
พ่อแม่หลายคนชอบที่จะบันทึก moment ต่างๆในชีวิตของลูก
.
ไม่ว่าจะเป็น moment ที่ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก
moment ที่ลูกกำลังดื้องอแง
moment ที่ลูกกำลังวิ่งเล่นกับครอบครัว
ฯลฯ
.
พ่อแม่หลายคนบันทึก moment เหล่านี้ไว้ในรูปแบบของภาพถ่าย
หลายคนบันทึกไว้ในรูปแบบของคลิปวิดีโอ
หลายคนบันทึกไว้ในรูปแบบของไดอารี่
.
และนอกจากจะบันทึก moment เหล่านี้แล้ว
พ่อแม่หลายคนก็มีการแชร์ moment เหล่านี้กับคนอื่น
(ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะครอบครัวหรือเพื่อนที่สนิทใกล้ชิด) อีกด้วย
.
การแชร์ที่เกิดขึ้นนี้ พ่อแม่หลายคนไม่ได้มีเจตนาที่เลวร้ายเลยครับ
หลายคนเพียงแค่มองว่า moment เหล่านี้มันน่ารักดีก็เลยแชร์
หลายคนอยากแบ่งปัน “บทเรียน” ที่ตัวเองได้เรียนรู้กับเพื่อนๆพ่อแม่ด้วยกัน
.
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสิ่งที่พ่อแม่แชร์
มันคือ moment ต่างๆของลูก (ไม่ใช่ของพ่อแม่)
มันจึงมีความ “สุ่มเสี่ยง” อยู่เหมือนกันครับ
.
เพราะพอลูกเติบโตขึ้น
moment ต่างๆของเขาที่ถูกแชร์ไป
(โดยเฉพาะการแชร์ในโลกออนไลน์ที่ลบทิ้งไม่ได้)
อาจเป็น moment ที่สร้างความอับอาย
หรือความไม่สบายใจให้กับลูกได้
.
จริงอยู่ครับว่า ก่อนที่พ่อแม่จะแชร์อะไรกับคนอื่น
พ่อแม่สามารถที่จะ “ขออนุญาต” จากลูกได้
.
แต่ในทางปฏิบัตินั้น
มันยากเหมือนกันครับที่เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็ก)
จะปฏิเสธพ่อแม่ของตัวเอง
เพราะถึงอย่างไร
เด็กก็ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ในการมีชีวิตรอดสูงมาก
.
ด้วยเหตุนี้ หากเราจะยึดหลัก “ปลอดภัยไว้ก่อน”
การไม่แชร์ moment “ส่วนตัว” ของลูกในโลกออนไลน์
(โดยเฉพาะการแชร์ในรูปแบบที่ “เปิดสาธารณะ” ให้ทุกคนเข้ามาดูได้)
อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดครับ
.
อ้างอิง
Franke, S. (2025). The house of my mother: A daughter's quest for freedom. Gallery Books.
https://doi.org/10.3390/healthcare11101359
https://doi.org/10.3389/fpsyg.2023.1171611
#จิตวิทยา #siamstr