Why Nostr? What is Njump?
2025-02-10 13:15:45

Rin tongob on Nostr: @Gookk ...

@Gookk

ภาษาอังกฤษไม่ใช่วิชา แต่คือ skill
เรื่องของวิธีการเรียนรู้ก็เป็นเรื่องสำคัญนะ
.
เราได้มีโอกาสฟัง session “Beyond the Classroom เทคนิคการสอน สร้างการเรียนรู้” ของครูคะน้า ผ่องพิสุทธิ์ จงอุดมสุข, Content Creator ฝรั่งอั่งม้อ Farang Angmor ใน “TUXSA Open house 2025 เปลี่ยนอนาคตสู่ความสำเร็จด้วย TUXSA”


4 อย่างที่สังเกตได้ชัดมาก ๆ ในยุค AI ในเรื่องของการเรียนรู้

🔴 One size fits all VS Personalized Learning
model การศึกษาแบบเดิม ที่เป็น one size fits มีข้อจำกัด คือ ทุกคนเรียนเหมือนกันหมด และถูกทดสอบเหมือนกันหมด มี challenge คือคนเราต่างกัน เป้าหมายต่าง สไตล์ต่าง ๆ ความเร็วในการเรียนรู้ต่างกัน
ดังนั้นเทคโนโลยีที่เข้ามา ทำให้สามารถปรับการเรียนรู้ในแต่ละคนได้ ด้วย tool ต่าง ๆ จึงเกิด personalized learning นั่นเอง


🔴 Technology as a basic necessity
ทุกคนใช้ technology เป็นอวัยวะที่ 33 เป็น basic necessity ไปแล้ว การที่คนมี digital device ทำให้ไปได้ไกล ถ้าคนไม่ได้ใช้ หรือปรับตัวไม่ทัน เช่น คนสอน หรือคนเข้าไม่ถึง จะมีการแบ่งกลุ่ม และเริ่มมี gap ค่อย ๆ ห่างไปเรื่อย ๆ

แล้ว AI เก่งขึ้นเรื่อย ๆ เราต้องป้องกันการใช้ด้วยหรือไม่

🔴 Multichannel approach
การเรียนที่ดีที่สุด ไม่ต้องถกเถียงว่าอะไรดี ดีที่สุดคือหลาย ๆ วิธีมารวมกัน หลายองค์กรเลือกเป็น hybrid learning มีทั้ง online onsite workshop community ใด ๆ การเรียนรู้ที่แตกต่าง เพื่อปิด gap


🔴 Contextualized learning
ในกลุ่มคนทำงาน สิ่งที่น่าใจคือ การเรียนรู้ว่าเราเรียนไปทำไม เรียนแล้วใช้เมื่อไหร่ เกี่ยวกับชีวิตยังไง reflex กันมันยังไง (ถ้ากึ่ง ๆ นอกเรื่องหน่อย เช่น เราเรียนกระบี่กระบองตอนมัธยมไปทำไม 🤣)
เอา learning ให้เหมาะกับ context การใช้งานในแต่ละคน และ focus ที่จุดนั้น เรียนรู้จากบริบทในการใช้งานจริง
.
แล้วคุณคะน้าสอนแบบไหน?

เป็นการสอนที่ช่วยให้คนเรียนมีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี และมี skill ที่มากขึ้น


🔴 English as a Skill vs Subject
เน้นมุมมองว่าภาษาอังกฤษเป็น skill มากกว่าวิชา
ความคล่องในการใช้ภาษา กับ ความถูกต้องในการใช้ภาษา
แบบ traditional ที่เราได้เรียน ๆ กันตั้งแต่เด็กเน้นความถูกต้องในการใช้ภาษา

แล้วทำยังไงให้เรียนภาษาให้มีความคล่องเพื่อสื่อสารได้ในชีวิตจริง ดังนั้นจึง focus พัฒนาการของทักษะนั้น ๆ ไม่ได้เป๊ะแต่สื่อสารได้

🔴 How to Learn vs What to Learn
วิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน ผลลัพธ์ต่างกันมหาศาล
เช่น ใช้เวลาเรียน 4 ชั่วโมงเหมือนกัน แต่คนที่เรียนรวดเดียว แปปนึงหาย ดังนั้นการแบ่งความถี่มีผลกับ long-term memory ได้มากกว่า



และปรับวิธีการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นทำเป็นคลิปสั้น ๆ


🔴 Leveraging AI & Technology
เอา AI หรือเอา tool ดี ๆ มาใช้ ทำให้คนเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น เอานำมาใช้ในทุก ๆ โปรแกรมที่สอน

🔴 Informal Learning
การเรียนในห้องเรียนไม่ถี่พอให้เกิดทักษะได้จริง สร้างให้คนมี informal learning

การทำอะไรที่สนุก ทำสัก 5 - 10 นาที เข้าไปในชีวิตประจำวันมากขึ้น


🔴 Formative VS Summative Assessment
ทำยังไงให้มัน work?

ภาษาวัดไม่ได้ เพราะเป็นทักษะ formative assessment วัดผลเพื่อต่อยอดในการเรียนรู้ ว่าใช้ได้จริงมากน้อยแค่ไหน

มีการ assign personal project เช่น เรียนแล้วมา present เอาสิ่งที่เรียนมาใช้ ประเมินว่ามัน work ไหม
.
ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตขนาดนี้ ในเมื่อต่อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมซะเลย เพราะ tool พวกนี้เข้ามาเปลี่ยนวงการการศึกษา ทำให้มีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัญหาของคนเรียน มีมากมาย เช่น สื่อสารไม่คล่อง ติดแปลไทย กลัวผิดไม่มั่นใจ เรียงประโยคไม่ถูก นึกคำไม่ออก ซึ่งปัญหาทั้งหมดเกิดจาก ไม่ได้ฝึกใช้มากพอ เช่นเป็นคู่สนทนาให้คนเรียน แต่ต้องมีครูเยอะมาก ๆ แล้วจำนวนครูก็ไม่พออีกด้วย


ดังนั้นจึงใช้ AI เป็นครูส่วนตัว ในการช่วยเราในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นคนปรับแก้, คนตรวจ grammar, coach ในการสื่อสาร, นักแปล และอีกมากมาย

โดยเน้นเข้ามาช่วย 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
🔴 Skills Development การเรียนรู้และพัฒนาทักษะ
กระตุ้นการสร้าง skill มี practice มากขึ้น ปรับการวางแผนการเรียนในแต่ละบุคคล และมี tool ช่วยลดกำแพง ซึ่งกำแพงที่ว่า คือ เราต้องเก่งตอนนี้เลย ซึ่งเราไม่ต้องรอให้เก่งพออีกต่อไปแล้ว
- ใช้ AI มา personalize learning path มีแอพมากมายให้เลือก อย่าง Duolingo, ELSA speak, Loora, Lingvist, Cake
- กระตุ้น practice โดยการฝึกพูดกับ ChatGPT
- ฝึกฟังผ่าน Otter.ai ลดปัญหาฟังไม่ทัน มันจะฟังเสียง meeting แล้วแสดง subtitle ให้เราอ่าน
- ฝึกพูดผ่าน Speechify เป็น AI แบบ text-to-speech ทำให้เราเตรียม present ได้ เลือกคนที่เราอยากเรียนรู้และพูดตามได้เลย
- การอ่านก็มีเช่นกัน เป็น Humata.ai ที่เราสามารถโยน pdf แล้วถามคำถาม ทำให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ง่ายมากขึ้น
- tool แก้ไวยากรณ์ยอดฮิต หนีไม่พ้น Grammarly และอีก tool ที่ช่วยในเรื่องของการเขียนก็คือ paperpal.com

🔴 Work Efficiency การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ในส่วนของการสอน ทำให้เกิด engagement รวมไปถึงความบันเทิง
- Ice-breaking tool: มี Slido ที่สร้างพวก poll, quiz, word cloud และอื่น ๆ และอีกตัวนึงคือ Mentimeter
- Quiz / Game tool: มี Quizizz, Kahoot
- Brainstorming tool: Miro กับ Padlet
- เพิ่มสีสันด้วย memes และ gifs จากสองเจ้าดังอย่าง Tenor และ Giphy
- สำหรับคนที่ใช้ Canva เขามี AI tool ชื่อว่า magic media สามารถสร้างรูปและวิดีโอที่เราต้องการ ใส่ slide ได้เลยยยย
.
Wrap-up
คนเรียน: เรียนในสิ่งที่ไว้ใช้ ใช้ในสิ่งที่เรียน
คนสอน: สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้
#siamstr
Author Public Key
npub12h0j00lm52zhek4lz5ca7yph7ryj6n6lzqhd5fkaqjvrk9uvsn4qg6kdez