เพลงอกหักที่บอกความเป็นคนในพื้นถิ่นสุดๆ
“ช้ำรักจากอุบล“
ในบริบทของเนื้อเพลงจะร้องเป็นภาษาอีสาน โดยใช้รากศัพท์สไตล์จังหวัดยโสธร
โดยเปรียบเปรยบริบทความรักของหนุ่ม เมืองยโสธร ที่คบหากับสาวเมืองอุบล
โดยคำชมคำเปรียบเปรยให้ฝ่ายหญิงรู้สึกเหมือนที่สัญลักษณ์เมืองอุบล คือดวกบัว
ความงดงามผ่านความทรงจำและสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น สวนพญาแถน(ยโสธร) ช่วงเดือน 6 บุญบั้งไฟ ที่คนอีสานมีความเชื่อร่วมกันคือพญาแถน(ไว้จะมาเล่าเรื่องนี้) ที่จะนำเอาความร่มเย็นมาให้พื้นที่ ที่แห้งแล้ง (แต่น้ำท่วมทุกปีกุก็งง)
ท่าเดื่อ-หาดคูเดื่อ(เส้นทางแม่น้ำมูลตัดอำเภอเมืองอุบล) รวมถึง หาดสวนยาก็เช่นกัน เพียงแต่จุดตัดของภูมิศาสตร์อยู่ ตัวอำเภอเมือง และ อำเภอวารินทร์ มีแม่น้ำมูลกันกลาง (เอาความจริงตัวอำเภอกับจังหวัดห่างกันไม่ถึงสองโลด้วยซ้ำ)
โดยเหตุการณ์ตามเนื้อเพลง คือตัวพระเอกนั้นนัดเจอแม่สาวเมืองดอกบัวในเทศกาลแห่เทียน พรรษา แต่ไม่พบ
(ประเพณีแห่เทียน คือประเพณีร่วมกับศาสนา พุทธศาสนากับประเพณีท้องถิ่นไทย โดยมีความเชื่อดั้งเดิมคือความเจริญทางศาสนาและประเพณีจะเป็นจุดสูงสุดของอาณาเขตนั้นๆ)
การพร่ำเพ้อว่าลืมของพระเอกบ่งบอก สังคมของคนพื้นถิ่น โดยคำว่าพี่ชาย หมายถีง somebody ที่อยู่ ณ เวลานั้นกับเหตุการณ์กับพวกเค้า คนอีสานเปรียบเหมือนพี่และน้อง
แก่งสะพือในเนื้อเพลงคือสถานที่ที่อยู่ อ.พิบูลฯ ที่กล่าวไปเป็นจุดเชื่อมและจุดที่ชาวบ้านไปทำมาหากินกัน ก่อนจะเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ดูโขงซีมูล เชื่อมมูลสีคราม ประโยคนี้เอ่ยถึงจังหวัดอุบล ที่เป็นจุดตัดระหว่างแม่น้ำสามสาย คือ โขง , ชี , มูล โดยแม่น้ำมูล จะไหลจากนครราชสีมาอีสานใต้ ส่วนชีจะไหลจากอีสานเหนือ มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำโขง
จนพ้นพรรษาแข่งเรือ คือ เทศกาลออกพรรษา ซึ่งจะมีประเพณีไหลเรือยาวแข่งกัน ในแทบทุกจังหวัดของอีสานใต้
กลับมายโสมานั่งโศกาอยู่นาทาม
นาทามคืออำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดที่เฉียงขึ้นไปของ ยโสธรและอุบลราชธานี โดยนาทามเหมือนจะมีพื้นถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดยโสธรมากกว่า ตามบริบทของเนื้อเพลง
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบทเพลงที่ไพเราะมากๆ
#siamstr #siamstrOG #musicstr
https://youtu.be/UCg6wiIwWNU?si=qUhpzzDDeJMQtDNZ