ritto on Nostr: Evil Does Not Exist: ใครว่าปีศาจมีไม่จริง ...
Evil Does Not Exist: ใครว่าปีศาจมีไม่จริง
ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้เหมือนจะเป็นที่ช่วงที่ภาพยนตร์ อนิเมชั่น หรือแม้กระทั่งซีรีย์จากทางญี่ปุ่นกลับมาเป็นที่สนใจในกระแสหลักอีกครั้ง หลังจากปล่อยให้กระแสเกาหลีครองตลาดมานาน ซึ่งหลาย ๆ เรื่องก็มีเนื้อหาและความน่าสนใจอย่างมาก เช่น Godzilla: Minus One ที่หลาย ๆ คนอยากดู และยังทำเงินไปมากมายแต่ดันไม่ยอมเข้าฉายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำเอาหลาย ๆ คนเคืองทางค่ายหนังกันยกใหญ่ว่าทำไมไม่เอาเข้ามาฉาย แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นที่ทางค่ายผู้ผลิตและเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างโทโฮ (TOHO) ที่ต้องไปดีลกับสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มไว้แน่ ๆ เลยไม่ได้เข้าฉายในบ้านเเรา และภาพยนตร์อนิเมชั่นอย่าง Mobile Suit Gundam SEED Freedom ที่สาวกกันดั้มวัยเด็กหนวดชวนกันไปดูจนทำเงินถล่มทลายกลายทั้งในประเทศญี่ปุ่นและบ้านเรา รวมไปถึงเรื่อง Monster ของผู้กำกับมือรางวัลชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ (Hirokazu Koreeda) ที่เนื้อหายังไม่พ้นเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว แถมเรื่องนี้ยังได้รางวัล Queer Palm จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ (Cannes Film Festival) อันเป็นรางวัลที่มอบให้กับหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ LGBTQ และรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และยังมี Perfect Days ภาพยนตร์ฟีลกู๊ดของผู้กับกับชาวเยอรมันที่ห่างหายจากวงการไปนานอย่าง วิม เวนเดอร์ (Wim Wenders) เรื่องนี้ยังได้รางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจากที่มอบให้ โคจิ ยาคุโช (Kōji Yakusho) และ Prize of the Ecumenical Jury ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับหนังที่สร้างสรรค์ให้คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์จากเทศกาลหนังเมืองคานส์อีกเช่นกัน และปิดท้ายด้วยภาพยนตร์ที่จะพูดถึงต่อไปอย่าง Evil Does Not Exist ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของผู้กำกับมาแรงในวงการ ริวสุเกะ ฮามากุจิ (Ryusuke Hamaguchi) ที่สร้างชื่อและกวาดคำชมและรางวัลไปมากมายจากเทศกาลหนัง รวมไปถึงรางวัลใหญ่อย่างภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ (Oscar) ในปี 2021 จากเรื่อง Drive My Car
—
เนื้อเรื่องของ Evil Does Not Exist นั้นแม้จะเรียบง่ายเหมือนจะไม่มีอะไรมากโดยที่ตัวละครเอกคือคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวอย่าง ทาคุมิ ชายที่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไปที่อาศัยอยู่กับ ฮานะ ลูกสาววัย 8 ขวบที่มักจะชอบออกไปวิ่งล่นเล่นตามป่าในหมู่บ้านฮาราซาว่าที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบเงียบ และผู้คนในหมู่บ้านก็พึ่งพาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน แต่ว่าเมื่อนายทุนจากโตเกียวที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการมาซื้อที่ดินจะมาทำลาน “แกลมปิ้ง (Glamping = Glamorous + Camping)” ที่กำลังฮิตกันในปัจจุบัน ซึ่งฝั่งนายทุนนั้นก็พยายามแสดงถึงผลประโยชน์ไว้ว่าต่อชุมชนว่าจะเป็นการสร้างเศรฐกิจและรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน แต่ว่าเนื่องจากสถานที่ตั้งนั้นอยู่บนหุบเขาที่เป็นแหล่งต้นน้ำของหมู่บ้านที่ใช้ในการดำรงชีวิตและทำมาหากิน จะทำให้น้ำปนเปื้อนด้วยมลภาวะน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาจากลานแกล้มปิ้งแห่งนี้ และสุดท้ายนั้นจะมีการประณีประนอมอย่างไรที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายพอใจ ซึ่งคนที่ดูภาพยนตร์มาเยอะพอสมควรจะคุ้นกับพลอตเรื่องแบบนี้เป็นอย่างดีว่าใครคือ “ปีศาจ” ของเรื่องนี้
—
แต่สิ่งที่ทำให้ Evil Does Not Exist น่าสนใจจริง ๆ แล้วนั้นคือสัญญะที่อยู่ภาพยนตร์เรื่องนี้ เช่น การสร้างบรรกาศในการถ่ายทำที่ทำให้ฉุกคิดตลอดเวลาว่าจริง ๆ แล้วปีศาจที่ว่านั้นอยู่ที่ไหน ทั้งการถ่ายภาพธรรมชาติที่สวยงามแต่แฝงไปด้วยความน่ากลัว เหมือนจะมีอันตรายแบบแฝงอยู่ทุกที่ และมุมมองการถ่ายทำในแบบบุคคลที่สาม การแพนกล้องติดตามตัวละครที่ทำให้เหมือนรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างคอยไล่ตามและแฝงตัวแอบดูอยู่ท่ามกลางธรรมชาติตลอดเวลา และการใช้ซาวด์เอฟเฟกต์และดนตรีประกอบที่ใช้เครื่องสายบรรเลงควาหม่นหมอง ลึกลับ มืดมน และจังหวะที่เริ่มและหยุดเอาดื้อ ๆ แบบไม่มีมีปี่มีขลุ่ยอันเป็นสัญญาณว่าจะมีอะไรร้าย ๆ กำลังจะเกิดขึ้น รวมไปความย้อนแย้งและไม่น่าไว้วางใจของตัวละครต่าง ๆ ที่เหมือนจะเป็น “ผู้ถูกกระทำ” และ “ผู้กระทำ” โดยทางฝั่งชาวบ้านนั้น ดูเผิน ๆ ก็เหมือนจะเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่กลับแฝงไปด้วยความฉลาดเฉลียว นิ่ง ใจเย็น พูดจามีเหตุผล แต่เหมือนจะคิดอะไรอยู่ในใจตลอดเวลา อีกทั้งตัวละครฝั่งตัวแทนของนายทุนที่เอามารับหน้าชาวบ้านอย่าง ทาคาฮาชิ และ มายุซึมิ ที่เหมือนจะมาแบบตัวร้ายแต่จริง ๆ แล้วนั้นเป็นคนที่มีจิตใจดี มีความเห็นใจชาวบ้าน แต่ด้วยอำนาจของตัวเองนั้นไม่สามารถจะทำอะไรได้นอกจากมารับคำด่าแทนหัวหน้าของพวกเขา และเลือกที่จะมาทำงานที่พวกเขาไม่ได้ชอบด้วยความจำเป็น และพอได้มาใกล้ชิดชาวบ้านมากยิ่งขึ้นก็เริ่มที่จะติดใจวิถีชีวิตที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบเงียบปราศจากการควบคุมของเจ้านาย และที่สำคัญที่สุดนั้นคือตอนจบที่สุดพีคต้องอุทานในใจว่า เฮ้ย! นี่มัน “ปีศาจ” ชัด ๆ
—
สารของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นอยู่ที่เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครคือ “ปีศาจ” ได้ตั้งแต่แรกเห็น เหมือนเป็นดั่งสัจธรรมที่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเราล้วนมีประโยชน์และโทษเสมอ ควรทำอะไรแต่พอดี ๆ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเราก็ควรจะรักษาธรรมชาติไว้ให้ดีที่สุด เพราะเรานั้นก็ยังเป็นแค่ “มนุษย์” ที่ต้องพึ่งพาอาศัยอยู่ใน “ธรรมชาติ” แห่งนี้ เพราะในที่สุดแล้วไม่ว่ามนุษย์หรือธรรมชาตินั้นเมื่อได้ถูกทำร้ายหรือกดดันจนถึงที่สุด ต่อให้เบื้องหน้าจะดูสวยงามไม่มีพิษมีภัยแค่ไหนก็จะพร้อมที่จะกลายร่างเป็น “ปีศาจ” ที่พร้อมจะทำลายสิ่งต่าง ๆ ให้ดับสลายไปได้อยู่ดี
—
#film #evildoesnotexist #jmovies #ryusukehamaguchi #siamstr
Published at
2024-02-25 15:19:04Event JSON
{
"id": "157ac4214e98ae8f13ec3a216f751f745a270a88fc3d4f820e7795da63d83cf0",
"pubkey": "a3979eff34c4443e125d9d403e0f4f0ac9856fbd3d2fb557f56ce287ed029091",
"created_at": 1708874344,
"kind": 1,
"tags": [
[
"t",
"film"
],
[
"t",
"evildoesnotexist"
],
[
"t",
"jmovies"
],
[
"t",
"ryusukehamaguchi"
],
[
"t",
"siamstr"
]
],
"content": "Evil Does Not Exist: ใครว่าปีศาจมีไม่จริง\n\nตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้เหมือนจะเป็นที่ช่วงที่ภาพยนตร์ อนิเมชั่น หรือแม้กระทั่งซีรีย์จากทางญี่ปุ่นกลับมาเป็นที่สนใจในกระแสหลักอีกครั้ง หลังจากปล่อยให้กระแสเกาหลีครองตลาดมานาน ซึ่งหลาย ๆ เรื่องก็มีเนื้อหาและความน่าสนใจอย่างมาก เช่น Godzilla: Minus One ที่หลาย ๆ คนอยากดู และยังทำเงินไปมากมายแต่ดันไม่ยอมเข้าฉายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำเอาหลาย ๆ คนเคืองทางค่ายหนังกันยกใหญ่ว่าทำไมไม่เอาเข้ามาฉาย แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นที่ทางค่ายผู้ผลิตและเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างโทโฮ (TOHO) ที่ต้องไปดีลกับสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มไว้แน่ ๆ เลยไม่ได้เข้าฉายในบ้านเเรา และภาพยนตร์อนิเมชั่นอย่าง Mobile Suit Gundam SEED Freedom ที่สาวกกันดั้มวัยเด็กหนวดชวนกันไปดูจนทำเงินถล่มทลายกลายทั้งในประเทศญี่ปุ่นและบ้านเรา รวมไปถึงเรื่อง Monster ของผู้กำกับมือรางวัลชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ (Hirokazu Koreeda) ที่เนื้อหายังไม่พ้นเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว แถมเรื่องนี้ยังได้รางวัล Queer Palm จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ (Cannes Film Festival) อันเป็นรางวัลที่มอบให้กับหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ LGBTQ และรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และยังมี Perfect Days ภาพยนตร์ฟีลกู๊ดของผู้กับกับชาวเยอรมันที่ห่างหายจากวงการไปนานอย่าง วิม เวนเดอร์ (Wim Wenders) เรื่องนี้ยังได้รางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจากที่มอบให้ โคจิ ยาคุโช (Kōji Yakusho) และ Prize of the Ecumenical Jury ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับหนังที่สร้างสรรค์ให้คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์จากเทศกาลหนังเมืองคานส์อีกเช่นกัน และปิดท้ายด้วยภาพยนตร์ที่จะพูดถึงต่อไปอย่าง Evil Does Not Exist ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดของผู้กำกับมาแรงในวงการ ริวสุเกะ ฮามากุจิ (Ryusuke Hamaguchi) ที่สร้างชื่อและกวาดคำชมและรางวัลไปมากมายจากเทศกาลหนัง รวมไปถึงรางวัลใหญ่อย่างภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ (Oscar) ในปี 2021 จากเรื่อง Drive My Car\n\n—\n\nเนื้อเรื่องของ Evil Does Not Exist นั้นแม้จะเรียบง่ายเหมือนจะไม่มีอะไรมากโดยที่ตัวละครเอกคือคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวอย่าง ทาคุมิ ชายที่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไปที่อาศัยอยู่กับ ฮานะ ลูกสาววัย 8 ขวบที่มักจะชอบออกไปวิ่งล่นเล่นตามป่าในหมู่บ้านฮาราซาว่าที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบเงียบ และผู้คนในหมู่บ้านก็พึ่งพาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากิน แต่ว่าเมื่อนายทุนจากโตเกียวที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการมาซื้อที่ดินจะมาทำลาน “แกลมปิ้ง (Glamping = Glamorous + Camping)” ที่กำลังฮิตกันในปัจจุบัน ซึ่งฝั่งนายทุนนั้นก็พยายามแสดงถึงผลประโยชน์ไว้ว่าต่อชุมชนว่าจะเป็นการสร้างเศรฐกิจและรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือน แต่ว่าเนื่องจากสถานที่ตั้งนั้นอยู่บนหุบเขาที่เป็นแหล่งต้นน้ำของหมู่บ้านที่ใช้ในการดำรงชีวิตและทำมาหากิน จะทำให้น้ำปนเปื้อนด้วยมลภาวะน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาจากลานแกล้มปิ้งแห่งนี้ และสุดท้ายนั้นจะมีการประณีประนอมอย่างไรที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายพอใจ ซึ่งคนที่ดูภาพยนตร์มาเยอะพอสมควรจะคุ้นกับพลอตเรื่องแบบนี้เป็นอย่างดีว่าใครคือ “ปีศาจ” ของเรื่องนี้\n\n—\n\nแต่สิ่งที่ทำให้ Evil Does Not Exist น่าสนใจจริง ๆ แล้วนั้นคือสัญญะที่อยู่ภาพยนตร์เรื่องนี้ เช่น การสร้างบรรกาศในการถ่ายทำที่ทำให้ฉุกคิดตลอดเวลาว่าจริง ๆ แล้วปีศาจที่ว่านั้นอยู่ที่ไหน ทั้งการถ่ายภาพธรรมชาติที่สวยงามแต่แฝงไปด้วยความน่ากลัว เหมือนจะมีอันตรายแบบแฝงอยู่ทุกที่ และมุมมองการถ่ายทำในแบบบุคคลที่สาม การแพนกล้องติดตามตัวละครที่ทำให้เหมือนรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างคอยไล่ตามและแฝงตัวแอบดูอยู่ท่ามกลางธรรมชาติตลอดเวลา และการใช้ซาวด์เอฟเฟกต์และดนตรีประกอบที่ใช้เครื่องสายบรรเลงควาหม่นหมอง ลึกลับ มืดมน และจังหวะที่เริ่มและหยุดเอาดื้อ ๆ แบบไม่มีมีปี่มีขลุ่ยอันเป็นสัญญาณว่าจะมีอะไรร้าย ๆ กำลังจะเกิดขึ้น รวมไปความย้อนแย้งและไม่น่าไว้วางใจของตัวละครต่าง ๆ ที่เหมือนจะเป็น “ผู้ถูกกระทำ” และ “ผู้กระทำ” โดยทางฝั่งชาวบ้านนั้น ดูเผิน ๆ ก็เหมือนจะเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่กลับแฝงไปด้วยความฉลาดเฉลียว นิ่ง ใจเย็น พูดจามีเหตุผล แต่เหมือนจะคิดอะไรอยู่ในใจตลอดเวลา อีกทั้งตัวละครฝั่งตัวแทนของนายทุนที่เอามารับหน้าชาวบ้านอย่าง ทาคาฮาชิ และ มายุซึมิ ที่เหมือนจะมาแบบตัวร้ายแต่จริง ๆ แล้วนั้นเป็นคนที่มีจิตใจดี มีความเห็นใจชาวบ้าน แต่ด้วยอำนาจของตัวเองนั้นไม่สามารถจะทำอะไรได้นอกจากมารับคำด่าแทนหัวหน้าของพวกเขา และเลือกที่จะมาทำงานที่พวกเขาไม่ได้ชอบด้วยความจำเป็น และพอได้มาใกล้ชิดชาวบ้านมากยิ่งขึ้นก็เริ่มที่จะติดใจวิถีชีวิตที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบเงียบปราศจากการควบคุมของเจ้านาย และที่สำคัญที่สุดนั้นคือตอนจบที่สุดพีคต้องอุทานในใจว่า เฮ้ย! นี่มัน “ปีศาจ” ชัด ๆ\n\n—\n\nสารของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นอยู่ที่เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครคือ “ปีศาจ” ได้ตั้งแต่แรกเห็น เหมือนเป็นดั่งสัจธรรมที่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเราล้วนมีประโยชน์และโทษเสมอ ควรทำอะไรแต่พอดี ๆ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเราก็ควรจะรักษาธรรมชาติไว้ให้ดีที่สุด เพราะเรานั้นก็ยังเป็นแค่ “มนุษย์” ที่ต้องพึ่งพาอาศัยอยู่ใน “ธรรมชาติ” แห่งนี้ เพราะในที่สุดแล้วไม่ว่ามนุษย์หรือธรรมชาตินั้นเมื่อได้ถูกทำร้ายหรือกดดันจนถึงที่สุด ต่อให้เบื้องหน้าจะดูสวยงามไม่มีพิษมีภัยแค่ไหนก็จะพร้อมที่จะกลายร่างเป็น “ปีศาจ” ที่พร้อมจะทำลายสิ่งต่าง ๆ ให้ดับสลายไปได้อยู่ดี\n\n—\n\n#film #evildoesnotexist #jmovies #ryusukehamaguchi #siamstr\n\n https://image.nostr.build/0190c3f7cd2f9f47427306e0e99fd199ddbbf2abed05030fb206581678f76cbc.jpg",
"sig": "5c5d4094d6314c0ebe8b049269929b8276b5e605bd8dcf358647c38ebe9a7a2bb686b2b0999c332639859fcde7a727cc1920ae638caae6d049f0bfff636b8a70"
}