*แก้ไข เมื่อกี๊ก๊อปหลุดไปสองย่อหน้า**โน้ตคุณลิน อัลเดน ที่แปลโดย Tum ⚡🟧 (npub1pry…2xcv)
*Nostr edit post ไม่ได้สินะ***
เมื่อปริมาณอุปทานเงินเพิ่มสูงขึ้นด้วยเงินเฟ้อ ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หากอัดตราคาจ้างไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ภาระหน้าที่ในการต่อรองขอขึ้นค่าจ้างเพียงเพื่อจะไล่ให้ทันอัตราเงินเฟ้อกลับตกเป็นของผู้รับจ้าง
ผลของมันอาจไม่ได้เห็นได้ชัดนักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (ลินเขียนผิดมั๊ง) ที่เงินเฟ้อขึ้นเพียงปีละไม่กี่ % แต่มันก็เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นอยู่เบื้องหลังอยู่ตลอดเวลา ผู้คนมักจำเป็นต้องย้ายงานเพื่อที่จะได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการยึดติดระดับราคาค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างเดิม ทั้งหมดนี้ก็เนื่องมาจากเงินเฟียตที่ค่อย ๆ เสื่อมค่าลงเรื่อย ๆ
ปัญหาดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
ยกตัวอย่างกรณีที่ IMF บอกอียิปต์ให้ลดค่าเงินลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับดอลลาร์เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางสินเชื่อ ซึ่งรัฐบาลอียิปต์ก็ได้ทำเช่นนั้น ในตอนนี้ผู้รับจ้างชาวอียิปต์จำเป็นต้องพยายามต่อรองขอขึ้นค่าจ้าง เพื่อที่จะพยายามทวงคืนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยสากลของรายได้ที่หายไป โดยพวกเขาแทบไม่มีทางประสบความสำเร็จเลยแม้แต่คนเดียว และเจ็ดปีหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว พวกเขาก็ทำแบบเดิมซ้ำอีกครั้ง
แต่เมื่ออุปทานของเงินหดตัวลง ส่งผลให้หน่วยวัดมูลค่าของเงินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้รับค่าจ้างจะกลับกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในการต่อรอง หากเงินเดือนของพวกเขาคงที่อยู่ที่ระดับเดิมในขณะที่ราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการต่าง ๆ ลดลง มันก็จะเหมือนกับว่าพวกเขาได้รับการขึ้นเงินเดือน (ซึ่งมันก็สมเหตุสมผล เพราะพวกเขามีประสบการณ์การทำงานมากขึ้น)
ภาระในการต่อรองค่าจ้างก็จะตกเป็นของผู้ว่าจ้าง ที่จะต้องหาเหตุผลมาโต้แย้งว่าค่าแรงควรจะลดลงตามราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ
ฉันคิดว่ายังมีน้อยคนที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งนี้ ถ้าหากผู้คนเข้าใจมันมากขึ้น ฉันคิดว่ากลุ่มผู้สนับสนุนแนวคิดทางการเมืองที่ให้ความสำคัญกับแรงงาน จะเริ่มหันมาให้ความสนใจเงินสร้างยากอันแข็งแกร่งมากขึ้นไม่มากก็น้อย
nevent1q…2ww2
(50% ของยอด Zap จะถูกแบ่งให้เจ้าของโน้ตโดยอัตโนมัติ)
#Siamstr #SiamesBicoiners