#siamstr #pirateketo
quoting naddr1qq…n36eจริงหรือ ว่าโอเมก้า3 ต้องมาจากปลาทะเลเท่านั้น
มีเรื่องที่น่าสนใจเรื่องนึงครับ ถ้าพูดถึงโอเมก้า-3 หลายคนอาจนึกถึงปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน แมคเคอเรล หรือซาร์ดีน ซึ่งเป็นแหล่งโอเมก้า-3 ที่ร่างกายใช้ได้ดี แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีกลุ่มคนที่พยายามบริโภคโอเมก้า-3 จากพืชแทน เช่น น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันเมล็ดเจีย หรือวอลนัท โดยหวังว่าจะได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับการกินปลา แต่ที่เราเรียนรู้กันมาว่า โอเมก้า-3 จากพืชนั้น ร่างกายมนุษย์นำไปใช้ได้น้อยมาก หรือแทบไม่ได้เลย
สาเหตุหลักมาจากรูปแบบของโอเมก้า-3 ที่พบในแหล่งต่างๆ โอเมก้า-3 มีอยู่ 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ALA (Alpha-Linolenic Acid) – พบในพืช EPA (Eicosapentaenoic Acid) – พบในปลาทะเล DHA (Docosahexaenoic Acid) – พบในปลาทะเล
ร่างกายสามารถใช้ EPA และ DHA ได้โดยตรง แต่สำหรับ ALA นั้น ร่างกายต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีก่อน ซึ่งกระบวนการนี้ไม่มีประสิทธิภาพนัก โดยทั่วไปแล้ว ALA แปลงเป็น EPA ได้เพียง 5-10% ALA แปลงเป็น DHA ได้เพียง 0.5-5% แปลว่า หากคุณกินเมล็ดแฟลกซ์หรือน้ำมันเมล็ดเจีย แม้ว่าจะมีปริมาณ ALA สูง แต่ร่างกายก็แทบไม่ได้รับ EPA และ DHA ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ทำไมร่างกายแปลง ALA เป็น EPA/DHA ได้น้อย? อันแรกเลยคือ เอนไซม์จำกัด กระบวนการเปลี่ยน ALA เป็น EPA และ DHA จะใช้เอนไซม์เดียวกับการแปลงโอเมก้า-6 ซึ่งมักถูกใช้ไปกับโอเมก้า-6 ที่มากเกินไปในอาหารปัจจุบันซะแล้วนั่นเอง ต่อมาคือ กระบวนการหลายขั้นตอน การเปลี่ยน ALA เป็น DHA ต้องผ่านหลายขั้นตอนทางชีวเคมี ทำให้มีการสูญเสียพลังงานและวัตถุดิบไปมาก และสุดท้าย ปัจจัยทางพันธุกรรมและเพศ บางคน โดยเฉพาะผู้หญิง อาจมีอัตราการเปลี่ยนที่สูงกว่าผู้ชายเล็กน้อย แต่ก็ยังต่ำเมื่อเทียบกับการได้รับ EPA/DHA จากปลาหรือสาหร่ายโดยตรง
โอเมก้า-6 ตัวการขัดขวางโอเมก้า-3 จากพืช โอเมก้า-6 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่พบมากในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารแปรรูปในปัจจุบัน ปัญหาคือ เอนไซม์ที่ใช้แปลง ALA ไปเป็น EPA/DHA เป็นตัวเดียวกับที่ใช้แปลงโอเมก้า-6 ไปเป็น AA (Arachidonic Acid) ซึ่งมีบทบาทในการอักเสบ หากเราบริโภคโอเมก้า-6 มากเกินไป (ซึ่งคนส่วนใหญ่ทำ5555) เอนไซม์เหล่านี้จะถูกใช้ไปกับโอเมก้า-6 มากกว่า ทำให้ ALA มีโอกาสแปลงเป็น EPA/DHA น้อยลงไปอีก
แล้วคนที่ไม่กินปลาหรือชาววีแกนควรทำอย่างไร? สำหรับคนที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการกินปลา ก็จะมีการบริโภคน้ำมันสาหร่ายที่มี DHA โดยตรงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการหวังพึ่ง ALA จากพืช เพราะ DHA จากสาหร่ายสามารถดูดซึมและใช้ได้ทันทีเหมือน DHA จากปลา
ได้ด้วยเหรอ ????? ผมเล่ากำเนิดของ DHA ในปลาให้ประมาณนี้ครับ จริง ๆ แล้ว DHA ซึ่งเป็นโอเมก้า-3 ที่ร่างกายใช้ได้โดยตรง มาจาก Docosahexaenoic Acid ที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ตามธรรมชาติ ซึ่งสาหร่ายบางสายพันธุ์ เช่น Schizochytrium และ Crypthecodinium cohnii มีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันพื้นฐานให้กลายเป็น DHA ได้เองซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในระบบนิเวศทะเล(พืชกักเก็บไขมันได้อย่างไร ผมเคยโพสไปแล้ว) โดยเฉพาะ สาหร่ายขนาดเล็ก (microalgae) สาหร่ายจึงเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเลพัฒนาให้มี DHA สูงเพราะ DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์ในสาหร่าย ทำให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำในทะเลได้
จากนั้นก็เป็นไปตามห่วงโซ่อาหารครับ ปลาและสัตว์ทะเลอื่น ๆ ได้รับ DHA จากการบริโภคสาหร่ายหรือสัตว์เล็ก ๆ ที่กินสาหร่ายมาอีกที ดังนั้น DHA ในปลาเป็นผลมาจากการสะสมจากสาหร่ายโดยตรง นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน แมคเคอเรล และซาร์ดีน ถึงมี DHA สูงนั่นเอง งว่ออออออ
ดังนั้น เมื่อคุณกิน DHA จากสาหร่าย ก็เท่ากับว่าคุณได้รับ DHA จากต้นกำเนิดแท้จริงในระบบนิเวศทะเลครับ DHA ที่ได้มาจากสาหร่ายสามารถนำไปใช้ในร่างกายได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลง เพราะมันอยู่ในรูป Triglyceride หรือ Phospholipid ซึ่งเป็นรูปแบบที่ร่างกายมนุษย์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ทันที ปลาไม่ได้แปลงโครงสร้าง DHA แต่เพียงสะสม DHA ไว้ในตัวจากการกินสาหร่าย ดังนั้นการรับประทาน DHA จากสาหร่ายก็ให้ผลเทียบเท่ากับการรับประทาน DHA จากปลา งานวิจัยหลายฉบับยืนยันว่า DHA จากสาหร่ายมีค่าการดูดซึม (Bioavailability) ใกล้เคียงกับ DHA จากน้ำมันปลา แต่หาเอาเองนะถ้าอยากอ่านฉบับเต็ม
การผลิตน้ำมันสาหร่ายนั้น เมื่อสาหร่ายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เขาจะทำการเก็บเกี่ยวและสกัดน้ำมันโดยใช้เทคโนโลยีการแยกที่ทันสมัย ซึ่งช่วยรักษาให้ DHA ที่มีอยู่ในเซลล์สาหร่ายถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง จากนั้นจะเข้าสู่การกรองหรือการปั่นแยก (centrifugation) เพื่อให้ได้มวลสาหร่ายที่เข้มข้น จากนั้นจึงทำให้แห้งเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการสกัด ซึ่งมีหลายวิธีอาทิเช่น
1 การสกัดด้วยตัวทำละลาย
ใช้ตัวทำละลาย เช่น เฮกเซน (Hexane) หรือ เอทานอล (Ethanol) เพื่อสกัดน้ำมันออกจากเซลล์สาหร่าย จากนั้นน้ำมันจะถูกนำไปกลั่นเพื่อแยกตัวทำละลายออก ทำให้ได้น้ำมันที่มีความบริสุทธิ์สูง
- การสกัดด้วย CO₂ เหลว ใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะวิกฤติ (Supercritical CO₂) ซึ่งเป็นวิธีที่ทันสมัย ก๊าซ CO₂ จะถูกทำให้มีความดันสูงและอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อกลายเป็นของเหลว แล้วใช้แยกน้ำมันออกจากเซลล์สาหร่าย วิธีนี้ช่วยให้ได้น้ำมันที่ ปราศจากตัวทำละลายเคมีและมีความบริสุทธิ์สูง
- การสกัดด้วยการกดอัด หรือ Cold Pressed
เป็นวิธีที่ใช้แรงดันทางกลกดเซลล์สาหร่ายเพื่อให้ได้น้ำมันออกมา อันนี้เป็นการผลิตน้ำมันแบบออร์แกนิกเลยครับ แต่ให้ผลผลิตน้อยกว่าวิธีอื่น ๆน้ำมันที่ได้จากการสกัดจะผ่านการกลั่นด้วยกระบวนการต่าง ๆ เช่น Winterization กำจัดไขมันที่ไม่จำเป็น Molecular Distillation แยกสารตกค้าง เช่น โลหะหนักและสารปนเปื้อน Deodorization กำจัดกลิ่นคาวของสาหร่าย จากนั้นก็บรรจุใส่ซอฟท์เจล พร้อมจำหน่ายนั่นเองครับ
ก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกของชาววีแกน ที่ไม่สามารถกินปลาหรือสัตว์ทะเลได้ ก็น่าจะเฮกันดังๆได้เลยครับ จะได้มีตัวช่วยในการลดการอักเสบได้
ส่วนชาว food matrix ก็ต้องเรียนรู้ระบบครับ การกินจากปลาหรือสัตว์ทะเล ก็จะได้โปรตีน แร่ธาตุ วิตามินอื่นๆควบมากับตัวสัตว์ตามที่ธรรมชาติแพคมาให้ ถ้าจะเสริมเป็นน้ำมันสาหร่าย ก็สุดแล้วแต่ความต้องการครับ ไม่ใช่เรื่องแย่อะไร เว้นแต่ไปเทียบราคาเอาเองนะ 55555
#pirateketo #ฉลาก3รู้ #กูต้องรู้มั๊ย #ม้วนหางสิลูก #siamstr