lungkaaichaoguay on Nostr: พะยูนคุ้งกระเบน ...
พะยูนคุ้งกระเบน ยังมีอยู่จริงหรอวะ
แม้จะเป็นการพบเจอครั้ง 2 ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 2 เดือน แต่เราและคุณหมอ ก็ยังมีแต่ความประหลาดใจที่พบว่า ในอ่าวคุ้งกระเบนยังมีพะยูนมีชีวิตรอดอยู่ได้ ด้วยการใช้พื้นที่โดยรอบและการประมงในอ่าว มันทำให้เรารู้สึกว่าพะยูนไม่น่าอยู่ในนั้นได้เลย แค่เราคิดผิด
ในการสำรวจพะยูนในปีงบประมาณ 2566 คุณหมอและทีมสัตว์ทะเลหายาก ระยอง โดยกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ได้ทำการสำรวจด้วยโดรน cw-15 ตัวใหม่ ไฉไล ในพื้นที่ฐานของพะยูนทั้งหมดในภาคตะวันออก ตั้งแต่ไม้รูด อ่าวคุ้งกระเบน ปากน้ำประแสร์ อ่าวเพ ขาดเพียงแค่อ่าวสัตหีบที่ทหารไม่อนุญาต และอ่าวธรรมชาติ ตราด
ซึ่งความคาดหวังส่วนใหญ่จะไปในพื้นที่ อ่าวเพ และปากน้ำแสร์ ที่มีข้อมูลชัดเจนว่า ยังมีพะยูนอาศัยอยู่บริเวณนั้น ด้วยข้อมูลการพบเห็น แต่สิ่งที่ต้องทำให้ตกใจก็คือ จากการตรวจสอบรูปถ่ายจากโดรนพบพะยูน อยู่บริเวณปากอ่าวคุ้งกระเบน ในวันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นบริเวณด้านนอกของอ่าว และเป็นการพบเจอครั้งเดียว ตัวเดียว ในการสำรวจนั้น
ข้อมูลจากคุณหมอ บอกไว้ว่า เมื่อย้อนดูสถิติการพบเจอพะยูนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ต้องย้อนกลับไปถึง ปี 2552 ที่พบการเกยตื้นเสียชีวิตบางกระไชย แต่ถ้าการพบเจอแบบมีชีวิต และพบในอ่าวคุ้งกระเบน ต้องย้อนไปถึง ปี 2549 ที่พบเกยตื้นมีชีวิตจากการติดอวน และปล่อยออกไปได้ในที่สุด
จากแผนที่หญ้าทะเลปี 63 พบว่า ในจังหวัดจันทบุรี มีแหล่งหญ้าทะเลเพียง 4 แหล่งเท่านั้น คือ ปากน้ำพังราด อ่าวคุ้งกระเบน บ้านหาดหัวแหลม(สะพานสุดขอบฟ้า) และเขาเจ้าหลาว แต่ที่น่าสนใจก็คือ 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพพอให้พะยูนอาศัยและหากินได้ ปากน้ำพังราดจากพื้นที่ 171 ไร่ในปี 58 พบเพียง 0.1 ไร่ ในปี 63 บ้านหาดหัวแหลม มีพื้นที่ 13 ไร่ ในปี 63 เขาเจ้าหลาวไม่พบหญ้าทะเลแล้ว โดยพบครั้งล่าสุดในปี 57 มีเพียงอ่าวคุ้งกระเบน เป็นเพียงแหล่งหญ้าทะเลเดียวทีมีพื้นที่ 2105 ไร่ในปี 63
ความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ การพบพะยูนในวันที่ 8 สิงหาคม บริเวณปากอ่าวคุ้งกระเบน นั้นหมายความว่า พะยูนจะต้องออกมาจากด้านในอ่าว มายังพื้นที่ด้านนอก ที่ไม่มีหญ้าทะเล ซึ่งคาดดว่าเกิดจากระดับน้ำที่ลงต่ำสุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำสุด พื้นที่หญ้าทะเลบางส่วนจะโผล่พ้นน้ำ มีเพียงพื้นที่กลางอ่าว ที่มีหญ้าทะเลเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีหญ้าทะเล และพะยูนจะต้องกลับเข้าไปกินหญ้าทะเลในช่วงที่น้ำขึ้นเพียงพอ ซึ่งจะแตกต่างกับบางแหล่งพะยูน ที่จะมีพื้นที่หญ้าทะเล ที่เป็นพื้นที่จมน้ำตลอดเวลา เช่นแหล่งหญ้าใบมะกรูดด้านนอกของแหล่งหญ้า ปากน้ำประแสร์
สุดท้ายนี้แม้การพบเจอจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่ด้วยข้อมูลการพบเจอที่น้อยนั้น ทำให้ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจะทำอะไรได้ การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลให้มากขึ้น จะทำให้เรามีข้อมูล เพื่อไขคำตอบที่เราสงสัย และเป็นข้อมูลในการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งจะเป็นปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นของเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 555555
#siamstr
Published at
2023-10-16 15:13:02Event JSON
{
"id": "e574c9da6a9c4a5678d7a929fdaa19308616c7b73448cd3b5b8d2113f2d83055",
"pubkey": "abe090d5f10836898acc943b2612c9268f86cf7f8debb908b050d5adfe850288",
"created_at": 1697469182,
"kind": 1,
"tags": [
[
"t",
"siamstr"
],
[
"t",
"siamstr"
]
],
"content": "พะยูนคุ้งกระเบน ยังมีอยู่จริงหรอวะ\n\nแม้จะเป็นการพบเจอครั้ง 2 ที่ระยะเวลาห่างกันเพียง 2 เดือน แต่เราและคุณหมอ ก็ยังมีแต่ความประหลาดใจที่พบว่า ในอ่าวคุ้งกระเบนยังมีพะยูนมีชีวิตรอดอยู่ได้ ด้วยการใช้พื้นที่โดยรอบและการประมงในอ่าว มันทำให้เรารู้สึกว่าพะยูนไม่น่าอยู่ในนั้นได้เลย แค่เราคิดผิด \n\nในการสำรวจพะยูนในปีงบประมาณ 2566 คุณหมอและทีมสัตว์ทะเลหายาก ระยอง โดยกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ได้ทำการสำรวจด้วยโดรน cw-15 ตัวใหม่ ไฉไล ในพื้นที่ฐานของพะยูนทั้งหมดในภาคตะวันออก ตั้งแต่ไม้รูด อ่าวคุ้งกระเบน ปากน้ำประแสร์ อ่าวเพ ขาดเพียงแค่อ่าวสัตหีบที่ทหารไม่อนุญาต และอ่าวธรรมชาติ ตราด \n\nซึ่งความคาดหวังส่วนใหญ่จะไปในพื้นที่ อ่าวเพ และปากน้ำแสร์ ที่มีข้อมูลชัดเจนว่า ยังมีพะยูนอาศัยอยู่บริเวณนั้น ด้วยข้อมูลการพบเห็น แต่สิ่งที่ต้องทำให้ตกใจก็คือ จากการตรวจสอบรูปถ่ายจากโดรนพบพะยูน อยู่บริเวณปากอ่าวคุ้งกระเบน ในวันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นบริเวณด้านนอกของอ่าว และเป็นการพบเจอครั้งเดียว ตัวเดียว ในการสำรวจนั้น \n\nข้อมูลจากคุณหมอ บอกไว้ว่า เมื่อย้อนดูสถิติการพบเจอพะยูนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ต้องย้อนกลับไปถึง ปี 2552 ที่พบการเกยตื้นเสียชีวิตบางกระไชย แต่ถ้าการพบเจอแบบมีชีวิต และพบในอ่าวคุ้งกระเบน ต้องย้อนไปถึง ปี 2549 ที่พบเกยตื้นมีชีวิตจากการติดอวน และปล่อยออกไปได้ในที่สุด\n\nจากแผนที่หญ้าทะเลปี 63 พบว่า ในจังหวัดจันทบุรี มีแหล่งหญ้าทะเลเพียง 4 แหล่งเท่านั้น คือ ปากน้ำพังราด อ่าวคุ้งกระเบน บ้านหาดหัวแหลม(สะพานสุดขอบฟ้า) และเขาเจ้าหลาว แต่ที่น่าสนใจก็คือ 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพพอให้พะยูนอาศัยและหากินได้ ปากน้ำพังราดจากพื้นที่ 171 ไร่ในปี 58 พบเพียง 0.1 ไร่ ในปี 63 บ้านหาดหัวแหลม มีพื้นที่ 13 ไร่ ในปี 63 เขาเจ้าหลาวไม่พบหญ้าทะเลแล้ว โดยพบครั้งล่าสุดในปี 57 มีเพียงอ่าวคุ้งกระเบน เป็นเพียงแหล่งหญ้าทะเลเดียวทีมีพื้นที่ 2105 ไร่ในปี 63\n\nความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ การพบพะยูนในวันที่ 8 สิงหาคม บริเวณปากอ่าวคุ้งกระเบน นั้นหมายความว่า พะยูนจะต้องออกมาจากด้านในอ่าว มายังพื้นที่ด้านนอก ที่ไม่มีหญ้าทะเล ซึ่งคาดดว่าเกิดจากระดับน้ำที่ลงต่ำสุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำสุด พื้นที่หญ้าทะเลบางส่วนจะโผล่พ้นน้ำ มีเพียงพื้นที่กลางอ่าว ที่มีหญ้าทะเลเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีหญ้าทะเล และพะยูนจะต้องกลับเข้าไปกินหญ้าทะเลในช่วงที่น้ำขึ้นเพียงพอ ซึ่งจะแตกต่างกับบางแหล่งพะยูน ที่จะมีพื้นที่หญ้าทะเล ที่เป็นพื้นที่จมน้ำตลอดเวลา เช่นแหล่งหญ้าใบมะกรูดด้านนอกของแหล่งหญ้า ปากน้ำประแสร์\n\nสุดท้ายนี้แม้การพบเจอจะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่ด้วยข้อมูลการพบเจอที่น้อยนั้น ทำให้ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจะทำอะไรได้ การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลให้มากขึ้น จะทำให้เรามีข้อมูล เพื่อไขคำตอบที่เราสงสัย และเป็นข้อมูลในการจัดการเพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งจะเป็นปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นของเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 555555\n\n#siamstr",
"sig": "a6b17d26b8bd7a5ed99f8d6a864263fa5ceae34c922a7c72db2dc4fcdbc9936e8eb35d56e2852651e764b580f749a04e3c431cce4aec5b621e9cb5523a87c32f"
}