Libertarian.realpolitik on Nostr: ตัวเต็มใน Facebook ...
ตัวเต็มใน Facebook
หลักการที่ไม่ยืดหยุ่นนั้นกินไม่ได้
.
การอ้างหลักการที่อยู่บนพื้นฐานศีลธรรม อุดมการณ์ทางการเมืองหรืออะไรก็ตามเป็นเพียงการอ้างเปล่าเพื่อแสวงหาการได้มาซึ่งอำนาจเท่านั้น (Any Principle or Ideology is Downstream of Justification for Power and the Action of Power)
.
ดังนั้นการที่ช่วงนี้เราจะเห็นฝ่ายการเมืองไหนก็ตามที่อ้างเรื่องหลักการหรือศีลธรรมล้วนแล้วต้องการความคงเส้นคงวาในเป้าหมายที่ต้องการ (อำนาจ) แต่ทว่าความคงเส้นคงวานั้นไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด มันจำเป็นต้องยืดหยุ่นและหักดิบได้ตลอดเวลา ทำให้แนวคิดทางการเมืองแบบยึดในหลักการไม่สามารถนำมา "รับประทาน" ได้เราเรียกแบบนี้ว่า consistency principle ตรงกันข้ามกับแนวคิดทางการเมืองที่ยืดหยุ่นปรับตัวตามสถานการณ์ ถ้าหากประชาชนต้องการแก้ไขปัญหาปากท้อง ค่าไฟ ค่าครองชีพการปรับตัวเข้าตามสถานการณ์คือ ต้องพิจารณาลำดับความสำคัญแบบ a ไป b (priority) ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลมันไม่ค่อยวางอยู่บนหลักการทางศีลธรรม หรือ อุดมการณ์อะไรมากนัก (แต่ก็ไม่ได้ทิ้งไปเสียทั้งหมด) เราเรียกแบบนี้ว่า realpolitik คนธรรมดาทั่วไปจะนำมันมา “รับประทาน” ได้เพราะมันลงมือปฏิบัติจริง แต่วิธีการและผลลัพธ์จะเป็นยังไงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญในประเด็นก็คือ ความยืดหยุ่นในหลักการที่จะรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่ใช่การยึดมั่นอย่างคงเส้นคงวาที่จะไม่ยอมทำอะไรเลย
.
วาทกรรมที่ว่าจะต้อง "ยึดมั่นในหลักการ" แท้จริงคือ ความต้องการสถาปนาหลักการทางศีลธรรมใหม่ในสังคม คำถามคือมีอะไรต่างจากเก่าหรือไม่? ความแตกต่างอาจปรากฏให้เห็นแค่ (i).รูปร่างหน้าตาของผู้ปกครอง; (ii).วิธีการของผู้ปกครองที่จะปกครอง (อุดมการณ์, ความยืดหยุ่นของการบริหารจัดการ, แนวทางนโยบาย, etc.) แต่โดยรวมสังคมก็ต้องก็ต้องแบ่งแยกระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองอยู่ดี (สังคมจะต้องมีคนส่วนน้อยปกครองเสมอ, เมื่อชนชั้นนำเดิมถูกล้มหรือปล่อยว่างก็จะนำมาซึ่งชนชั้นนำใหม่เสมอ, ผู้ปกครองส่วนน้อยย่อมมีเอกภาพมากกว่ามวลชนที่ไร้เอกภาพ) ถึงใครจะโฆษณาความเท่าเทียมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองผ่านการทำรัฐสวัสดิการ แก้หนี้ต่าง ๆ แค่ไหน สุดท้ายแล้วความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี ( “ธรรมชาติของมนุษย์” ) แม้แต่ความเป็นธรรมที่รัฐจะให้นั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นจากการขยายอำนาจรัฐให้ตรวจสอบหรือควบคุมได้ทั้งหมดอย่างเท่ากัน แต่เกิดจากระบบถ่วงดุลที่แข็งขันและทำให้รัฐมีอำนาจจำกัด กล่าวได้ว่าการประโคมข่าว การสร้างผลงานวิชาการ หรืออะไรต่ออะไรที่เป็นการปั้นน้ำให้เป็นตัว ปั้นคำพูดสวยหรูก็เป็นเพียงแค่ "การหลอกลวง" เพื่อชวนเชื่อให้มวลชนที่ไม่มีเอกภาพเป็นเครื่องมือเท่านั้น
.
ประเทศเราจะเจริญได้นั้นมันไม่ได้เกิดจากประชาธิปไตย ไม่ได้เกิดจากรัฐสวัสดิการ ไม่ได้เกิดจากการทำให้เป็นสังคมนิยม แต่เกิดจากการที่คนเรามีเสรีภาพอย่างมีขอบเขตที่เป็นสารตั้งต้นของความเจริญรุ่งเรืองต่อคนและประเทศชาติ เรามีกินมีใช้ได้ก็เพราะเราผลิตและแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรามีกับคนอื่นเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า "ตลาด" หรือ การที่เรามีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันและมาพร้อมกับอัตลักษณ์ความแตกต่างของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันก็เป็นผลมาจากการที่เรามี "วัฒนธรรม" สิ่งเหล่านี้มันสามารถทำให้ประเทศและคนมันเดินต่อไปได้ มันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความฝันที่จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เกิดจาก "การรับประทาน" หลักการที่เชื่อมั่นอย่างคงเส้นคงวา โดยเฉพาะยึดมั่นในหลักการอย่างรัฐสวัสดิการ ประชาธิปไตย หรือ สังคมนิยมมันไม่ได้ทำให้คนอิ่มท้องได้เพราะรัฐ “ต้อง” ให้อะไรแม้แต่น้อย แต่มาจากคน “ทำ” อะไรที่สร้างคุณค่าแก่ตัวเองและเพื่อให้ตัวเองอิ่มท้องต่างหาก
.
บรรณานุกรม
Agent, Academic. “59 Theses.” 59 Theses - by Academic Agent, The Forbidden Texts, 16 Nov. 2022, forbiddentexts.substack.com/p/59-theses?utm_source=profile&utm_medium=reader2.
Published at
2023-08-25 13:41:08Event JSON
{
"id": "3d071fa6aebbf0112cd6d769559d65f39476e26f0ab50d2d6a9d4b87328d04ed",
"pubkey": "3f930d5f05b2bb0c962ca56e5008d110a831ddd8395105c9b932c2317cd8ce4b",
"created_at": 1692970868,
"kind": 1,
"tags": [],
"content": "ตัวเต็มใน Facebook\n\n\nหลักการที่ไม่ยืดหยุ่นนั้นกินไม่ได้\n\n.\nการอ้างหลักการที่อยู่บนพื้นฐานศีลธรรม อุดมการณ์ทางการเมืองหรืออะไรก็ตามเป็นเพียงการอ้างเปล่าเพื่อแสวงหาการได้มาซึ่งอำนาจเท่านั้น (Any Principle or Ideology is Downstream of Justification for Power and the Action of Power) \n\n.\nดังนั้นการที่ช่วงนี้เราจะเห็นฝ่ายการเมืองไหนก็ตามที่อ้างเรื่องหลักการหรือศีลธรรมล้วนแล้วต้องการความคงเส้นคงวาในเป้าหมายที่ต้องการ (อำนาจ) แต่ทว่าความคงเส้นคงวานั้นไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด มันจำเป็นต้องยืดหยุ่นและหักดิบได้ตลอดเวลา ทำให้แนวคิดทางการเมืองแบบยึดในหลักการไม่สามารถนำมา \"รับประทาน\" ได้เราเรียกแบบนี้ว่า consistency principle ตรงกันข้ามกับแนวคิดทางการเมืองที่ยืดหยุ่นปรับตัวตามสถานการณ์ ถ้าหากประชาชนต้องการแก้ไขปัญหาปากท้อง ค่าไฟ ค่าครองชีพการปรับตัวเข้าตามสถานการณ์คือ ต้องพิจารณาลำดับความสำคัญแบบ a ไป b (priority) ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลมันไม่ค่อยวางอยู่บนหลักการทางศีลธรรม หรือ อุดมการณ์อะไรมากนัก (แต่ก็ไม่ได้ทิ้งไปเสียทั้งหมด) เราเรียกแบบนี้ว่า realpolitik คนธรรมดาทั่วไปจะนำมันมา “รับประทาน” ได้เพราะมันลงมือปฏิบัติจริง แต่วิธีการและผลลัพธ์จะเป็นยังไงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญในประเด็นก็คือ ความยืดหยุ่นในหลักการที่จะรับมือกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่ใช่การยึดมั่นอย่างคงเส้นคงวาที่จะไม่ยอมทำอะไรเลย\n\n.\nวาทกรรมที่ว่าจะต้อง \"ยึดมั่นในหลักการ\" แท้จริงคือ ความต้องการสถาปนาหลักการทางศีลธรรมใหม่ในสังคม คำถามคือมีอะไรต่างจากเก่าหรือไม่? ความแตกต่างอาจปรากฏให้เห็นแค่ (i).รูปร่างหน้าตาของผู้ปกครอง; (ii).วิธีการของผู้ปกครองที่จะปกครอง (อุดมการณ์, ความยืดหยุ่นของการบริหารจัดการ, แนวทางนโยบาย, etc.) แต่โดยรวมสังคมก็ต้องก็ต้องแบ่งแยกระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองอยู่ดี (สังคมจะต้องมีคนส่วนน้อยปกครองเสมอ, เมื่อชนชั้นนำเดิมถูกล้มหรือปล่อยว่างก็จะนำมาซึ่งชนชั้นนำใหม่เสมอ, ผู้ปกครองส่วนน้อยย่อมมีเอกภาพมากกว่ามวลชนที่ไร้เอกภาพ) ถึงใครจะโฆษณาความเท่าเทียมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองผ่านการทำรัฐสวัสดิการ แก้หนี้ต่าง ๆ แค่ไหน สุดท้ายแล้วความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี ( “ธรรมชาติของมนุษย์” ) แม้แต่ความเป็นธรรมที่รัฐจะให้นั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นจากการขยายอำนาจรัฐให้ตรวจสอบหรือควบคุมได้ทั้งหมดอย่างเท่ากัน แต่เกิดจากระบบถ่วงดุลที่แข็งขันและทำให้รัฐมีอำนาจจำกัด กล่าวได้ว่าการประโคมข่าว การสร้างผลงานวิชาการ หรืออะไรต่ออะไรที่เป็นการปั้นน้ำให้เป็นตัว ปั้นคำพูดสวยหรูก็เป็นเพียงแค่ \"การหลอกลวง\" เพื่อชวนเชื่อให้มวลชนที่ไม่มีเอกภาพเป็นเครื่องมือเท่านั้น\n\n.\nประเทศเราจะเจริญได้นั้นมันไม่ได้เกิดจากประชาธิปไตย ไม่ได้เกิดจากรัฐสวัสดิการ ไม่ได้เกิดจากการทำให้เป็นสังคมนิยม แต่เกิดจากการที่คนเรามีเสรีภาพอย่างมีขอบเขตที่เป็นสารตั้งต้นของความเจริญรุ่งเรืองต่อคนและประเทศชาติ เรามีกินมีใช้ได้ก็เพราะเราผลิตและแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรามีกับคนอื่นเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า \"ตลาด\" หรือ การที่เรามีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันและมาพร้อมกับอัตลักษณ์ความแตกต่างของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันก็เป็นผลมาจากการที่เรามี \"วัฒนธรรม\" สิ่งเหล่านี้มันสามารถทำให้ประเทศและคนมันเดินต่อไปได้ มันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความฝันที่จะเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน สิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เกิดจาก \"การรับประทาน\" หลักการที่เชื่อมั่นอย่างคงเส้นคงวา โดยเฉพาะยึดมั่นในหลักการอย่างรัฐสวัสดิการ ประชาธิปไตย หรือ สังคมนิยมมันไม่ได้ทำให้คนอิ่มท้องได้เพราะรัฐ “ต้อง” ให้อะไรแม้แต่น้อย แต่มาจากคน “ทำ” อะไรที่สร้างคุณค่าแก่ตัวเองและเพื่อให้ตัวเองอิ่มท้องต่างหาก\n\n.\nบรรณานุกรม\n\nAgent, Academic. “59 Theses.” 59 Theses - by Academic Agent, The Forbidden Texts, 16 Nov. 2022, forbiddentexts.substack.com/p/59-theses?utm_source=profile\u0026amp;utm_medium=reader2.\n\nhttps://nostrcheck.me/media/public/nostrcheck.me_4207183536299906721692970863.webp ",
"sig": "c58a56ced084ba2d29942a43ea15aa53d870a9a250047bd634e386da54e0de44211632db779cf41e2912a4799daaa3d9e2568ba3e7d58ba588304468c6465832"
}