itssara on Nostr: งานสี่ด้าน GM #siamstr ...
งานสี่ด้าน
GM #siamstr
"โอ้งานงอกแล้วสิ" ผมเชื่อว่าทุกท่านก็คงจะเคยได้ยินประโยคนี้ เป็นคำอุทานที่มักใช้ตอนที่เรา ทำอะไรผิดพลาดจนเกิดปัญหา แต่ช่วงไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมพึ่งได้เจอคำว่างานงอกของจริง งานที่ 1 แตกแยกย่อยเป็นงานที่ 2 ตามมาด้วยงานที่ 3 ที่จะพาไปสู่งานที่ 4, 5 และ 6 ต่อไป เรียกได้ว่างอกมาวันละไร่ ทำเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่ม
ผมยังคงมีความสุขกับงานและส่วนใหญ่งานเหล่านี้คืองานที่ผมสร้างมันขึ้นมาเองด้วย (สั้นก็คือ "หาทำ" นั่นแหละฮะ 555) แต่หลายอาทิตย์เข้าก็ชักเริ่มเยอะซะแล้วสิ จะจัดการกับกองพะเนินนี้ยังไงดี?
จนผมได้ไปเจอกับ นิทานเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสามก๊ก ขอเรียกชื่อว่า "ถังน้ำของขงเบ้ง" ก็แล้วกัน
นิทานถังน้ำของขงเบ้งนั้น เป็นเรื่องราวที่ขงเบ้ง ให้คำปรึกษาเรื่องการจัดการงานที่มากมายของเล่าปี่ โดยแบ่งงานออกเป็น 4 ชนิดและเปรียบเทียบเป็นแต่ละสิ่งต่างกัน
1. งานประเภทก้อนกรวด (งานที่ด่วนและสำคัญ) : เช่นงานที่มีเดดไลน์กำหนดชัดเจนและใกล้เวลาเต็มที, งานที่ส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆของชีวิต / Reward สูง Risk สูง แน่ๆ ถ้าไม่ทำ
2. งานประเภทก้อนหินใหญ่ (งานที่ไม่ด่วนแต่สำคัญ) : งานซึ่งไม่มีกำหนดเวลาหรือมีแต่ไกลออกไป อาจหมายถึงงานซึ่งหวังผลในระยะยาวเช่น การพัฒนาทักษะ การ คนใช้เครื่องมือทุ่นแรง การออกไอเดีย ,การวางแผนงานโปรเจคใหม่ๆ / Reward สูง Risk ต่ำ
3. งานประเภทเม็ดทราย (งานที่ด่วนแต่ไม่สำคัญ) : เช่นงานทั่วไปที่ต้องใช้เวลา หรือโฟกัสไปกับงานเช่น การจัดระเบียบเอกสาร, จัดการธุระส่วนตัวต่างๆ, งานสังคม/ Reward ปานกลาง Risk ปานกลาง
4. งานประเภทน้ำ (งานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญ): เป็นเรื่องที่เรามองแล้วไม่ควรเสียเวลาด้วย /Reward ต่ำ Risk ต่ำ
- มีงาน 4 ด้านแล้ว ถังน้ำเกี่ยวอะไร ?
ถังน้ำก็เปรียบเสมือนเวลาในชีวิตของเรา ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ถ้าใส่แต่น้ำไปเต็มถัง ถังก็เต็มไม่สามารถใส่อย่างอื่นได้อีก
ถ้าใส่ทรายลงไปเต็มถัง น้ำก็ยังพอจะแทรกในทรายได้
ถ้าใส่แต่กรวดลงไป ทรายและน้ำก็ยังพอใส่ได้ แต่จะไม่มีที่สำหรับก้อนหินใหญ่เลย สุดท้ายก้อนหินใหญ่เหล่านี้ก็จะกลายเป็นก้อนกรวดในวันข้างหน้า เป็นงานที่ใกล้วันเข้ามาแล้วนั่นเอง
เปรียบเหมือนการบริหารงานในชีวิตของเรา ถ้านำหลักการบริหารงานมาใช้ ก็อาจแบ่งเรียงลำดับได้ว่า 1.ทำทันที, 2.กำหนดจัดการ, 3.แจกให้คนอื่นทำ, และ 4. ไม่ทำ เพื่อเป็นการเร่งจัดการงานที่ค้างให้หมดไวที่สุด แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของเราในโพสต์นี้
- งานกับถังที่มีจำกัด
แต่ถ้าเราต้องการขนสิ่งเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดล่ะ เราควรเริ่มจาก หินก้อนใหญ่, เมื่อหินก้อนใหญ่เต็ม จึงใส่ก้อนกรวดลงไป เพราะก้อนกรวดแทรกไปตามช่องว่างของหินก้อนใหญ่ได้, ต่อมาเม็ดทราย ปิดสุดท้ายด้วยน้ำ ด้วยเหตุผลเดียวกัน.. ช่องว่างที่ใหญ่ก็เปรียบเสมือนเวลาที่ยังเหลือทิ้ง ยิ่งเติมช่องว่างให้เล็กลง เรายิ่งใช้เวลาได้มากขึ้น
เหมือนกับกองพะเนินงานของผม หลังจากที่ผมประเมินงานทั้งหมด มีงานประเภทก้อนกรวดน้อยมาก ในขณะที่ส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทก้อนหินใหญ่
งานกฎหมายซึ่งมีกำหนดการล่วงหน้า, รายการกฎหมายชาวบ้านทุกเสาร์-อาทิตย์ หรือ Right shift ที่มีรูทีนชัดเจนเช่นรายการ สภายาส้ม หรือ Onlynips เปรียบเสมือนงานประเภทก้อนกรวด
ส่วนที่เหลือจะเป็นโปรเจคระยะยาว หรืองานที่ไม่มีกำหนดเวลาอันใกล้ เช่น งานแปลหนังสือ, รายการอื่นๆ, งานฟ้องคดี และการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว้าเดิมในการทำงาน, การพัฒนาทักษะที่ต้องการ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนงานก้อนหินใหญ่
เมื่อเรายังไม่มีงานด่วนมากนัก..ก็สร้างมันขึ้นมาซะเลย โดยการทุบก้อนใหญ่ออกมาให้แหลก แยกงานชิ้นใหญ่ออกมาให้เล็ก ซึ่งบางส่วนก็จะกลายเป็นทราย เพื่อเติมเต็มช่องว่างของก้อนกรวดต่อไป
งานชิ้นใหญ่อย่างการวางแผนโครงสร้าง หรือโปรเจคงานต่างๆ ย่อมเต็มไปด้วยขั้นตอนและวิธีการแยกย่อยเต็มไปหมด ถ้าเราวิเคราะห์และเข้าใจถึงเนื้องานได้ แบ่งแยกได้ว่าสิ่งไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น เหมือนแยกทรายออกจากกรวด หรือบางที หินก้อนนั้นอาจมีโพรงข้างในก็เป็นได้หมายถึง ง่นที่ดูยิ่งใหญ่ แต่ขริงๆแล้วกระบวนการด้านในกลับไม่มีอะไรซับซ้อน สามารถทำงานได้อย่างง่าย เท่านี้ก็เป็นการกำจัดอากาศออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้อีกขั้น
-แล้วงานประเภทน้ำล่ะ?
ดูเผินๆ น้ำดูไม่มีความจำเป็นอะไร เป็นเรื่องที่ตัดทิ้งไปซะก็ดีแต่ว่า สิ่งนี้คือการปรับสมดุล ถ้าไม่มีน้ำคอยชุ่มฉโลม จะมีก้อนหินที่แห้งผาดเหล่านี้ไปทำไม เหมือนคนที่ทำแต่งาน ถ้าไม่เติมพลังให้กับชีวิต เราจะมีชีวิตไปทำไม ในอีกแง่หนึ่งเมื่อคนที่สามารถจัดการงานพร้อมให้เวลาตัวเองมีความสุขได้ เขาต่างหากคือคนที่ใช้เวลาได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง
สุดท้ายเป้าหมายของคนที่ทำงานอย่างหนักคืออะไร? ก็คืออยากทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น เพื่อให้มีความสุข หรือเพื่อฝันใดๆก็ตาม มันจะมีประโยชน์ถ้าถึงวันนั้นเราไม่ได้อยู่ดูฝันนั้นเบ่งบาน
ทรัพยากรที่จำกัดที่สุดของมนุษย์เราคือ เวลา แม้เราจะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่การเก็บเกี่ยวเวลานี้ต่างหากที่ทำให้พวกเราต่างกัน บางคนเก็นได้ 2 ชั่วโมง บ้างก็ได้ 4 ชม. แต่บางคนสามารถเก็บเกี่ยวได้เป็น 100 ชม. ....ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการกระทำและมุมมองของแต่ละคน สุดท้ายนี้ขอให้โชคดีครับ ทำงานให้มีความสุข
Published at
2024-08-07 01:02:21Event JSON
{
"id": "eedbabf753d5cf7b3e73c961e29ce673d32eb35f57aeea8b1064c8b529b1ea6c",
"pubkey": "17ad50a532f2a8fcf48d6c49d7b1fedec59c13f80170ea753a38b91281f6af22",
"created_at": 1722992541,
"kind": 1,
"tags": [
[
"t",
"siamstr"
],
[
"r",
"1.ทำทันที"
],
[
"r",
"2.กำหนดจัดการ"
],
[
"r",
"3.แจกให้คนอื่นทำ"
]
],
"content": "งานสี่ด้าน\n\nGM #siamstr\n\"โอ้งานงอกแล้วสิ\" ผมเชื่อว่าทุกท่านก็คงจะเคยได้ยินประโยคนี้ เป็นคำอุทานที่มักใช้ตอนที่เรา ทำอะไรผิดพลาดจนเกิดปัญหา แต่ช่วงไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมพึ่งได้เจอคำว่างานงอกของจริง งานที่ 1 แตกแยกย่อยเป็นงานที่ 2 ตามมาด้วยงานที่ 3 ที่จะพาไปสู่งานที่ 4, 5 และ 6 ต่อไป เรียกได้ว่างอกมาวันละไร่ ทำเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่ม \nผมยังคงมีความสุขกับงานและส่วนใหญ่งานเหล่านี้คืองานที่ผมสร้างมันขึ้นมาเองด้วย (สั้นก็คือ \"หาทำ\" นั่นแหละฮะ 555) แต่หลายอาทิตย์เข้าก็ชักเริ่มเยอะซะแล้วสิ จะจัดการกับกองพะเนินนี้ยังไงดี?\n\nจนผมได้ไปเจอกับ นิทานเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสามก๊ก ขอเรียกชื่อว่า \"ถังน้ำของขงเบ้ง\" ก็แล้วกัน \n\nนิทานถังน้ำของขงเบ้งนั้น เป็นเรื่องราวที่ขงเบ้ง ให้คำปรึกษาเรื่องการจัดการงานที่มากมายของเล่าปี่ โดยแบ่งงานออกเป็น 4 ชนิดและเปรียบเทียบเป็นแต่ละสิ่งต่างกัน\n1. งานประเภทก้อนกรวด (งานที่ด่วนและสำคัญ) : เช่นงานที่มีเดดไลน์กำหนดชัดเจนและใกล้เวลาเต็มที, งานที่ส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆของชีวิต / Reward สูง Risk สูง แน่ๆ ถ้าไม่ทำ\n\n2. งานประเภทก้อนหินใหญ่ (งานที่ไม่ด่วนแต่สำคัญ) : งานซึ่งไม่มีกำหนดเวลาหรือมีแต่ไกลออกไป อาจหมายถึงงานซึ่งหวังผลในระยะยาวเช่น การพัฒนาทักษะ การ คนใช้เครื่องมือทุ่นแรง การออกไอเดีย ,การวางแผนงานโปรเจคใหม่ๆ / Reward สูง Risk ต่ำ\n\n3. งานประเภทเม็ดทราย (งานที่ด่วนแต่ไม่สำคัญ) : เช่นงานทั่วไปที่ต้องใช้เวลา หรือโฟกัสไปกับงานเช่น การจัดระเบียบเอกสาร, จัดการธุระส่วนตัวต่างๆ, งานสังคม/ Reward ปานกลาง Risk ปานกลาง\n\n4. งานประเภทน้ำ (งานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญ): เป็นเรื่องที่เรามองแล้วไม่ควรเสียเวลาด้วย /Reward ต่ำ Risk ต่ำ\n\n- มีงาน 4 ด้านแล้ว ถังน้ำเกี่ยวอะไร ? \n\nถังน้ำก็เปรียบเสมือนเวลาในชีวิตของเรา ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ถ้าใส่แต่น้ำไปเต็มถัง ถังก็เต็มไม่สามารถใส่อย่างอื่นได้อีก\n\nถ้าใส่ทรายลงไปเต็มถัง น้ำก็ยังพอจะแทรกในทรายได้\n\nถ้าใส่แต่กรวดลงไป ทรายและน้ำก็ยังพอใส่ได้ แต่จะไม่มีที่สำหรับก้อนหินใหญ่เลย สุดท้ายก้อนหินใหญ่เหล่านี้ก็จะกลายเป็นก้อนกรวดในวันข้างหน้า เป็นงานที่ใกล้วันเข้ามาแล้วนั่นเอง\n\nเปรียบเหมือนการบริหารงานในชีวิตของเรา ถ้านำหลักการบริหารงานมาใช้ ก็อาจแบ่งเรียงลำดับได้ว่า 1.ทำทันที, 2.กำหนดจัดการ, 3.แจกให้คนอื่นทำ, และ 4. ไม่ทำ เพื่อเป็นการเร่งจัดการงานที่ค้างให้หมดไวที่สุด แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของเราในโพสต์นี้\n\n- งานกับถังที่มีจำกัด\n\nแต่ถ้าเราต้องการขนสิ่งเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดล่ะ เราควรเริ่มจาก หินก้อนใหญ่, เมื่อหินก้อนใหญ่เต็ม จึงใส่ก้อนกรวดลงไป เพราะก้อนกรวดแทรกไปตามช่องว่างของหินก้อนใหญ่ได้, ต่อมาเม็ดทราย ปิดสุดท้ายด้วยน้ำ ด้วยเหตุผลเดียวกัน.. ช่องว่างที่ใหญ่ก็เปรียบเสมือนเวลาที่ยังเหลือทิ้ง ยิ่งเติมช่องว่างให้เล็กลง เรายิ่งใช้เวลาได้มากขึ้น \n\nเหมือนกับกองพะเนินงานของผม หลังจากที่ผมประเมินงานทั้งหมด มีงานประเภทก้อนกรวดน้อยมาก ในขณะที่ส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทก้อนหินใหญ่ \n\nงานกฎหมายซึ่งมีกำหนดการล่วงหน้า, รายการกฎหมายชาวบ้านทุกเสาร์-อาทิตย์ หรือ Right shift ที่มีรูทีนชัดเจนเช่นรายการ สภายาส้ม หรือ Onlynips เปรียบเสมือนงานประเภทก้อนกรวด\n\nส่วนที่เหลือจะเป็นโปรเจคระยะยาว หรืองานที่ไม่มีกำหนดเวลาอันใกล้ เช่น งานแปลหนังสือ, รายการอื่นๆ, งานฟ้องคดี และการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว้าเดิมในการทำงาน, การพัฒนาทักษะที่ต้องการ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนงานก้อนหินใหญ่\n\nเมื่อเรายังไม่มีงานด่วนมากนัก..ก็สร้างมันขึ้นมาซะเลย โดยการทุบก้อนใหญ่ออกมาให้แหลก แยกงานชิ้นใหญ่ออกมาให้เล็ก ซึ่งบางส่วนก็จะกลายเป็นทราย เพื่อเติมเต็มช่องว่างของก้อนกรวดต่อไป\n\nงานชิ้นใหญ่อย่างการวางแผนโครงสร้าง หรือโปรเจคงานต่างๆ ย่อมเต็มไปด้วยขั้นตอนและวิธีการแยกย่อยเต็มไปหมด ถ้าเราวิเคราะห์และเข้าใจถึงเนื้องานได้ แบ่งแยกได้ว่าสิ่งไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น เหมือนแยกทรายออกจากกรวด หรือบางที หินก้อนนั้นอาจมีโพรงข้างในก็เป็นได้หมายถึง ง่นที่ดูยิ่งใหญ่ แต่ขริงๆแล้วกระบวนการด้านในกลับไม่มีอะไรซับซ้อน สามารถทำงานได้อย่างง่าย เท่านี้ก็เป็นการกำจัดอากาศออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้อีกขั้น\n\n-แล้วงานประเภทน้ำล่ะ? \n\nดูเผินๆ น้ำดูไม่มีความจำเป็นอะไร เป็นเรื่องที่ตัดทิ้งไปซะก็ดีแต่ว่า สิ่งนี้คือการปรับสมดุล ถ้าไม่มีน้ำคอยชุ่มฉโลม จะมีก้อนหินที่แห้งผาดเหล่านี้ไปทำไม เหมือนคนที่ทำแต่งาน ถ้าไม่เติมพลังให้กับชีวิต เราจะมีชีวิตไปทำไม ในอีกแง่หนึ่งเมื่อคนที่สามารถจัดการงานพร้อมให้เวลาตัวเองมีความสุขได้ เขาต่างหากคือคนที่ใช้เวลาได้คุ้มค่าอย่างแท้จริง\n\nสุดท้ายเป้าหมายของคนที่ทำงานอย่างหนักคืออะไร? ก็คืออยากทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น เพื่อให้มีความสุข หรือเพื่อฝันใดๆก็ตาม มันจะมีประโยชน์ถ้าถึงวันนั้นเราไม่ได้อยู่ดูฝันนั้นเบ่งบาน \n\nทรัพยากรที่จำกัดที่สุดของมนุษย์เราคือ เวลา แม้เราจะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่การเก็บเกี่ยวเวลานี้ต่างหากที่ทำให้พวกเราต่างกัน บางคนเก็นได้ 2 ชั่วโมง บ้างก็ได้ 4 ชม. แต่บางคนสามารถเก็บเกี่ยวได้เป็น 100 ชม. ....ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการกระทำและมุมมองของแต่ละคน สุดท้ายนี้ขอให้โชคดีครับ ทำงานให้มีความสุข\n\n",
"sig": "76d47ebb057c143b2d329260fee8b4441156ddb4124d2aaccd53d382009952b088a18e5b90263d1eb0d004c4167b3791bdb50440b197502d0c112c713a7cfa65"
}