lvlick on Nostr: GA ครับ ...
GA ครับ ยังไงก็ต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เป็นผู้บรรลุซึ่งธรรม เป็นเพียงผู้เห็นตาม verifly เท่านั้น ตามคุณลักษณะ 6
สฺวากฺขาโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฺฐิโก ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
เหตุที่บอกว่าเป็นเพียงผู้ตามเห็นนั้น จะมีข้อมูลมาให้อ่านในลับดับต่อๆ ไปครับ เรามาต่อ ข้อความคำชี้แจงช่วงบ่ายกัน
ข้อเท็จจริงอันลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าแกประกาศศาสนา ด้วยความยากลำบาก คือต้องพูดด้วยภาษา 2 ภาษา ในคราวเดียวกัน คือ ภาษาคน สำหรับสอนศีลธรรมแก่คนที่ยังหนาไปด้วยความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน(สัสสตทิฏฐิ) จนยึดมั่นอยู่อย่างเหนียวแน่น และพูดด้วย ภาษาธรรม สำหรับคนที่มีฝุ่นในตาเบาบางแล้ว จะได้เข้าใจธรรมชาติที่เป็นความจริงอันเป็นที่สุด(ปรมัตถธรรม) เป็นการสอนให้รอดพ้นจากสัสสตทิฏฐิ ที่ยึดไว้ ให้ละเสีย มันเป็น 2 ภาษากันอยู่ดังนี้ สำหรับปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องปรมัตถธรรม ที่ต้องพูดกันด้วย “ภาษาธรรม” เป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามไปหมด จากเรื่องศีลธรรม แล้วจะนำมาพูดด้วยภาษาคนที่ใช้สำหรับเรื่องศีลธรรม ได้โดยวิธีไหน อย่างไร เมื่อพูดโดยภาษาคน มันพูดไม่ได้ ถ้าพูดโดยภาษาธรรม คนฟังก็ตีความเป็นภาษาคนไปหมด เลยไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดอย่างตรงข้ามไปเลย อันนี้เป็นต้นตอของปัญหาอันยุ่งยากสำหรับการสอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่ทำให้ท้อใจในทีแรกถึงกับจะไม่สอน แม้ที่สอนแล้วก็ยังไม่เข้าใจ เหมือนเรื่องของ ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตร (มีให้อ่านครับ) จนถึงพวกเราในเวลานี้ สอนเรื่องนี้กันไม่รู้เรื่อง, พูดกันไม่รู้เรื่อง, รับคำสอนแล้วปฏิบัติอะไรไม่ไ่ด้, ยิ่งปฏิบัติยิ่งผิดไกลออกไปอีก
เมื่อครั้งสอนศีลธรรม ก็ต้องพูดว่าอย่างมีสัตว์ มีบุคคล มีตัวตน มีตถาคตเอง กระทั่งสอนให้ทำบุญกุศล ตายแล้ว จะได้รับผลบุญกุศลที่สร้างไว้ ครั้นสอนปรมัตถธรรม ก็พูดอย่างไม่มีสัตว์ บุคคล แม้กระทั่งตถาคตเอง มีแต่สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งๆ ทยอยกันไป เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมติดต่อกันเป็นสาย เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่มีทางที่จะพูดว่าตัวใคร แม้ในขณะนี้, จึงไม่มีใครเกิด หรือใครตาย ไปรับผลกรรมเก่า ทำนองสัสสตทิฏฐิ และทั้งไม่ใช่ตายแล้วก็สูญไปในทำนองอุจเฉททิฏฐิ เพราะว่าไม่มีคนที่จะตายไปขาดสูญเสียแล้วตั้งแต่บัดนี้ ความอยู่ตรงกลางนี้แหละ คือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ มัชฌิมาปฏิปทาทางปรมัตถธรรม คู่กับ มรรค8 เป็นทางสายกลางทางศีลธรรม ตามปกติคนธรรมดาทั่วไปก็ยึดถือทางศีลธรรมเพื่อสบายใจอยู่ด้วยความดี ตลอดเวลาที่เหตุปัจจัยของความดียังไม่เปลี่ยนแปลง พอเหตุปัจจัยนั้นเปลี่ยนแปลง หรือแสดงความไม่เที่ยง(อนัตตา) และเป็นทุกข์เพราะความยึดถือขึ้นมา ความรู้เพียงแค่ศีลธรรมนั้น ก็พึ่งพาไม่ได้ จึงต้องเข้าหาเรื่อง ปรมัตถธรรม เช่นเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อกำจัดความรู้สึกเป็นทุกข์ ที่เลื่อนระดับสูงขึ้นไป คือมีใจอยู่เหนือความมีตัวตน อะไรที่เป็นของตน ความดีชั่ว บุญบาป สุขทุกข์ โดยไม่มีความทุกข์อะไรเหลืออยู่เลย ดังนั้นการสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทชนิดที่มีตัวตนและเนื่องกันเป็นชาติๆ ไปนั้น ผิดหลักปฏิจจสมุปบาท หรือผิดหลักพุทธวจนะ ซึ่งต้องการจะสอนให้คนหมดสิ้นความรู้สึกว่าตัวตน หรืออยู่เหนือความรู้สึกว่ามีตัวตนโดยประการทั้วปวง ดังนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรม ที่ยังต้องอาศัยความมีตัวตนเป็นมูลฐานแต่ประการใด. #siamstr #ปฏิจจสมุปบาท
Published at
2024-08-01 05:24:08Event JSON
{
"id": "95eddbb6eba1045783c2b33d325148bfbdf2083130a6073c68efd8bffb56dd79",
"pubkey": "e047f82fd6905f9224d9a927e0474819cf4dc8654ef599240b3876d5f7d05b0b",
"created_at": 1722489848,
"kind": 1,
"tags": [
[
"t",
"siamstr"
],
[
"t",
"ปฏิจจสมุปบาท"
]
],
"content": "GA ครับ ยังไงก็ต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เป็นผู้บรรลุซึ่งธรรม เป็นเพียงผู้เห็นตาม verifly เท่านั้น ตามคุณลักษณะ 6 \nสฺวากฺขาโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว\nสนฺทิฏฺฐิโก ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง\nอกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล\nเอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู\nโอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา\nปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหิ วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน\n เหตุที่บอกว่าเป็นเพียงผู้ตามเห็นนั้น จะมีข้อมูลมาให้อ่านในลับดับต่อๆ ไปครับ เรามาต่อ ข้อความคำชี้แจงช่วงบ่ายกัน\n ข้อเท็จจริงอันลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าแกประกาศศาสนา ด้วยความยากลำบาก คือต้องพูดด้วยภาษา 2 ภาษา ในคราวเดียวกัน คือ ภาษาคน สำหรับสอนศีลธรรมแก่คนที่ยังหนาไปด้วยความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน(สัสสตทิฏฐิ) จนยึดมั่นอยู่อย่างเหนียวแน่น และพูดด้วย ภาษาธรรม สำหรับคนที่มีฝุ่นในตาเบาบางแล้ว จะได้เข้าใจธรรมชาติที่เป็นความจริงอันเป็นที่สุด(ปรมัตถธรรม) เป็นการสอนให้รอดพ้นจากสัสสตทิฏฐิ ที่ยึดไว้ ให้ละเสีย มันเป็น 2 ภาษากันอยู่ดังนี้ สำหรับปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องปรมัตถธรรม ที่ต้องพูดกันด้วย “ภาษาธรรม” เป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามไปหมด จากเรื่องศีลธรรม แล้วจะนำมาพูดด้วยภาษาคนที่ใช้สำหรับเรื่องศีลธรรม ได้โดยวิธีไหน อย่างไร เมื่อพูดโดยภาษาคน มันพูดไม่ได้ ถ้าพูดโดยภาษาธรรม คนฟังก็ตีความเป็นภาษาคนไปหมด เลยไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดอย่างตรงข้ามไปเลย อันนี้เป็นต้นตอของปัญหาอันยุ่งยากสำหรับการสอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่ทำให้ท้อใจในทีแรกถึงกับจะไม่สอน แม้ที่สอนแล้วก็ยังไม่เข้าใจ เหมือนเรื่องของ ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตร (มีให้อ่านครับ) จนถึงพวกเราในเวลานี้ สอนเรื่องนี้กันไม่รู้เรื่อง, พูดกันไม่รู้เรื่อง, รับคำสอนแล้วปฏิบัติอะไรไม่ไ่ด้, ยิ่งปฏิบัติยิ่งผิดไกลออกไปอีก\n\tเมื่อครั้งสอนศีลธรรม ก็ต้องพูดว่าอย่างมีสัตว์ มีบุคคล มีตัวตน มีตถาคตเอง กระทั่งสอนให้ทำบุญกุศล ตายแล้ว จะได้รับผลบุญกุศลที่สร้างไว้ ครั้นสอนปรมัตถธรรม ก็พูดอย่างไม่มีสัตว์ บุคคล แม้กระทั่งตถาคตเอง มีแต่สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งๆ ทยอยกันไป เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมติดต่อกันเป็นสาย เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ไม่มีทางที่จะพูดว่าตัวใคร แม้ในขณะนี้, จึงไม่มีใครเกิด หรือใครตาย ไปรับผลกรรมเก่า ทำนองสัสสตทิฏฐิ และทั้งไม่ใช่ตายแล้วก็สูญไปในทำนองอุจเฉททิฏฐิ เพราะว่าไม่มีคนที่จะตายไปขาดสูญเสียแล้วตั้งแต่บัดนี้ ความอยู่ตรงกลางนี้แหละ คือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ มัชฌิมาปฏิปทาทางปรมัตถธรรม คู่กับ มรรค8 เป็นทางสายกลางทางศีลธรรม ตามปกติคนธรรมดาทั่วไปก็ยึดถือทางศีลธรรมเพื่อสบายใจอยู่ด้วยความดี ตลอดเวลาที่เหตุปัจจัยของความดียังไม่เปลี่ยนแปลง พอเหตุปัจจัยนั้นเปลี่ยนแปลง หรือแสดงความไม่เที่ยง(อนัตตา) และเป็นทุกข์เพราะความยึดถือขึ้นมา ความรู้เพียงแค่ศีลธรรมนั้น ก็พึ่งพาไม่ได้ จึงต้องเข้าหาเรื่อง ปรมัตถธรรม เช่นเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อกำจัดความรู้สึกเป็นทุกข์ ที่เลื่อนระดับสูงขึ้นไป คือมีใจอยู่เหนือความมีตัวตน อะไรที่เป็นของตน ความดีชั่ว บุญบาป สุขทุกข์ โดยไม่มีความทุกข์อะไรเหลืออยู่เลย ดังนั้นการสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทชนิดที่มีตัวตนและเนื่องกันเป็นชาติๆ ไปนั้น ผิดหลักปฏิจจสมุปบาท หรือผิดหลักพุทธวจนะ ซึ่งต้องการจะสอนให้คนหมดสิ้นความรู้สึกว่าตัวตน หรืออยู่เหนือความรู้สึกว่ามีตัวตนโดยประการทั้วปวง ดังนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องศีลธรรม ที่ยังต้องอาศัยความมีตัวตนเป็นมูลฐานแต่ประการใด. #siamstr #ปฏิจจสมุปบาท",
"sig": "38a01bfa273fd39b8a7cf744f61620fa7ee9cc8d3186ea065b959a67411e99a9f5646a3e0eee8b763e4dcbada9478984f8ac557315287bbe4b78bf19ded4daef"
}