R0PE✨ on Nostr: ...
มนุษย์เคยมีความสุขง่ายกว่านี้
---
James Suzman ผู้เขียนหนังสือ Work ให้สัมภาษณ์ไว้ในสารคดี Time to Work ถึงความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมนุษย์หลังยุคเกษตรว่า ก่อนหน้านั้นบรรพบุรุษของเราเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนกว่านี้มาก พืชพรรณธัญญาหาร กระทั่งน้ำดื่มก็ไม่ได้หาง่าย สิ่งต้องทำคือเซฟพลังงาน ล่าเท่าที่ต้องการ เก็บนานก็ไม่ได้ แต่นั่นคือเหตุผลที่บรรพบุรุษในทุ่งสะวันนาใช้เวลา 15 ชม.ต่อสัปดาห์เท่านั้นไปกับการทำงาน นอกนั้นพักผ่อน นอนเล่นกับครอบครัว ระหว่างไม่ได้ล่าอะไรก็ใช้เวลากับการตระเตรียมอาหารหรืออาวุธ ซึ่งเป็นช่วงเวลาการเข้าสังคม (ว่ากันว่าผู้ประกอบการและซีอีโอจำนวนมากทำงาน 50-80 ชม. ต่อสัปดาห์)
ฟังแล้วผมจับประเด็นสำคัญว่า เมื่อรู้ว่าของหายาก ความต้องการจึงถูกจำกัดไปด้วย เมื่อความต้องการถูกจำกัดไว้แค่ 'เท่าที่จำเป็น' จึงไม่ต้องเหนื่อยหามาให้ล้นเกิน
แต่หลังยุคเกษตร มนุษย์รู้แล้วว่าตนควบคุมโลกได้ เสกพืชขึ้นมาได้เท่าปริมาณพื้นที่ กักตุนได้ ขายได้ (พอมีเงินซึ่งไม่เน่ายิ่งสะสมได้อีก) จังหวะนี้เองที่มนุษย์เริ่มต้องการมากเกินจำเป็น เป็นจุดเริ่มต้นแรกๆ ของการทำงานเกินจำเป็น เหนื่อยโดยไม่รู้ว่าทำไมต้องเหนื่อยขนาดนี้ แน่นอนว่ามันนำไปสู่การสะสม ความเหลื่อมล้ำในสังคม การยึดครอง ความตึงเครียด และสงคราม
หน่อที่ฝังอยู่ในความรู้สึกเราลึกๆ เช่น ฉันมีไม่พอ เก่งไม่พอ ดีไม่พอ ก็อาจมีรากมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักสะสม พอสะสมได้เราก็เปรียบเทียบกันหนัก ทำให้เราไม่พอใจเพราะ 'มีน้อยกว่า' ไม่ใช่ 'มีไม่พอความจำเป็น' ซึ่งต่างกัน
ซุสแมนพูดไว้แค่เรื่องเกษตร ที่เหลือผมขอชวนกันคิดต่อดู ความเหนื่อยในโลกการทำงานทุกวันนี้กลายเป็นโจทย์ให้เราต้องมาขบกันว่าจะสร้างสมดุลชีวิต-การงานอย่างไร (work-life balance) ซึ่งเป็นคำแปลก เพราะก่อนหน้านี้ 'งาน' คือส่วนหนึ่งของ 'ชีวิต' ไม่ได้แยกขาดจากกัน แปลว่า 'งาน' ถูกแยกขาดจากชีวิตไปเรียบร้อย เพราะในงานนั้นไม่มีมีครอบครัว ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคม มีแต่การใส่พลังลงไปแลกรายได้กลับมา เพื่อผลิตอะไรบางอย่างที่เราเองอาจไม่ได้ต้องการมัน
มองด้วยสายตาบรรพบุรุษ มนุษย์ยุคใหมก็เพี้ยนกันมาไกล แถมการผลิตมากมายเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาซึ่ง 'ชีวิตเป็นสุข' มากกว่าเดิม เราเหนื่อยขึ้น เครียดขึ้น ขัดแย้งมากขึ้น รักน้อยลง มีน้ำใจน้อยลง กระทั่ง มั่นคงในใจน้อยลง บางคนอาจเถียงว่าเราอายุยืนขึ้น ก็จริง แต่ก็ใช้การแพทย์และยาประคองไว้ทั้งนั้น คำถามลึกกว่านั้นคือ อายุยืนขึ้นแต่มีความสุขระหว่างมีชีวิตหรือไม่?
เราอยู่ในยุคสมัยที่ชวนให้ถามถึงสิ่งที่ 'มากกว่า' ตลอด ในกรอบคิด 'อีกๆๆ' ตลอดเวลา ไม่เหนื่อยสิแปลก วัฒนธรรมรอบตัวบอกกับเราว่าโลกกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า คนนั้นสำเร็จแบบนี้ คนนี้เก่งเรื่องโน้น ยังไม่ต้องวิ่งตามหรอก แค่ได้ยินก็เหนื่อยแล้ว
โลกหมุนไปด้วยพลังความอยาก ซึ่งมีรากมาจากความเชื่อว่าเราต้อง 'สะสม' และคนที่สะสมได้มากจะมีชีวิตดีกว่าคนอื่น ซึ่งผมแอบคิดว่า ไม่จริงเสมอไป คนที่สะสมแบบเหมาะกับตนเอง ไม่ใช่ไร้ที่สิ้นสุด ถอนตัวออกจากลู่วิ่งไล่ชับชนะได้ และรู้ว่าประมาณนี้ก็มีชีวิตที่รอดปลอดภัยแล้ว ต่างหากล่ะที่จะมีชีวิตที่ดี, ไม่ได้วัดกันที่ใครสะสมได้มากกว่า
โลกที่ล่อลวงให้เราอยากมีมากขึ้น พัฒนาไปให้ไกลที่สุดนั้นเป็นโลกแห่งความต้องการเกินจำเป็น ปัจเจกก็อยากได้เกินจำเป็น องค์กรก็แข่งเกินจำเป็น สังคมก็ผลิตและบริโภคเกินจำเป็น ทรัพยากรโลกถูกใช้เกินจำเป็น--สุดท้ายกลายเป็นโลกป่วยที่บรรจุคนป่วยๆ เอาไว้เต็มโลก
ผู้คนเหนื่อยล้า ไม่รู้จะเหนื่อยไปทำไม แต่ก็ไม่รู้จะหยุดยังไง ในเมื่อโลกยังหมุนปั่นไปด้วยความเร็วที่มากขึ้นทุกวัน
ย้อนกลับไปหาปัญญาจากบรรพบุรุษ ผู้ที่นั่งๆ นอนๆ ใช้ชีวิตเหมือนสัตว์ป่าที่ชีวิตมิได้เท่ากับการทำงานๆๆๆๆๆๆ แต่มีมิติกว้างขวางกว่านั้น เหตุใดชีวิตเช่นนั้นจึงเกิดขึ้นได้? คำตอบคือ เพราะพวกเขาไม่สะสมด้วยความรู้สึกหวั่นวิตกว่าจะขาดแคลน ที่จริงตรงนี้ซับซ้อนสักนิด ที่ไม่รู้สึกขาดแคลนอาจเป็นเพราะความเป็นชุมชนโอบอุ้มเขาไว้ วันใดล่ากระต่ายไม่ได้ เขาสามารถไปขอกินกวางจากบ้านข้างๆ ที่เคยได้รับกระต่ายจากเขาไปเมื่อวานนี้ อีกอย่าง ทัศนคติเรื่องความตายของพวกเขาอาจเป็นเรื่องธรรมชาติมากกว่าคนสมัยใหม่
หากเราดำเนินชีวิตด้วย mindset ของผู้ขาดแคลน ย่อมทำให้ต้องสะสมอีกและอีกและอีก เท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะเพดานไม่ใช่ 'ความจำเป็น' หากคือ 'ความต้องการ' ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด และโลกก็ผลิตข้าวของมาบำเรอเราอย่างไร้ที่สิ้นสุดเช่นกัน
ผลิตกระตุ้นความต้องการ
บริโภคแล้วก็กระตุ้นความต้องการต่อไป
จึงต้องทำงานให้ได้เงินมาบริโภค
ผู้คนจึงเหนื่อยเพราะต้องสะสม
สะสมเพื่อบริโภคสิ่งต้องการ (ซึ่งอาจไม่จำเป็น)
แน่นอน เรามาไกลเกินกว่าจะบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไปอยู่กินแบบบรรพบุรุษสิ ผมว่านั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือหากมองย้อนเส้นประวัติศาสตร์แล้วเห็นทางแยกของ 'นิสัยสะสม' ที่กระตุ้นความรู้สึก 'ขาดแคลน' หรือ 'มีไม่เคยพอ' ของมนุษย์ เราสามารถบริหารจัดการความต้องการที่แท้กับความต้องการที่ล้นของตัวเองได้อย่างไร เพื่อให้เราไม่ต้องเหนื่อยกับการไล่ล่าทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนคนมีกวางอยู่ที่บ้านหนึ่งตัวแล้วไม่หลับไม่นอนเพื่อล่าม้าลายมาอีกฝูงใหญ่ สุดท้ายก็เส้นเลือดในสมองแตกเพราะล่าม้าลายตัวที่สิบไม่สำเร็จ
ถอยมาดูไกลๆ ช่วงวิ่งไล่อะไรมากๆ ผมรู้สึกเหมือนกันนะว่าผมนี่ก็คนบ้าคนนึง โลกทำให้เราบ้า วัฒนธรรมสะสมทำให้เราป่วย และวงจรในโลกผลิต-บริโภคทำให้เราเหนื่อยโดยไร้คำตอบให้ตัวเอง
เราเคยมีความสุขง่ายกว่านี้ ตอนที่ชีวิตยังไม่อยู่ในหมวดสะสมแบบไร้ขีดจำกัด ขณะนี้เทคโนโลยีวิ่งเร็วขึ้นไปอีก มันกระตุ้นให้เราวิ่งให้ทันมันตลอด คำถามสำคัญไม่ใช่ "ทำยังไงเราจึงวิ่งทัน" ผมว่าคำถามสำคัญคือ "เราต้องวิ่งแค่ไหน" ซึ่งสิ่งที่ช่วยตอบได้คือ "วิ่งในสปีดที่พอดีกับชีวิตเรา" ในแบบที่ยังจับกระต่ายได้ ไม่ต้องล่าม้าลายมาทั้งฝูง หรือหมดทุ่ง
เราต้องการกระต่ายเพื่อมีชีวิต แต่ถูกล่อลวงตลอดว่าแค่นั้นไม่พอ บ่อยเข้ามันกลายเป็นความเชื่อฝังหัวว่า ไม่พอหรอก ไม่พอ แกต้องหามาอีกและอีก แกต้องออกไปล่าอีกและอีก
แน่นอน กระต่ายวันต่อวันนั้นไม่พอ แต่ทักษะที่เพียงพอในการล่า และชุมชนที่เกื้อกูลกันย่อมช่วยได้ โลกทุกวันนี้มีคนล่าม้าลายได้ทั้งฝูงแต่ไม่ยอมแบ่งแม้แต่ท่อนขาเล็กๆ ให้คนอื่นกิน เขาย่อมรู้สึกอันตราย เพราะรอบตัวหาใช่มิตร หากคือคนที่จ้องเล่นงาน
การมีมากไม่ได้เท่ากับความสุข การมีน้อยไม่ได้แปลว่าสุขน้อยกว่า
สุขคือรู้ว่าความจำเป็นคืออะไร ไม่เหนื่อยเกินจำเป็น เพิ่มทักษะให้ทันกระต่ายที่ต้องล่า และรู้ว่าม้าลายที่มากเกินนั้นเป็นทุกข์มากกว่าสุข เป็นความรู้สึกขาดแคลนมากกว่ามั่งคั่ง
ที่เขียนมาไม่ใช่คำตอบสากล ไม่ใช่ข้อเสนอที่หยิบยื่นให้คนอื่นหรอกครับ เป็นสิ่งที่ผมทบทวนตัวเองเพื่อมีชีวิตที่กำลังดี มีความสุข ได้พักผ่อน ไม่บ้าไปกับโลก และไม่รบกวนทรัพยากรโลกจนเกินพอดี
ผมว่าเรามีความสุขได้โดยไม่ต้องเอามาทั้งหมดหรือมีมากกว่าใคร ความสุขเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าอะไรจำเป็น อะไรนอกเหนือความจำเป็น ส่วนนอกเหนือความจำเป็นมักเกิดจากเสียงขับกล่อมกรอกหูของคนอื่น
สิ่งจำเป็นมักเบากว่า มันกระซิบอยู่ข้างในใจเรา
#นิ้วกลมบันทึก
Credit round finger
Published at
2024-06-12 12:42:08Event JSON
{
"id": "b24ffed461b955548f0b78e947241ceff2c257dca9dd298d5195e7c4afd8303e",
"pubkey": "e4cd9ea1d22fe6e01f09c0557a7b4b9c5b9ce31221ee2cb0b707e49000b369b8",
"created_at": 1718196128,
"kind": 1,
"tags": [
[
"t",
"นิ้วกลมบันทึก"
]
],
"content": "มนุษย์เคยมีความสุขง่ายกว่านี้\n---\nJames Suzman ผู้เขียนหนังสือ Work ให้สัมภาษณ์ไว้ในสารคดี Time to Work ถึงความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมนุษย์หลังยุคเกษตรว่า ก่อนหน้านั้นบรรพบุรุษของเราเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนกว่านี้มาก พืชพรรณธัญญาหาร กระทั่งน้ำดื่มก็ไม่ได้หาง่าย สิ่งต้องทำคือเซฟพลังงาน ล่าเท่าที่ต้องการ เก็บนานก็ไม่ได้ แต่นั่นคือเหตุผลที่บรรพบุรุษในทุ่งสะวันนาใช้เวลา 15 ชม.ต่อสัปดาห์เท่านั้นไปกับการทำงาน นอกนั้นพักผ่อน นอนเล่นกับครอบครัว ระหว่างไม่ได้ล่าอะไรก็ใช้เวลากับการตระเตรียมอาหารหรืออาวุธ ซึ่งเป็นช่วงเวลาการเข้าสังคม (ว่ากันว่าผู้ประกอบการและซีอีโอจำนวนมากทำงาน 50-80 ชม. ต่อสัปดาห์)\n\nฟังแล้วผมจับประเด็นสำคัญว่า เมื่อรู้ว่าของหายาก ความต้องการจึงถูกจำกัดไปด้วย เมื่อความต้องการถูกจำกัดไว้แค่ 'เท่าที่จำเป็น' จึงไม่ต้องเหนื่อยหามาให้ล้นเกิน\n\nแต่หลังยุคเกษตร มนุษย์รู้แล้วว่าตนควบคุมโลกได้ เสกพืชขึ้นมาได้เท่าปริมาณพื้นที่ กักตุนได้ ขายได้ (พอมีเงินซึ่งไม่เน่ายิ่งสะสมได้อีก) จังหวะนี้เองที่มนุษย์เริ่มต้องการมากเกินจำเป็น เป็นจุดเริ่มต้นแรกๆ ของการทำงานเกินจำเป็น เหนื่อยโดยไม่รู้ว่าทำไมต้องเหนื่อยขนาดนี้ แน่นอนว่ามันนำไปสู่การสะสม ความเหลื่อมล้ำในสังคม การยึดครอง ความตึงเครียด และสงคราม \n\nหน่อที่ฝังอยู่ในความรู้สึกเราลึกๆ เช่น ฉันมีไม่พอ เก่งไม่พอ ดีไม่พอ ก็อาจมีรากมาตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักสะสม พอสะสมได้เราก็เปรียบเทียบกันหนัก ทำให้เราไม่พอใจเพราะ 'มีน้อยกว่า' ไม่ใช่ 'มีไม่พอความจำเป็น' ซึ่งต่างกัน\n\nซุสแมนพูดไว้แค่เรื่องเกษตร ที่เหลือผมขอชวนกันคิดต่อดู ความเหนื่อยในโลกการทำงานทุกวันนี้กลายเป็นโจทย์ให้เราต้องมาขบกันว่าจะสร้างสมดุลชีวิต-การงานอย่างไร (work-life balance) ซึ่งเป็นคำแปลก เพราะก่อนหน้านี้ 'งาน' คือส่วนหนึ่งของ 'ชีวิต' ไม่ได้แยกขาดจากกัน แปลว่า 'งาน' ถูกแยกขาดจากชีวิตไปเรียบร้อย เพราะในงานนั้นไม่มีมีครอบครัว ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคม มีแต่การใส่พลังลงไปแลกรายได้กลับมา เพื่อผลิตอะไรบางอย่างที่เราเองอาจไม่ได้ต้องการมัน\n\nมองด้วยสายตาบรรพบุรุษ มนุษย์ยุคใหมก็เพี้ยนกันมาไกล แถมการผลิตมากมายเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาซึ่ง 'ชีวิตเป็นสุข' มากกว่าเดิม เราเหนื่อยขึ้น เครียดขึ้น ขัดแย้งมากขึ้น รักน้อยลง มีน้ำใจน้อยลง กระทั่ง มั่นคงในใจน้อยลง บางคนอาจเถียงว่าเราอายุยืนขึ้น ก็จริง แต่ก็ใช้การแพทย์และยาประคองไว้ทั้งนั้น คำถามลึกกว่านั้นคือ อายุยืนขึ้นแต่มีความสุขระหว่างมีชีวิตหรือไม่?\n\nเราอยู่ในยุคสมัยที่ชวนให้ถามถึงสิ่งที่ 'มากกว่า' ตลอด ในกรอบคิด 'อีกๆๆ' ตลอดเวลา ไม่เหนื่อยสิแปลก วัฒนธรรมรอบตัวบอกกับเราว่าโลกกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า คนนั้นสำเร็จแบบนี้ คนนี้เก่งเรื่องโน้น ยังไม่ต้องวิ่งตามหรอก แค่ได้ยินก็เหนื่อยแล้ว\n\nโลกหมุนไปด้วยพลังความอยาก ซึ่งมีรากมาจากความเชื่อว่าเราต้อง 'สะสม' และคนที่สะสมได้มากจะมีชีวิตดีกว่าคนอื่น ซึ่งผมแอบคิดว่า ไม่จริงเสมอไป คนที่สะสมแบบเหมาะกับตนเอง ไม่ใช่ไร้ที่สิ้นสุด ถอนตัวออกจากลู่วิ่งไล่ชับชนะได้ และรู้ว่าประมาณนี้ก็มีชีวิตที่รอดปลอดภัยแล้ว ต่างหากล่ะที่จะมีชีวิตที่ดี, ไม่ได้วัดกันที่ใครสะสมได้มากกว่า\n\nโลกที่ล่อลวงให้เราอยากมีมากขึ้น พัฒนาไปให้ไกลที่สุดนั้นเป็นโลกแห่งความต้องการเกินจำเป็น ปัจเจกก็อยากได้เกินจำเป็น องค์กรก็แข่งเกินจำเป็น สังคมก็ผลิตและบริโภคเกินจำเป็น ทรัพยากรโลกถูกใช้เกินจำเป็น--สุดท้ายกลายเป็นโลกป่วยที่บรรจุคนป่วยๆ เอาไว้เต็มโลก\n\nผู้คนเหนื่อยล้า ไม่รู้จะเหนื่อยไปทำไม แต่ก็ไม่รู้จะหยุดยังไง ในเมื่อโลกยังหมุนปั่นไปด้วยความเร็วที่มากขึ้นทุกวัน\n\nย้อนกลับไปหาปัญญาจากบรรพบุรุษ ผู้ที่นั่งๆ นอนๆ ใช้ชีวิตเหมือนสัตว์ป่าที่ชีวิตมิได้เท่ากับการทำงานๆๆๆๆๆๆ แต่มีมิติกว้างขวางกว่านั้น เหตุใดชีวิตเช่นนั้นจึงเกิดขึ้นได้? คำตอบคือ เพราะพวกเขาไม่สะสมด้วยความรู้สึกหวั่นวิตกว่าจะขาดแคลน ที่จริงตรงนี้ซับซ้อนสักนิด ที่ไม่รู้สึกขาดแคลนอาจเป็นเพราะความเป็นชุมชนโอบอุ้มเขาไว้ วันใดล่ากระต่ายไม่ได้ เขาสามารถไปขอกินกวางจากบ้านข้างๆ ที่เคยได้รับกระต่ายจากเขาไปเมื่อวานนี้ อีกอย่าง ทัศนคติเรื่องความตายของพวกเขาอาจเป็นเรื่องธรรมชาติมากกว่าคนสมัยใหม่\n\nหากเราดำเนินชีวิตด้วย mindset ของผู้ขาดแคลน ย่อมทำให้ต้องสะสมอีกและอีกและอีก เท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะเพดานไม่ใช่ 'ความจำเป็น' หากคือ 'ความต้องการ' ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด และโลกก็ผลิตข้าวของมาบำเรอเราอย่างไร้ที่สิ้นสุดเช่นกัน\n\nผลิตกระตุ้นความต้องการ\nบริโภคแล้วก็กระตุ้นความต้องการต่อไป\nจึงต้องทำงานให้ได้เงินมาบริโภค\nผู้คนจึงเหนื่อยเพราะต้องสะสม\nสะสมเพื่อบริโภคสิ่งต้องการ (ซึ่งอาจไม่จำเป็น)\n\nแน่นอน เรามาไกลเกินกว่าจะบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไปอยู่กินแบบบรรพบุรุษสิ ผมว่านั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือหากมองย้อนเส้นประวัติศาสตร์แล้วเห็นทางแยกของ 'นิสัยสะสม' ที่กระตุ้นความรู้สึก 'ขาดแคลน' หรือ 'มีไม่เคยพอ' ของมนุษย์ เราสามารถบริหารจัดการความต้องการที่แท้กับความต้องการที่ล้นของตัวเองได้อย่างไร เพื่อให้เราไม่ต้องเหนื่อยกับการไล่ล่าทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนคนมีกวางอยู่ที่บ้านหนึ่งตัวแล้วไม่หลับไม่นอนเพื่อล่าม้าลายมาอีกฝูงใหญ่ สุดท้ายก็เส้นเลือดในสมองแตกเพราะล่าม้าลายตัวที่สิบไม่สำเร็จ\n\nถอยมาดูไกลๆ ช่วงวิ่งไล่อะไรมากๆ ผมรู้สึกเหมือนกันนะว่าผมนี่ก็คนบ้าคนนึง โลกทำให้เราบ้า วัฒนธรรมสะสมทำให้เราป่วย และวงจรในโลกผลิต-บริโภคทำให้เราเหนื่อยโดยไร้คำตอบให้ตัวเอง\n\nเราเคยมีความสุขง่ายกว่านี้ ตอนที่ชีวิตยังไม่อยู่ในหมวดสะสมแบบไร้ขีดจำกัด ขณะนี้เทคโนโลยีวิ่งเร็วขึ้นไปอีก มันกระตุ้นให้เราวิ่งให้ทันมันตลอด คำถามสำคัญไม่ใช่ \"ทำยังไงเราจึงวิ่งทัน\" ผมว่าคำถามสำคัญคือ \"เราต้องวิ่งแค่ไหน\" ซึ่งสิ่งที่ช่วยตอบได้คือ \"วิ่งในสปีดที่พอดีกับชีวิตเรา\" ในแบบที่ยังจับกระต่ายได้ ไม่ต้องล่าม้าลายมาทั้งฝูง หรือหมดทุ่ง\n\nเราต้องการกระต่ายเพื่อมีชีวิต แต่ถูกล่อลวงตลอดว่าแค่นั้นไม่พอ บ่อยเข้ามันกลายเป็นความเชื่อฝังหัวว่า ไม่พอหรอก ไม่พอ แกต้องหามาอีกและอีก แกต้องออกไปล่าอีกและอีก \n\nแน่นอน กระต่ายวันต่อวันนั้นไม่พอ แต่ทักษะที่เพียงพอในการล่า และชุมชนที่เกื้อกูลกันย่อมช่วยได้ โลกทุกวันนี้มีคนล่าม้าลายได้ทั้งฝูงแต่ไม่ยอมแบ่งแม้แต่ท่อนขาเล็กๆ ให้คนอื่นกิน เขาย่อมรู้สึกอันตราย เพราะรอบตัวหาใช่มิตร หากคือคนที่จ้องเล่นงาน\n\nการมีมากไม่ได้เท่ากับความสุข การมีน้อยไม่ได้แปลว่าสุขน้อยกว่า\n\nสุขคือรู้ว่าความจำเป็นคืออะไร ไม่เหนื่อยเกินจำเป็น เพิ่มทักษะให้ทันกระต่ายที่ต้องล่า และรู้ว่าม้าลายที่มากเกินนั้นเป็นทุกข์มากกว่าสุข เป็นความรู้สึกขาดแคลนมากกว่ามั่งคั่ง\n\nที่เขียนมาไม่ใช่คำตอบสากล ไม่ใช่ข้อเสนอที่หยิบยื่นให้คนอื่นหรอกครับ เป็นสิ่งที่ผมทบทวนตัวเองเพื่อมีชีวิตที่กำลังดี มีความสุข ได้พักผ่อน ไม่บ้าไปกับโลก และไม่รบกวนทรัพยากรโลกจนเกินพอดี\n\nผมว่าเรามีความสุขได้โดยไม่ต้องเอามาทั้งหมดหรือมีมากกว่าใคร ความสุขเกิดขึ้นเมื่อรู้ว่าอะไรจำเป็น อะไรนอกเหนือความจำเป็น ส่วนนอกเหนือความจำเป็นมักเกิดจากเสียงขับกล่อมกรอกหูของคนอื่น\n\nสิ่งจำเป็นมักเบากว่า มันกระซิบอยู่ข้างในใจเรา\n\n#นิ้วกลมบันทึก\nCredit round finger",
"sig": "1fe190e832e1b32ef0494a925bf86a37edb49f900d10c5e48df3c8847d6e553bf267d03bbff218415fbfc1cbd609ed52b15181d9d5bf1df20d85755473bdbc4a"
}