Why Nostr? What is Njump?
2023-10-06 05:36:52

Hipknox on Nostr: เขียนเล่น ๆ : ...

เขียนเล่น ๆ : วันนี้จะพาไปสำรวจมุม ๆ หนึ่งภายในจักรวาลของกล่องคอนกรีต (ที่ ๆ หลาย ๆ ท่านกำลังนั่งทำงานกันอยู่)

"ตลาดที่ถูกควบคุมจนบิดเบี้ยว จะสร้างสังคมและพฤติกรรมที่บิดเบี้ยว"

ใกล้จะสิ้นปีใครหลาย ๆ คนที่กำลังทำงานในบริษัทต่าง ๆ ในหลาย ๆ บริษัทคงจะเริ่มมีการประชุมพูดคุยกันถึงการสรุปจัดทำงบประมาณ (budget) สำหรับบริษัทหรือแผนกงานต่าง ๆ สำหรับปีหน้า และหนึ่งในหัวข้อที่ผู้บริหารจะต้องมีการหยิบยกขึ้นมาพูดคุยคงหนีไม่พ้นเรื่องของการปรับขึ้นเงินเดือนของพนักงาน เพราะมันก็เป็นหนึ่งในรายจ่ายงบประมาณที่บริษัทจะต้องมีการจัดการในปีหน้า

สิ่งที่ผู้บริหารมักจะหยิบมาใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงสำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงงานนั้นมีตั้งแต่ storytelling อย่างสถิตการขึ้นเงินเดือนของบริษัทในกลุ่มอุตสาหรรมต่าง ๆ สายผลิตโรงงาน หรือกลุ่มของธุรกิจที่ใกล้เคียงกันกับบริษัท บอกเป็นเหตุผลอีกนัยหนึ่งให้พนักงานนั้นรับรู้ เพื่อสร้างการรับรู้ว่า "ทุก ๆ ที่ จะมีการปรับขึ้นเงินเดือนเหมือน ๆ กัน เป็นแบบนี้เหมือน ๆ กันทั้งหมด" เหมือนจะกำลังบอกกลาย ๆ ว่าคุณไม่ต้องไปเทียบกับที่อื่นให้เสียเวลา ไม่ว่าที่ไหนมันก็ขึ้นเงินเดือนเท่า ๆ กันนั่นแหละ

และเพื่อลดการซักถามด้วยความตะขิดตะขวงใจของพนักงานตาดำ ๆ ภายในบริษัท "ตัวเลข" เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นนามธรรมที่เข้าใจได้ยาก เมื่อมีการหยิบยกนำมาอธิบายทุกคนที่รับรู้ก็แทบจะเข้าใจได้ทันที "อัตราเงินเฟ้อ" ผู้บริหารมักจะหยิบเอาสถิติอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางเป็นผู้ประเมินเอาไว้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปีถัดไป 2.4 - 2.5% (สำหรับปี 2567 / 2024) นำมาอธิบาย

และแน่นอนว่าเกริ่นนำมาแบบนี้แม้ไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์เหรียญทองโอเลมปิกก็สามารถที่จะรู้ได้ทันทีว่า ผู้บริหารคงมีการปรับขึ้นเงินเดือนให้เท่าที่ครอบคลุมกับอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางประเมินเอาไว้ ไม่หนีห่างจากตัวเลขตรงนี้ไปสักเท่าไร

ถ้าหากคุณเป็นบุคลากรที่ไม่ได้มีหน้าที่หารายได้เข้าบริษัท ไม่ได้มีการจัดทำ KPI เพื่อประเมิน Perfomance ภายในปีที่ผ่านมา คุณอาจจะได้ขึ้นเงินเดือนสูงสุดแค่ 5% ของเงินเดือนในปีปัจจุบัน และนั้นคือสิ่งที่คุณควรพอใจเมื่อผู้บริหารบอกกับคุณว่ามันครอบคลุมกับอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าแล้ว นั่นมากพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเมื่อเทียบกับราคาสินค้าต่าง ๆ ที่จะแพงขึ้นในปีหน้า ถ้าคุณบริหารเงินที่คุณได้รับดี ๆ คุณอาจจะมีเงินเหลือเก็บเพิ่ม

และแน่นอนจากที่ผมได้ลองคำนวณให้พวกคุณได้ดู เมื่อเทียบหน่วยของเงินที่คุณได้รับต่อเดือน หารกับ ปริมาณเงินที่มีอยู่ทั้งระบบ จะได้เป็น % ของกำลังซื้อ ที่คุณมีส่วนร่วมจากการถือครองเงินเป็นกี่ % ของเงินทั้งหมดที่ออกโดยรัฐ

คุณจะเห็นได้ว่า ถ้าเงินเดือนคุณได้ปรับขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% เป็นเวลา 10 ปี จำนวนหน่วยของเงินที่คุณถือครองจะเพิ่มขึ้นมา 100% (เงินเดือนเพิ่มขึ้นจากวันที่เริ่มต้นทำงาน 1 เท่าตัว) แต่กำลังซื้อที่เป็น % จากเงินทั้งระบบ สำหรับคุณมันจะเพิ่มขึ้นมาแค่ 20.48% (มันหายไปไหนตั้ง -79.52%) และมันเป็นเพราะว่ารัฐก็กำลังผลิตเงินอัดฉีดมันเข้ามาในระบบ แข่งกับปริมาณเงินเดือนที่คุณได้รับ (จะแข่งกันมั้ยละ?)

สำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยเพียง 5% เป็นเวลา 10 ปีเท่ากันกับกรณีข้างบน คุณจะติดลบ % ของกำลังซื้ออยู่ -9.64% (คุณทำงานมา 10 ปี และตอนนี้กำลังซื้อคุณเหลือแค่ 90.36% จากปริมาณเงินที่ได้รับ) คุณได้เงินเดือนเพิ่มแต่กำลังซื้อคุณติดลบนะครับ ทำงานยังไงให้ชีวิตของตัวเองต้องติดลบอะครับ

และนี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของปรากฏการณ์ที่มีข่าวจากสื่อที่นำเสนอให้ได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กรุ่นใหม่ไม่มีความอดทนในการทำงานอยู่ในบริษัทเดิมนาน ๆ " เกิดกระแสของเทรนการเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ของเด็กรุ่นใหม่ ๆ เพราะเขาอยู่กับที่ในบริษัทเดิม ๆ ไม่ได้ การสมัครงานและเปลี่ยนงานในบริษัทใหม่มันช่วยให้เขาได้จำนวนหน่วยของเงินเพิ่มขึ้น (และไม่ไปลด % กำลังซื้อของเขาโดยที่เขาไม่รู้ตัว) อยู่ที่เดิม ๆ มัน suffer จะอยู่ทำไม?

มันมีทั้งคนที่เปลี่ยนงานบ่อย ๆ เพราะต้องการเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ จริง ๆ ก็มี แต่คงต้องบอกว่าเมื่อปริมาณเงินที่ได้รับมันมาก่อนสิ่งอื่น เพราะตัวเงินมันเสื่อมค่า คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าที่ไหนที่ให้เงินได้เยอะกว่า ทำงานได้หรือไม่ได้ก็ขอเอาเงินเยอะ ๆ ไว้ก่อนเป็นสิ่งที่ทำแล้วสำฤทธิ์ผลมากที่สุดสำหรับพวกเขา

แล้วก็เป็นกันเกือบทุก ๆ ที่ ที่บริษัทจะไม่ใส่ใจข้อเรียกร้องการขึ้นเงินเดือนของพนักงานหน้าเก่า แต่เมื่อพวกเขาลาออกไป ทุก ๆ ครั้งของการรับพนักงานหน้าใหม่ที่ไม่ได้มีความชำนาญเท่ากับพนักงานหน้าเก่า จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างแพงขึ้นกว่าที่บริษัทเคยต้องจ่าย แต่บริษัทก็จะยอมจ่าย

จริง ๆ มีอีกหลายแง่มุมเลยอย่างเช่น เวลา ปริมาณงาน การทำงานแทนงานคนอื่นเมื่อคนไม่พอ บังคับเอาวันหยุดมาทำงาน และอีกร้อยแปดพันเก้า ที่บริษัททำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ และไม่ได้ตั้งใจ ถ้าเล่าต่อคงจะยาวจนเกินไป

วัฏจักรนี้ยังคงดำเนินต่อไป กลไกลการควบคุมราคาที่ไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของตลาด กำลังสร้างพลวัตของการพังทะลายลงอย่างช้า ๆ ของสังคม

"คุณเคยมั้ย? ที่คุณลุกออกจากที่นอน ตอนที่แต่งตัวเพื่อที่จะออกไปทำงานแล้วคุณส่องกระจกมองดูตัวเอง มองดูเข้าไปในดวงตาของตัวคุณเองแล้วพบแต่ความว่างเปล่าภายในดวงตานั้น"

เราทุกคนล้วนเจ็บปวดที่รัก แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเธอนั้นรู้สาเหตุหรือยังอะไรที่ทำให้เธอต้องเจ็บปวด "Have a hope, We're all early in the bitcoin age."

#Siamstr

Author Public Key
npub1p0glyrz85nu86gevlhrsg9t3pg5uhrhq3sgwjmy8mzq0k09m30pq2jv9kv