Why Nostr? What is Njump?
2025-01-05 22:25:13

Andy Joe on Nostr: แบบจำลองยุคเริ่มแรก ในบทที่ 1 ...

แบบจำลองยุคเริ่มแรก

    ในบทที่ 1 ของหนังสือ The Money Formula เขียนถึงประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการทางด้าน เศรษฐศาสตร์และการเงิน รวมถึงจุดเริ่มต้นการสร้าง Model แบบจำลองทางการเงินที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสตร์ทางสาขาวิชาฟิสิกส์ โดยอธิบายผ่าน บุคคล 2 คนได้แก่ John Low และ Isaac Newton จอร์น ลอ เป็นนักพนันจากสกอตแลนด์ ซึ่งมีแนวคิดทางการเงิน ที่คิดว่าเงินไม่ควรยึดติดกับโลหะที่มีค่าอย่างทองคำ ใช่ช่วงที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคต ฝรั่งเศสมีหนี้มากมาย ลอร์ ซึ่งตอนนั้นประสบความสำเร็จกับอาชีพนักพนัน และอ้างว่าตนเองมีระบบที่ดี ได้เสนอตัวเองและสามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งขุนคลังโดยที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หวังว่าระบบการพนันของ ลอร์ จะช่วยให้สถานะการทางการคลังของประเทศดีขึ้น
    ลอร์ก่อตั้ง ธนาคารของรัฐชื่อ “Banque Ge’ne’rale” (บันเก เจเนอรอล) โดยใช้เงินของตนเอง ซึ่งธนาคารนี้สามารถออกเงินกระดาษที่สามารถแลกเป็นทองคำหรือโลหะเงินได้ ธนาคารประสบความสำเร็จอย่างมากเนื่องจาก ธนบัตรให้ความสะดวกแก่ผู้คนมากกว่าเหรียญ 2 ปีต่อมา เขาก็ก่อตั้งบริษัทมิสซิสซิปปี และผูกขาดทางการค้ากับลุยเซียน่า แล้วนำทั้งสองสิ่งมาเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยใบหุ้นของบริษัท มิสซิสซิปปี สามารถใช้เงินกระดาษของธนาคารของเขาซื้อได้ ต่อมามีการโอนธนาคารมาเป็นของรัฐเรียกว่า ธนาคารหลวง (Banque Royale) แล้วประกาศว่าเงินกระดาษที่ออกโดยธนาคารไม่สามารถแลกเป็นกระดาษได้อีก ส่งผลทำให้รัฐสามารถพิมพ์เงินเท่าไหร่ก็ได้ ผู้คนมากมายต่างเข้าไปมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจมหัศจรรย์นี้เพราะเงินถูกหมุนในระบบเศษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้เศรษฐกิจขยายตัว หุ้นของบริษัทเพิ่มจาก 500 ลีฟว์เป็นมากกว่า 10,000 ลีฟว์ ลอร์ จัดการให้บริษัทซื้อหนี้สาธารณะของรัฐ พร้อมกับการได้สิทธิในการจัดเก็บภาษี จึงต้องออกหุ้นเพิ่มทุนและพิมพ์เงินกระดาษจำนวนมากเพื่อซื้อหุ้น แต่สุดท้ายความเชื่อมั่นต่อเงินกระดาษก็ลดลงเนื่องจากข่าวลือ ว่าลุยเซียน่าไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้อีกต่อไป ราคาหุ้นบริษัทลดลงอย่างรวดเร็วและมูลค่าธนบัตรแทบเป็นศูนย์ ส่วน จอร์น ลอว์ ก็ต้องถูกขับออกจากประเทศฝรั่งเศสไปในที่สุด
    ในขณะที่ ลอว์ ทำให้คนฝรั่งเศสรู้จักผลประโยชน์ที่อันตรายอย่างเงินกระดาษ (Fiat Currencies) ไอเซ็ค นิวตัน ผู้อำนวยการโรงกษาปแห่งอังกฤษและมีชื่อเสียง้านฟิสิกส์ ได้ทำการเชื่อมเงินปอนด์เข้ากับมาตราฐานทองคำ และระบบนี้ก็ถูกใช้มายาวนานมากกว่า สองถึงสามร้อยปี ในขณะที่ ลอว์ สร้างเงินหลอกๆ(Fake Money) นิวตันก็ส่งผู้ที่ปลอมเงินไปประหาร ลอว์ และ นิวตันเป็นตัวแทนความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์และการเงินใน 2 แง่มุม นิวตัน ใช้การเงินเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Finance) ที่เป็นการใช้แบบจำลองที่มีวัตถุประสงค์และเป็นเหตุเป็นผล ส่วน ลอว์นั้นพยายามใช้ระบบเพื่อเอาชนะตลาด สร้างตลาดและนวัฒตกรรมทางการเงิน แม้นิวตันจะเป็นนักวิทยาศาสตร์แต่กลับมีส่วนสำคัญในการวางกรอบโลกของการเงินคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการมีอิทธพลทางความคิดไปยังสาขาสังคมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ หนึ่งในบุคคลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนิวตันคือ อดัม สมิธและแน่นอนว่า สมิธไม่ชอบวิธีการของ จอร์น ลอว์ เป็นอย่างมาก จากหนังสือและงานเขียนของ สมิธ อย่าง “The Walth Of Nations” งานเขียนของสมิธ ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของตลาดที่อธิบายด้วยกฏของอุปสงค์และอุปทาน แต่ไม่สามารถทำนายหรือพยากรณ์ราคาได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้เป็นทฤษฎีที่เป็นเชิงคุณภาพมากว่าเชิงปริมาณ นักเศรษฐศาสตร์ “นีโอคลาสสิค”รุ่นใหม่ปลายศตวรรษที่ 19 จึงปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบ “กลไกเชิงเป็นเหตุเป็นผล” เพื่อปูทางสู่การพัฒนาการเงินเชิงปริมาณ แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็ยังประสบปัญหาในการสร้างแบบจำลองในการคำนวน เนื่องจากพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงต้องสันนิษฐานว่ามนุษย์มีความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อที่ตลาดจะได้เข้าสู่จุดดุลยภาพ แต่ถึงอย่างไรตลาดโดยรวมก็ไร้ประสิทธิภาพและไม่มีเหตุผล แล้วสมุติฐานและสมการต่างๆจะถูกออกแบบให้เข้ากับตลาดที่โกลาหลได้อย่างไร 
    นี่เป็นสรุปจากบทแรกของหนังสือครับในเล่มมีรายละเอียดอีกมากไปหาอ่านกันได้นะครับ ในบทที่สองหนังสือจะกล่วงถึงวิธีการวิเคราะห์ราคาตลาดครับและแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะใช้วิธีการไหนก็ไม่สามารถพยากรณ์ตลาดให้ประสบความสำเร็จได้
#siamstr
Author Public Key
npub1m4dslkgqtu3jm2vld4q7dlahfwxr5s0k3zucfhzunumapmhj720qlrsgr6