## **ทุนที่มองไม่เห็น..**
ในระหว่างคลาสเรียนเศรษฐศาสตร์แม่งต้องง่ายของพี่ชิตเมื่อวันก่อน มีเรื่องนึงที่ทำให้ผมสนใจมาก คือเรื่อง Capital (ทุน) ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมองว่ามันคือ เงิน (Money) อย่างเดียว แต่เอาจริงๆ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ ทั้ง Capital goods และอื่นๆ อีกเพียบ
ที่ผมสะดุดใจสุดๆ คือ เรื่องการสะสมทุนที่เป็น **Reputation** เพราะผมรู้สึกว่าแทบไม่ค่อยมีใครเคยใส่ใจเรื่องนี้อย่างจริงๆ จังๆ ไม่เกิดขึ้นบน Philopsophy หรือ Practical ideology ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี ฉาบฉวย ชื่อเสียงยอดไลก์ปลอมๆ หรือการแสวงหาชื่อเสียงเพื่อตัวเองเพียงอย่างเดียว
ไม่ได้เป็นการค้นหาคุณค่าที่แท้จริงในชีวิต สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับตนเองและผู้อื่น เป็นการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง และเป็นการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น เพื่อการเติบโตของเน็ตเวิร์ค
แกเล่าให้ฟังว่า.. แกมองตัวเองเป็นคนตัวเล็ก ๆ ในสังคม ต้นทุนชีวิตก็ไม่ได้ดีอะไร การจะไปสู้กับบิ๊กหรือรใหญ่มันเป็นเรื่องยาก แกเลยเลือกที่จะยึดแนวทางตามหลักการ Decentralized network สร้างคอมมูนิตี้แบบกระจายศูนย์ที่ยั่งยืน มองการณ์ไกล Low time preference
สร้างทีมงานที่แข็งแกร่งและมีคุณภาพ เน้นที่การทำงานร่วมกัน การสร้างสรรค์ แบ่งปันคุณค่า (Value for Value) เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการสร้าง Reputation ที่ยั่งยืน ไม่แปลกที่ผมกับพี่ชิตแม้จะคุยกันน้อยแต่ก็มีบางอย่างที่ touch กันอยู่ตลอดเวลาอย่างน่าประหลาดใจ
ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียน Reputation สามารถถูกพิจารณาว่าเป็น “ทุน”ได้ (แม้จะไม่ได้ระบุ Reputation ไว้ชัดเจนว่าเป็นทุนประเภทหนึ่ง แต่แนวคิดและหลักการของสำนักออสเตรียนสามารถนำมาปรับใช้กับ Reputation ได้ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจและบริหารจัดการ Reputation ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น) เนื่องจากมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องทุนของสำนักออสเตรียนหลายประการ
สิ่งนี้สะสมได้จากการกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในระยะเวลาหนึ่ง คล้ายกับการสะสมทุนทางกายภาพหรือเงินทุน
การสร้างและรักษา Reputation ต้องใช้ความพยายามและทรัพยากร ซึ่งถือเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง
Reputation ที่ดีสามารถนำมาซึ่งผลตอบแทนในอนาคต เช่น โอกาสทางธุรกิจที่ดีขึ้น ความน่าเชื่อถือที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
Reputation สามารถเสื่อมค่าลงได้หากไม่ดูแลรักษา หรือหากมีการกระทำที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์
ผมปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า ถ้าเราเอาแนวคิด Value for Value มาผสมกับหลักการสร้างชื่อเสียงและเครือข่ายตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียนสำหรับ Entrepreneur สำหรับ Creator มันจะออกมาเป็นแบบใดได้บ้าง
มันจะไม่ใช่แค่การแชร์ความรู้หรือประสบการณ์ แต่เราต้องสร้างคุณค่าบางอย่างที่จับต้องได้จริง ๆ อาจจะเป็นสินค้า บริการ หรือคอนเทนต์ที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายของเรา สิ่งเหล่านี้ต้องสะท้อนความเป็นตัวเราและความเชี่ยวชาญของเราออกมาให้ชัดเจน
ที่สำคัญคือต้องสื่อสารให้คนเข้าใจว่าสิ่งที่เรานำเสนอให้นั้นมีคุณค่ากับพวกเขาอย่างไร เหมือนที่พี่ชิตบอกว่า "ราคา" มันคือการสะท้อนคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้น
สร้างระบบแลกเปลี่ยนคุณค่า ทำให้มันง่ายที่สุดสำหรับคนที่เห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่แค่การขายของแล้วจบกัน แต่เราต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและผู้สนับสนุนของเรา คุยกับพวกเขาบ่อย ๆ ฟังความคิดเห็นของพวกเขา และปรับปรุงสิ่งที่เราทำอยู่เสมอ เพื่อให้มันตอบโจทย์พวกเขาได้มากที่สุด
โลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราไม่ควรหยุดพัฒนาตัวเอง เรียนรู้จากสิ่งที่เราทำ และเติบโตไปพร้อม ๆ กับคนที่เชื่อมั่นในตัวเรา
การลงทุนใน Reputation ของเรา เป็นทุนที่สำคัญไม่แพ้เงินทองเลยทีเดียว มันคือสิ่งที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในระยะยาว และสร้างความแตกต่างให้กับโลกใบนี้ได้..
ผมอาจขยายความเรื่องนี้ได้ไม่ดีพอ เอาไว้ดูย้อนตอนพี่ชิตลงให้ก็แล้วกัน
สุขสันต์วันเกิดย้อนหลังครับพี่ Wichit Saiklao (nprofile…jvsz)
#Siamstr #Value4Value #ReputationCapital