด้วยการทำลายอำนาจซื้อของประชาชนที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบ
ในทางกลับกัน หากปัญหาเศรษฐกิจเกิดมาจากธนาคารกลางเสียเอง (เช่น กดดอกเบี้ยต่ำผิดธรรมชาตินานเกินไป จนภาคเอกชนตัดสินใจลงทุนผิดพลาด (Malinvestment) เอาเงินไปลงในสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่ควรลง) และการแก้ไขผ่านนโยบายการเงินของธนาคารกลางเห็นผลช้าไม่ทันการหรือไม่เพียงพอ รัฐบาลก็จะอ้างความจำเป็นในการเข้าแทรกแซงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินมาลงทุนสร้างเมกะโปรเจ็กต์เพื่อสร้างงาน การใช้งบประมาณขาดดุล การแจกเงินหรือสวัสดิการ ฯลฯ เป็นการตามเช็ดขี้ธนาคารกลางที่บิดเบือนดอกเบี้ยจนภาคเอกชนตัดสินใจลงทุนผิดพลาด
มันดูเผินๆ เหมือนจะสมเหตุสมผลนะครับ ที่มี 2 องค์กรคอยเป็นเครื่องมือช่วย Balance และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขาดมือใครไปไม่ได้ เป็นฮีโร่ที่สังคมจำเป็นต้องมี
แต่ถ้าเกิดเรามองมุมกลับว่าปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ๆ ทั้งหลายมันเกิดมาจาก 2 องค์กรนี้เสียเองล่ะ?!
มันจะแปลว่าจริงๆ แล้วเราอาจไม่จำเป็นต้องให้ธนาคารกลางและรัฐบาลคอยเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจตั้งแต่แรกเลยก็ได้
—————
ตัวอย่างคำกล่าวอ้างแสนคลาสสิก:
ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์และ Narrative ที่เราเห็นจนชินตานะครับ
พอธนาคารกลางกระตุ้นการเสกเงินเยอะเกินไป บิดเบือนอัตราดอกเบี้ยเยอะๆ จนเกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาด เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา ก็ค่อยออกมาเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงๆ เพื่อชะลอการกู้ยืมเพิ่ม เบรคคันเร่งซึ่งตัวเองเป็นผู้เหยียบแรงเกินมาอย่างยาวนานจนแหกโค้ง ฆ่าคนที่เคยถูกหลอกให้กู้มาลงทุนด้วยดอกเบี้ยต่ำให้ตายคามือ โดยบอกว่าพวกเราจำเป็นต้องทำนะ เพื่อช่วยเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ จำเป็นต้องมีคนเสียสละ เราจะพยายาม Soft Landing พาทุกคนฝ่าวิกฤตนี้ไปอย่างนุ่มนวลที่สุด
และหากมองว่าลำพังการควบคุมอัตราดอกเบี้ยมันช้าและไม่เพียงพอต่อการกู้วิกฤต ก็จะให้รัฐบาลเข้ามาช่วยลงทุนสร้างโครงการใหญ่ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน ให้ทุกคนยังรู้สึกว่ามีเงินหมุนเวียนเข้าออกจากกระเป๋า ยังมีงานทำ ชีวิตยังดำเนินต่อไปได้
นี่เป็นภาพจำปกติที่เราเห็น (หรือเค้าปลูกฝังให้เราเห็น) ว่าธนาคารกลางและรัฐบาลคือสิ่งที่จำเป็นต่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และเป็นฮีโร่ผู้กอบกู้
แต่ผมอยากชวนคิดย้อนกลับกันซักนิดนะครับ ว่าถ้าหากเราไม่มีธนาคารกลางและรัฐบาลคอยแทรกแซงดอกเบี้ยและการจัดสรรทรัพยากร... เราอาจไม่เกิดวิกฤตรุนแรงแบบนั้นตั้งแต่แรกแล้วก็ได้
Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเคยแซวธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ไว้ว่า จากการที่เค้าต้องอ่านรายงานประจำปีของ Fed 50 กว่าฉบับ สิ่งเดียวที่ช่วยสร้างความขำขันให้เค้าได้ คือการเขียนแต่ละครั้งช่างดู Fed มีอำนาจแกว่งเหลือเกิน
เวลาเศรษฐกิจดี Fed จะบอกว่าเป็นเพราะนโยบายและการบริหารที่ชาญฉลาดของพวกเรา
แต่เวลาเศรษฐกิจแย่ Fed จะบอกว่า แม้พวกเราจะพยายามอย่างดีที่สุด แต่เป็นเพราะผลพวงจากปัจจัยภายนอกต่างๆ จึงทำให้สถานการณ์ยากลำบาก และหากเราไม่ช่วยไว้ปัญหาคงรุนแรงกว่านี้ไปแล้ว (เดี๋ยวแปะ Link ให้นะ)
…นั่นแหละครับ ธรรมชาติของมนุษย์เราชอบคิดหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองและโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามเสมอ
ทุกสิ่งที่เราเคยได้ยินมา ที่ได้รับการบอกต่อๆ กันมาเชื่อถือได้แค่ไหน
ธนาคารกลางจำเป็นจริงๆ หรือ? รัฐบาลควรมีบทบาทเป็นผู้เล่นในเกมเศรษฐกิจขนาดไหน? กลไกนี้คือฮีโร่ที่จำเป็น หรือผู้ร้ายใส่หน้ากาก หรือเป็นแค่ระบบทางเลือกหนึ่ง ผมอยากชวนทุกคนตั้งคำถามนะครับ
ปล. กะเขียนสั้นๆ แต่ยาวเฉยเลย 🤣
Published at
2024-09-21 20:20:46Event JSON
{
"id": "e0235c7715b422b05009c9fcea0c9c3001eb9c444487b4911a8ca301de84181c",
"pubkey": "091130e71a9826ae81bb400a4290a8e275844884511559a0f013fdc0725b2c4a",
"created_at": 1726950046,
"kind": 1,
"tags": [],
"content": "การอำพรางความจริง: ระบบธนาคาร, กลไกการเสกเงิน และการสร้างฮีโร่ที่จำเป็น\n\n==========\n\nออกตัวไว้ก่อนว่าเป็นคนเขียนไม่ค่อยเก่งนะครับ อยากเขียนให้ดีขึ้น กระชับขึ้น เร็วขึ้นกว่านี้เหมือนกันครับ 😂 ผิดถูกอย่างไร แนะนำติชมกันได้ (ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ที่เขียนนี้ผมศึกษาเอาเองหมดเลย ถ้ามีตรงไหนที่ให้ข้อมูลผิดพลาดแจ้งได้เลยนะครับ กำลังเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เหมือนกัน)\n\nที่จริงผมอยากจะเขียนบทความยาวเกี่ยวกับระบบธนาคารกลางกับการอำพรางความจริง โดยโยงเข้ากับดราม่าเรื่องเงินสดคือหนี้สินนะ (หลังจากไปวอร์กับชาวบ้านมาหลายคน 555+) แต่ยังมีเวลาไม่เยอะนัก เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาอาจจะเขียนถึงนะครับ \n\nวันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับระบบธนาคารกลางและกลไกการเสกเงินแล้วกันนะ ผมอยากจะชวนทุกคนลงไปดูว่าระบบธนาคารกลางที่แทรกแซงเศรษฐกิจร่วมกับรัฐบาลเป็นสิ่งจำเป็นและฮีโร่ของชาติอย่างที่คนเชื่อกันจริงหรือไม่ (โดยส่วนตัวผมมองว่ามัน Do more harm than good ครับ)\n\n—————\n\nกลไกการเสกเงินโดยย่อ: \n\nขอไม่เท้าความเยอะ เพราะคิดว่าหลายๆ คนในนี้น่าจะได้เห็นได้ฟังคนอธิบายผ่านๆ มาบ้างแล้วว่ากลไกการเสกเงินภายใต้ระบบ Fiat Money เป็นอย่างไร\n\n(Disclaimer: ผมไม่ได้เจตนาโจมตีธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของบ้านเรานะครับ บทความนี้เราวิจารณ์คนออกแบบระบบหรือก็คือธนาคารกลางของอเมริกาล้วนๆ ประเทศอื่นๆ ทำอะไรแทบไม่ได้เลยนอกจากต้องเล่นตามเกมในระบบที่เค้าสร้างขึ้น)\n\nผมขอสรุปแบบ Recap ให้รวบรัดที่สุดดังนี้: ภายใต้ระบบ Fiat เงิน (Money) ถูกสร้างขึ้นมาจากหนี้ เป็นเพียงการสัญญากันว่าแต่ละฝ่ายมีภาระผูกพันที่ต้องชำระคืนในอนาคตด้วยสิ่งที่ตกลงกัน\n\nการเสกเงิน = การปล่อยกู้ โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ และธนาคารกลาง\n\nนั่นแปลว่า ทุกๆ ครั้งที่มีการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารกลางเป็นคนเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยตรงหรือโดยอ้อม (คือไปกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์มาถือเองอีกที) เงินจะถูกเสกเพิ่มขึ้นมาจากอากาศ\n\nโดยหนี้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของระบบนี้คือพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) เพราะมันเป็นทั้งสินทรัพย์แรกที่ถูกเสกขึ้นมาเพื่อนำมาให้ธนาคารกลางถือ (อาจพูดได้ว่าเงินถูกค้ำโดยพันธบัตรรัฐบาล) และมีบทบาทเป็นเครื่องมือในการ Manipulate อัตราดอกเบี้ยให้สูง/ต่ำตามที่ธนาคารกลางต้องการ ซึ่งโดยส่วนมากธนาคารกลางมักต้องการกดดอกเบี้ยให้ต่ำเพื่อจูงใจให้คนกู้ยืมจากธนาคารมากๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือจูงใจให้คนเป็นหนี้เพื่อเสกเงินเพิ่มจากอากาศไปเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าการทำแบบนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ\n\n—————\n\nตั้งเป้าเงินเฟ้อ…อ้างเหตุผลเพื่อตั้งเป้าเสกเงิน: \n\nเราน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวจากภาครัฐและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักบ่อยๆ ว่าต้องทำให้เงินเฟ้ออ่อนๆ ถึงจะดีต่อเศรษฐกิจ ในที่นี้แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือหมายความว่า เค้า ‘ตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นการกู้ยืมเพื่อเสกเงินเพิ่มทีละน้อยๆ’ นั่นเอง\n\nเพื่อให้ทุกคนมีเงินอยู่ในมือ รู้สึกตัวเองร่ำรวยเพราะมีตัวเลขยอดเงินในบัญชีเพิ่มขึ้น และออกมาใช้จ่าย ปาเงินที่ถูกเสกขึ้นมาใหม่ใส่กันเพื่อแย่งกันซื้อสินค้าและบริการ (ซึ่งมีปริมาณเท่าเดิม) จนดันให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ซึ่งก็คือเงินเฟ้อตามนิยามสมัยใหม่\n\n(ปกติรัฐบาลมักจะอ้างตามหลักการเศรษฐศาสตร์ของสำนัก Keynesian ว่าต้องการทำให้เงินเฟ้อหน่อยๆ เพราะถ้าราคาไม่ขึ้นประชาชนจะไม่ยอมออกมาใช้จ่าย จะมัวรอให้ราคาสินค้าลง และธุรกิจจะอยู่ไม่ได้หากของราคาถูกลง ทำให้เจ๊งกันถ้วนหน้า ซึ่งเป็นตรรกะที่แทบไม่มีความจริงอยู่ในนั้นเลยครับ)\n\n—————\n\nภาวะการอยู่ร่วมกันของรัฐบาลและธนาคารกลาง: \n\nถึงแม้ว่าโดยหลักการแล้วเค้ามักจะอ้างว่ารัฐบาลกับธนาคารเป็นอิสระต่อกัน แต่ผมมองว่าการมีอยู่ของทั้งสององค์กรนี้มันส่งเสริมกันเอง เป็นองค์ประกอบสำคัญของกันและกันในการค้ำจุนวาทกรรมว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องมีการควบคุมและเข้าแทรกแซงโดยภาครัฐ\n\nลองพิจารณาเหตุผลต่อไปนี้ดู\n\nรัฐบาลออกพันธบัตร เพื่อมาใช้ค้ำสกุลเงินของประเทศ ซึ่งออกโดยธนาคารกลาง\n\nธนาคารกลางใช้พันธบัตรเป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการควบคุมปริมาณเงินขึ้นลง รวมถึงเสกเงิน\n\nเป้าหมายของรัฐบาลกับธนาคารกลางไปในทางเดียวกัน คือการทำให้เศรษฐกิจโต แต่ทำบนกรอบแนวคิดที่ว่าต้องทำเงินให้เฟ้อ\n\nต้องทำเงินให้เฟ้อ = ต้องเสกเงินให้เยอะขึ้น = ต้องจูงใจให้เกิดการกู้ยืมมากขึ้น = ธนาคารกลางต้องกดดอกเบี้ยให้ต่ำๆ เข้าไว้\n\nแต่สภาพแวดล้อมที่ดอกเบี้ยต่ำยิ่งเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เพราะยิ่งกู้เงินผ่านการออกพันธบัตรได้ง่ายขึ้น เสกเงินมาใช้ได้ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยต่ำๆ\n\nทีนี้มันมีจุดที่ Tricky ตรงนี้ครับ\n\nเพื่อความเป็นอิสระต่อกัน และไม่ให้เกิดข้อครหาว่าธนาคารกลางพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ฟรีๆ ธนาคารกลางเลยมักไม่เข้าซื้อพันธบัตรที่รัฐบาลออกตรงๆ ปล่อยให้รัฐบาลขายพันธบัตรให้กับธนาคารพาณิชย์และภาคเอกชนทั่วไปเอาเอง\n\nแต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี (ซึ่งก็อาจเกิดจากรัฐบาลกู้เงินไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายและไม่รับผิดชอบเท่าที่ควร เพราะกู้มาด้วยต้นทุนต่ำ) ธนาคารกลางก็อ้างความจำเป็นในการเข้าแทรกแซงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเสกเงินเข้าระบบเพิ่ม เอาเงินที่เสกใหม่เข้ากว้านซื้อพันธบัตรเหล่านั้นอยู่ดี เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องและกดดอกเบี้ยให้ต่ำ แก้ปัญหาแบบวนลูป เป็นการตามเช็ดขี้ให้รัฐบาลด้วยการทำลายอำนาจซื้อของประชาชนที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบ\n\nในทางกลับกัน หากปัญหาเศรษฐกิจเกิดมาจากธนาคารกลางเสียเอง (เช่น กดดอกเบี้ยต่ำผิดธรรมชาตินานเกินไป จนภาคเอกชนตัดสินใจลงทุนผิดพลาด (Malinvestment) เอาเงินไปลงในสิ่งที่ไม่สำคัญและไม่ควรลง) และการแก้ไขผ่านนโยบายการเงินของธนาคารกลางเห็นผลช้าไม่ทันการหรือไม่เพียงพอ รัฐบาลก็จะอ้างความจำเป็นในการเข้าแทรกแซงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินมาลงทุนสร้างเมกะโปรเจ็กต์เพื่อสร้างงาน การใช้งบประมาณขาดดุล การแจกเงินหรือสวัสดิการ ฯลฯ เป็นการตามเช็ดขี้ธนาคารกลางที่บิดเบือนดอกเบี้ยจนภาคเอกชนตัดสินใจลงทุนผิดพลาด\n\nมันดูเผินๆ เหมือนจะสมเหตุสมผลนะครับ ที่มี 2 องค์กรคอยเป็นเครื่องมือช่วย Balance และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขาดมือใครไปไม่ได้ เป็นฮีโร่ที่สังคมจำเป็นต้องมี\n\nแต่ถ้าเกิดเรามองมุมกลับว่าปัญหาเศรษฐกิจใหญ่ๆ ทั้งหลายมันเกิดมาจาก 2 องค์กรนี้เสียเองล่ะ?! \n\nมันจะแปลว่าจริงๆ แล้วเราอาจไม่จำเป็นต้องให้ธนาคารกลางและรัฐบาลคอยเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจตั้งแต่แรกเลยก็ได้\n\n—————\n\nตัวอย่างคำกล่าวอ้างแสนคลาสสิก: \n\nผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์และ Narrative ที่เราเห็นจนชินตานะครับ\n\nพอธนาคารกลางกระตุ้นการเสกเงินเยอะเกินไป บิดเบือนอัตราดอกเบี้ยเยอะๆ จนเกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาด เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา ก็ค่อยออกมาเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงๆ เพื่อชะลอการกู้ยืมเพิ่ม เบรคคันเร่งซึ่งตัวเองเป็นผู้เหยียบแรงเกินมาอย่างยาวนานจนแหกโค้ง ฆ่าคนที่เคยถูกหลอกให้กู้มาลงทุนด้วยดอกเบี้ยต่ำให้ตายคามือ โดยบอกว่าพวกเราจำเป็นต้องทำนะ เพื่อช่วยเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ จำเป็นต้องมีคนเสียสละ เราจะพยายาม Soft Landing พาทุกคนฝ่าวิกฤตนี้ไปอย่างนุ่มนวลที่สุด\n\nและหากมองว่าลำพังการควบคุมอัตราดอกเบี้ยมันช้าและไม่เพียงพอต่อการกู้วิกฤต ก็จะให้รัฐบาลเข้ามาช่วยลงทุนสร้างโครงการใหญ่ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน ให้ทุกคนยังรู้สึกว่ามีเงินหมุนเวียนเข้าออกจากกระเป๋า ยังมีงานทำ ชีวิตยังดำเนินต่อไปได้\n\nนี่เป็นภาพจำปกติที่เราเห็น (หรือเค้าปลูกฝังให้เราเห็น) ว่าธนาคารกลางและรัฐบาลคือสิ่งที่จำเป็นต่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และเป็นฮีโร่ผู้กอบกู้\n\nแต่ผมอยากชวนคิดย้อนกลับกันซักนิดนะครับ ว่าถ้าหากเราไม่มีธนาคารกลางและรัฐบาลคอยแทรกแซงดอกเบี้ยและการจัดสรรทรัพยากร... เราอาจไม่เกิดวิกฤตรุนแรงแบบนั้นตั้งแต่แรกแล้วก็ได้\n\nMilton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเคยแซวธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ไว้ว่า จากการที่เค้าต้องอ่านรายงานประจำปีของ Fed 50 กว่าฉบับ สิ่งเดียวที่ช่วยสร้างความขำขันให้เค้าได้ คือการเขียนแต่ละครั้งช่างดู Fed มีอำนาจแกว่งเหลือเกิน\n\nเวลาเศรษฐกิจดี Fed จะบอกว่าเป็นเพราะนโยบายและการบริหารที่ชาญฉลาดของพวกเรา\n\nแต่เวลาเศรษฐกิจแย่ Fed จะบอกว่า แม้พวกเราจะพยายามอย่างดีที่สุด แต่เป็นเพราะผลพวงจากปัจจัยภายนอกต่างๆ จึงทำให้สถานการณ์ยากลำบาก และหากเราไม่ช่วยไว้ปัญหาคงรุนแรงกว่านี้ไปแล้ว (เดี๋ยวแปะ Link ให้นะ)\n\n…นั่นแหละครับ ธรรมชาติของมนุษย์เราชอบคิดหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองและโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามเสมอ\n\nทุกสิ่งที่เราเคยได้ยินมา ที่ได้รับการบอกต่อๆ กันมาเชื่อถือได้แค่ไหน\n\nธนาคารกลางจำเป็นจริงๆ หรือ? รัฐบาลควรมีบทบาทเป็นผู้เล่นในเกมเศรษฐกิจขนาดไหน? กลไกนี้คือฮีโร่ที่จำเป็น หรือผู้ร้ายใส่หน้ากาก หรือเป็นแค่ระบบทางเลือกหนึ่ง ผมอยากชวนทุกคนตั้งคำถามนะครับ\n\nปล. กะเขียนสั้นๆ แต่ยาวเฉยเลย 🤣",
"sig": "85422e94cc821bf9f1d29f0a7090fac21055419eeeb0b03de374a20d88c4a25d988e9f215c25e5b2883cf7c3471d806a133dabf512165d7d05e77d71fccb57d4"
}