ในที่สุดผมก็ได้สร้างบทความแรกในชีวิตขึ้นมา!
แถมยังเขียนใน Nostr อีกด้วยเว้ยย!!
ในบทความที่ผมเขียนเนื่องแรกจะเป็นเรื่องที่ผมรู้มากที่สุด ซึ่งความจริงจะมีมาเรื่อยๆ รวมถึง Mbti และอื่นๆอีกที่คิดอ่ะนะครับ
"ผมก็ไม่อยากจะโม้อ่ะนะครับผมอายุเพิ่ง 16 แต่เขียนบทความได้แล้วอะครับเอ่อ!ก็เก่งอ่ะครับโหดมากๆมาเฟียหาดใหญ่กองหน้าบลาซ่งบลาซิลอะไรมาเหอะนะได้หมด"
ยังไงผมก็ขอฝากให้คนไทยเชื้อสายยาเม็ดสีส้มสีแดงสีเหลือง(จะสีอะไรก็ช่างแม่งไม่พูดละ) ได้ลองอ่านบทความของผมซักหน่อย ผมคิดว่าหากทุกคนอ่านแล้วก็จะมีคนบางคนบอกให้ผมแก้อะไรตรงไหน ซึ่งผมจะนำไปปรับใช้แน่! และหากใครที่ Expert เป็นเทพเจ้าเป็นูรู (เป็นเซียนเป็นห่าไรก็เป็นเถอะ555+) ในเรื่องนี้ผมก็ขอให้คำแนะนำให้หน่อยนะครับ (^^)
#siamstr #Siamstr #literature #psychology #นพลักษณ์ #article #studentkei
แท็กถูกผิดเอาหมดขอคนเห็นก็พอแล้วล่ะ5555!
quoting naddr1qq…ymx9คำถามจากความอยากตระหนักรู้ในตนเอง
จู่ๆตัวเราก็นึกอยากจะเข้าใจตนเองมากขึ้น บนโลกนี้มีศาสตร์แห่งบุคลิกภาพมากมายที่ให้เราได้ศึกษาและทำแบบทดสอบ แต่จะดีกว่ามั้ยที่เรารู้อย่างคร่าวๆเกี่ยวกับศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังแบบทดสอบเหล่านั้น
Enneargram คืออะไร?
Enneargram ความหมายคือ ‘นพลักษณ์’ เป็นศาสตร์ที่มีจุดประสงค์ไว้เพื่อการเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่นหรือเพื่อให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข(และหลีกเลี่ยงการแทงใจดำคนอื่นโดยที่ตัวเองไม่ได้ตั้งใจได้!) โดยในแต่ละประเภทจะเรียกกันว่า ‘ลักษณ์’
และในบทความนี้ผมจะพูดถึงความรู้เกี่ยวกับ Enneargram ในภาพรวมกันครับ!
นพลักษณ์ (Enneargram)
หากคุณบ้าบอคิดจะข้าม(เผลอๆข้ามไปแล้วมั้ง..)จากหัวข้อนี้ไปดื้อๆคุณก็จะอ่านไม่รู้เรื่องเลยด้วยซ้ำหากคุณไม่รู้ว่านพลักษณ์คืออะไร
‘นพลักษณ์’ โดยคำว่า ‘นพ’ ซึ่งแปลว่า 9(เก้า) และคำว่า ‘ลักษณ์’ ก็คือความหมายว่าเป็น ลักษณะ
ซึ่งก็จะแปลได้เป็น ลักษณะทั้ง 9 นั่นเองครับ!
แล้วก็จะมีการจัดกลุ่มลักษณ์โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มซึ่งก็จะถูกเรียกว่า
ปัญญา 3 ฐาน (The 3 centers) อันได้แก่
ฐานการกระทำหรือฐานกาย แทนเป็น (A) ฐานความรู้สึกหรือฐานใจ แทนเป็น (F) ฐานความคิดหรือฐานหัว แทนเป็น (T)
พอรู้ปัญญา 3 ฐานแล้ว…เรามาดูลักษณะในแต่ละลักษณ์กันเลยดีกว่า!
The perfectionist (ลักษณ์ 1 A) เป็นลักษณ์ที่รักความสมบูรณ์แบบอย่างสุดซึ้ง มีระเบียบวินัยในชีวิตโคตรๆ เป็นคนเนี้ยบของทุกอย่างรอบตัวจะถูกจัดอย่างเป็นระเบียบ หากมีเศษขี้เล็บใครอยู่บนโต๊ะเขาก็จะรู้เลยว่ามันไม่ใช่ของเขา ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมอันดี และชอบความแน่นอน
The giver (ลักษณ์ 2 F) เป็นผู้ชอบให้ชอบเสียสละสิ่งที่ตนมี โดยที่ตนเองก็หวังลึกๆว่าจะได้สิ่งตอบแทนกลับมาด้วย มีนิสัยที่ร่าเริงแจ่มใสใจกว้างและเป็นมิตรต่อทุกๆคน
The preformer (ลักษณ์ 3 F) รัก(บ้า)การแข่งขันและชอบการเอาชนะเป็นที่สุด เกลียดการพ่ายแพ้และต้องการเป็นภาพลักษณ์ตามที่ตนเองต้องการ
The romantic (ลักษณ์ 4 F) พื้นฐานคืออารมณ์เศร้าหมองและมีความอิจฉาลึกๆ ไม่อยากเหมือนใครในสิ่งที่ตนเองสนใจและความเป็นศิลปินในตัวสูง
The observer (ลักษณ์ 5 T) คลั่งการหาความรู้(หรือจะฝึกฝนก็ตาม)มาใส่หัวแบบจะเอาให้เทพสุดๆรู้มากสุดๆในเรื่องนั้นๆไปเลย มักแยกอารมณ์ออกจากกระบวนการคิดเชิงเหตุผล ต้องการพื้นที่ส่วนตัวสูงและเป็นลักษณ์ที่เก็บตัวสูง
The guardian (ลักษณ์ 6 T) เป็นลักษณ์ที่มีความกลัวเป็นพื้นฐานของอารมณ์ ชอบวิเคราะห์และวางแผนอนาคตแถมขี้สงสัยด้วย ไม่ชอบความไม่มั่นคงและความไม่ปลอดภัยหวาดระแวงตลอด(โดยเฉพาะอนาคต) ชอบอยู่ใต้การบังคับบัญชามากกว่า
The optimist (ลักษณ์ 7 T) เสพสุขรักการจญภัยและชอบเติมเต็มชีวิตด้วยความแปลกใหม่ตลอดเวลา มีความตะกละเป็นสันดานและไม่ชอบให้ใครมาวาดกรอบให้ตัวเอง
The leader (ลักษณ์ 8 A) มีความโกรธเป็นพื้นฐานของอารมณ์และมีความเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ ฝักใฝ่หรือสนใจในอำนาจและการควบคุม สามารถใช้ความโกรธเชื่อมโยงในสิ่งใดก็ได้ตามใจอยาก(และมันโคตรทรงพลังนะจะบอกให้!) ชอบปฏิเสธความอ่อนแอ(ซึ่งเป็นข้อเสีย)และชอบทำสุดใส่สุด(โดยเฉพาะทางกายภาพ เช่น จะกินก๋วยเตี๋ยวเผ็ดๆก็เทพริกซะหมดแก้วบรรจุซะ)
The peacemaker (ลักษณ์ 9 A) นักการทูตตัวจริงเสียงจริง มักเป็นลักษณ์ที่เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ลักษณ์นี้นี่แหละคือตัวปิดความขัดแย้งที่แท้ทรู แต่หากไม่เกิดผลลักษณ์นี้ก็จะหนีออกมาจากความขัดแย้งแทนซะงั้น เป็นลักษณ์ที่รักสงบและเกลียดความขัดแย้งนั่นเอง
Wing (สภาวะปีก)
เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นโดยที่ลักษณ์หลักของเราได้รับผลกระทบจากลักษณ์รอบๆ เช่น คนที่มีลักษณ์ 8 ก็จะมีปีกเป็น ลักษณ์ 7 และ ลักษณ์9 ซึ่งจะมีเพียงด้านที่ถนัดที่สุดเท่านั้น หากใช้ลักษณ์ 7 บ่อยที่สุด เราก็จะเขียนได้เป็น
8w7
(8 คือลักษณ์หลักของเรา และ 7 ก็คือลักษณ์รองลงมาที่อยู่ข้างๆนั่นเอง โดยมีตัว ‘w’ เป็นสัญลักษณ์คั่นกลางไว้) และเราจะต้องอ่านว่าลักษณ์8ปีก7ซึ่งเราก็จะได้อิทธิพลลักษณะจากลักษณะข้างด้วยนั่นเองครับ ซึ่งบางสถานการณ์ก็อาจจะไม่มีก็ได้
Subtype (ลักษณ์ย่อย)
เป็นการแบ่งลักษณะการใส่ใจของแต่ละลักษณ์ โดยลักษณ์แต่ละลักษณ์จะต้องมี 3 ลักษณะ ซึ่งจะมีทั้งหมด 27 ลักษณ์ทั้งหมดในนพลักษณ์
Self-preservation (sp) เป็นลักษณ์ย่อยที่ใส่ใจกับความปลอดภัยและความมั่นคงของตนเองก่อน ซึ่งรวมถึงความมั่งคั่งและสิ่งของด้วย
Sexual,one-to-one (sx) เป็นลักษณ์ย่อยที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับใครคนใดคนหนึ่ง ไม่จำกัดว่าต้องเป็นคน จะเป็นสัตว์เลี้ยงก็ได้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือความสัมพันธ์แบบกุ๊กกิ๊กจักจี้หัวใจ(ก็โรแมนติกนั่นแหละ)
Social (so) เป็นลักษณ์ที่อยากมีส่วนร่วมหรือให้ความสำคัญในสังคมหรือในครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต้องการเป็นที่จดจำและต้องการความเคารพจากคนอื่น
Arrow line (สภาวะลูกศร)
เป็นสภาวะที่จะแสดงถึงพฤติกรรมต่างๆในแต่ละสถานการณ์ โดยจะเรียกกันว่าสภาวะมั่นคง ไม่มั่นคง และสภาวะปกติ
สภาวะปกติ ก็คือปกติ ไม่สุขไม่ทุกข์ มั่นคงและไม่มั่นคงในเวลาเดียวกัน
สภาวะมั่นคง เป็นสภาวะที่รู้สึกมั่นคงตามชื่อเลย เป็นความรู้สึกที่เป็นไปตามอยากตามต้องการ
สภาวะไม่มั่นคง ไม่ปกติ ไม่มั่นคง เครียด! หรือก็คือกำลังเจออยู่กับสิ่งที่ตนหลีกเลี่ยงนั่นเอง
โดยหากคนที่เป็นคนลักษณ์ 8 (อีกแล้ว!) ได้อยู่ใน….
-สภาวะไม่มั่นคง คนลักษณ์ 8 ก็จะได้รับอานิสงส์จากลักษณ์ที่ 5 หรือก็คือจะเก็บตัวมากขึ้น โฟกัสหรือสนใจแค่สิ่งๆหนึ่ง กลับไปจัดระเบียบชีวิต ความคิดตนเองหรือข้าวของที่อาจกระจัดกระจายไปทั่วในบ้านของตนเอง
-สภาวะมั่นคง คนลักษณ์ 8 ก็จะได้รับอิทธิพลจากลักษณ์ 2 ซึ่งนั่นก็คือการ Takecare ใจกว้างและรับฟังคนด้วย! ซึ่งดูมีความสุขแฮปปี้ลั้นลาในฉบับของลักษณ์ 8
ส่งท้าย
บทความนี้เป็นบทความแรกในชีวิตของผมเลย ซึ่งตัวผมเองก็เป็นลักษณ์ 8 ปีก 7 (8w7) ผมได้จมปรักกับเรื่องพวกนี้มากพอควร (3 ปีกว่าแล้วล่ะครับ) ซึ่งตัวผมในอดีตก็คงไม่ได้คิดหรอกว่าจะเขียนบทความ แถมยังเขียนใน Nostr อีก!
แต่ก็นะ…. ผมก็ขอขอบคุณที่อ่านมาจนถึงวรรคนี้นะครับ
ขอให้คุณตั้งใจใช้ชีวิตไปกับปีหน้านะครับ!
-From 31/12/2024