สัปดาห์นี้ฟุตบอลจะไม่มีอะไรนอกจากที่ผีแพ้ยับคาบ้าน ซึ่งกลายเป็นเรื่องธรรมดาจนแฟนผีเจ็บจนชินชาไปแล้ว ก็เลยจะมาเขียนเรื่องที่ตัวเองสนใจแทนนะครับ
////////////////////////////////////////////////////////////////////
Tadao Ando: Live your life as the Light [光のように生きて行こ]
เชื่อว่าเพื่อน ๆ น่าจะเคยได้ยินชื่อสถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น ทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando) กันบ้างมาบ้าง จากการเอกลักษณ์การใช้คอนกรีตหล่อสแตมป์มีรูเหล็กแบบกับฟอร์มอาคารโมเดิร์นสุดเท่ห์และอาจจะเคยไปยลโฉมมาเวลาไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น
—
เมื่อตัวผมเองตอนเรียนจบได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ญี่ปุ่นกับเพื่อนแก๊งค์ที่เรียนสถาปัตย์ จนได้ไปสัมผัสอาคารที่คุณลุงออกแบบที่โบสถ์ Church of the Light (Ibaraki Kasugaoka Church) และ 21_21 DESIGN SIGHT และเมื่อได้ไปดู สัมผัส และซึมซับบรรยากาศของตัวอาคาร ทัศนะส่วนตัวที่มีต่องานออกแบบของคุณลุงเองได้เปลี่ยนไป จากการที่เคยชื่นชมงานออกแบบที่ใช้คอนกรีตสุดคูลกับกลายเป็นการใช้แสงธรรมชาติที่มีต่องานออกแบบของคุณลุงต่างหากที่ประทับอยู่ในใจตั้งแต่นั้นมา และเมื่อได้เจอคลิปอันนึงของคุณลุงที่อยู่ดี ๆ โผล่มาฟีดยูทูป เลยเข้าใจได้มากขึ้นแล้วว่าทำไมคุณลุงถึงให้ความสำคัญกับแสงในงานออกแบบเป็นอย่างมาก ก็เลยตัดสินใจเขียนถึงคุณลุงซะหน่อยดีกว่า
—
ก่อนมาเป็นสถาปนิกระดับโลก ทาดาโอะ อันโดะ ตอนเด็ก ๆ นั้นไม่มีพื้นฐานใด ๆ เรื่องสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างเลยแม้แต่น้อย แต่ได้เริ่มความสนใจในด้านนี้ จากการที่มีช่างไม้มาทำงานต่อเติมที่บ้านในตอนที่ลุงอายุ 15 และเห็นว่าช่างคนนั้นตั้งใจทำงานกับดูสนุกกับสิ่งที่ทำจนลุงชื่นชม แต่ว่าตอนนั้นเนื่องจากบ้านคุณลุงก็ยากจนแถมยังเรียนไม่เก่งอีกต่างหาก อยู่มาวันนึงลุงได้เดินผ่านค่ายมวยแถวบ้านก็เลยคิดว่านี่แหละโอกาสได้หาเงินเลี้ยงครอบครัวที่ตอนนั้นกำลังลำบาก ก็เลยขอไปเอาดีทางต่อยมวยก่อนละกันและแถมยังเคยมาต่อยที่กรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งก็เป็นที่ ๆ ลุงได้เดินทางนอกประเทศและได้แรงบันดาลใจที่จะออกเดินทางไปดูโลกกว้าง พอเก็บเงินได้ประมาณนึงก็ออกเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลกโดยใช้เวลาถึง 10 เดือน ซึ่งจากการเดินทางในครั้งนั้นได้ผ่านเหตุการณ์เฉียดตายมาบ้าง และเกิดความตั้งใจที่ว่าควรที่จะได้ทำอะไรเพื่อครอบครัว สังคม ประเทศ และโลกใบนี้ผ่านงานออกแบบของตัวเอง แต่ในเมื่อไม่มีปริญญาและประสบการณ์ใด ๆ ก็เลยไม่มีบริษัทไหนจ้างด้วยขอจำกัดทางการศึกษา แต่ความพยายามของคุณลุงไม่ลดละเลยได้พยายามเรียนรู้ อ่านหนังสือและฝึกฝนด้วยตัวเองอย่างหนักเป็น self-taught architect และคุณลุงยังกล่าวว่าต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนที่เรียนในสาขาอาชีพนี้ถึงสองสามเท่า แต่หลังจากนั้นความตั้งใจและความมุ่งมั่นก็สำเร็จผล จนได้เปิดบริษัทของตัวเองตอนที่อายุ 29 ปี ตอนแรก ๆ คุณลุงถึงคุณลุงจะไม่มีงาน ก็ยังคงพยายามที่จะศีกษาและฝึกฝนเรื่อยมา ละก็เริ่มสร้างชื่อจากงานออกแบบในประเทศมาเรื่อย ๆ จนมาเป็นถึงมาสเตอร์พีซระดับโลกที่ทุกคนต้องซูฮกจนถึงในปัจจุบัน
—
และมันเกี่ยวข้องกับเรื่องแสงได้อย่างไร
—
ในตอนที่คุณลุงได้ไปดูงานสถาปัตยกรรมวัดญี่ปุ่นโบราณ และก็ได้ฉุกคิดว่าแก่นของงานสถาปัตยกรรมนั้นคืออะไรกันแน่นะ แล้วก็ได้มีความคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมคือมนุษย์สามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกมั่นคง (อ้างอิงจากคำแปลคือ “A Sense of Stability” ถ้าตีความในอีกแง่นั้นอาจจะหมายถึงการรับรู้ของประสาทสัมผัสหรือแม้กระทั่งความอารมณ์ความรู้สึกเมื่ออยู่ในตัวสถาปัตยกรรม) เมื่ออยู่ในงานสถาปัตยกรรมที่โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ (Harmony with Nature and Environment) และได้คิดว่าจะหาเอกลักณ์ในงานออกแบบของตัวเองได้อย่างไร
—
มาถึงโปรเจคแรกที่คุณลุงได้รับเป็นบ้านครอบครัวพ่อแม่ลูกน้องชายของเพื่อนหรือที่เรียกกันว่า Tomishima House ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 3 ชั้น ขนาด 60 ตร.ม. (ซึ่งก็ถือว่าเล็กมาก ๆ สำหรับครอบครัวสามคน) ระหว่างการก่อสร้างดั๊นมีลูกเพิ่มมาอีกคนนึง แล้วก็ได้ถามคุณลุงว่าจะทำยังไงดี จะมีพื้นที่พออยู่กันได้มั้ยเนี่ย ลุงก็ได้ตอบสั้น ๆ ว่า “เรื่องของมึง ไปคิดเอาเองครับ” (ก็คงคิดในใจแบบนี้แต่หน้างานน่าจะตอบอย่างสุภาพชนชาวญี่ปุ่นแหละ ก็บรีฟตอนแรกมันไม่ใช่แบบนี้นี่นา) แล้วต่อมาก็ด๊านนนมีท้องลูกแฝดอีก แล้วก็ได้มาด้วยคำถามปวดเฮดเหมือนเดิมว่าจะทำยังไงดี ลุงก็เลยแก้ไขปัญหาด้วยการซื้อบ้านนี้แล้วได้ทำการรีโนเวทเอาไว้อยู่เองซะเลยจบ ๆ และก็ได้กลายมาเป็น HQ ของออฟฟิสไปด้วยซะเลย และความที่มันเป็นบ้านอิงจากฟังก็ชั่นเดิมแล้วถูกรีโนเวท ตัวอาคารนั้นอาจจะไม่ได้ออกแบบตามหลักการและไม่ได้ฟังก์ชั่นการใช้สอยที่มีความสะดวกสบายต่อผู้ใช้สอยคนปัจจุบันอย่างคุณลุงและพนักงานออฟฟิสคนอื่นซักเท่าใดนัก แต่สิ่งที่คุณลุงชอบคือการที่ได้มีแสงธรรมชาติที่เข้ามาจากช่องแสงและที่มีพื้นที่ ๆ เปิดโล่ง สามารถคุยกันได้แบบทั่วถึง ซึ่งคุณลุงบอกว่าการอยู่บ้านนี้เหมือนได้ปรอบประโลมหรือได้พักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ และยิ่งเป็นบ้านที่สร้างเองด้วยแล้ว สำหรับตัวเองก็คือนี่แหละที่ ๆ คุณลุงควรจะอยู่...จวบจนมาถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันมี 5 ชั้นและไม่มีลิฟท์ และคุณลุงอายุ 82 แล้ว)
—
และในที่สุดก็มาถึงตอนที่ลุงได้มีโอกาสออกแบบ Church of Light เป็นโปรเจคที่สองและเป็นงานที่เริ่มสร้างชื่อตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตอนนั้นคุณลุงได้ออกแบบเพราะว่าไม่มีใครอยากจะทำโปรเจคเล็ก ๆ แบบนี้ด้วยซ้ำ
—
ทุกคนที่เรียนสถาปัตหรือคนที่เคยไปเยือนน่าจะจำช่องแสงรูปกางเขนด้านหลังของอาคารได้ (ถ้าไม่เคยดูรูปได้ในลิงค์ด้านล่างนะครับ) ตอนที่ออกแบบคุณลุงได้นึกถึงตอนที่การเดินทางท่องเที่ยวแล้วไปที่โบสถ์ Pantheon กรุงโรม ซึ่งมีช่องแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 ม. จากโดมด้านบนอาคารเหมือนกัน (ในปี 1965 ตอนนั้นยังไม่มีโดมกระจกเหมือนในปัจจุบัน) ซึ่งลุงได้สังเกตว่าหลาย ๆ คนจับจ้องที่แสงที่ผ่านเข้ามาแล้วนั้นได้มีความรู้สึกได้ว่า นี่คือแสงแห่งการมีชีวิตอยู่เพื่อวันข้างหน้า และก็ได้เกิดแรงบัลดาลใจว่านี่แหละเราต้องมีชีวิตอยู่ให้เหมือนแสงนี่แหละ เลยได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการออกแบบ ในตอนแรกคุณลุงไม่อยากติดกระจกตรงนั้นซะด้วยซ้ำ เพราะคิดว่าการมีประสบการณ์และสามารถสัมผัสกับธรรมชาตินี่แหละเดอะเบสต์ แต่สุดท้ายโดนคัดค้านจากเหล่าสมาชิกโบสถ์และบาทหลวงเพราะกังวลเรื่องอากาศหนาวก็เลยอด
—
หลังจากนั้นมาจะเห็นได้ว่าธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แสง” นั้นกลายเป็นเอกลักษณ์การออกแบบของคุณลุง แสงที่ส่องสว่างลงมาภายในอาคาร ถึงแม้จะไม่มีสังเคราะห์ใด ๆ คอยช่วย เป็นแสงที่ให้ความหวังภายในห้องที่มืดมิด แสงที่สร้างอารมณ์ความรู้สึก (Emotional) แสงอันเป็นที่จดจำและเป็นนิรันดร์ (Timeless) แสงที่กลับมาจากการสะท้อนแนวคิดของการมีชีวิตอยู่แสงที่สะท้อนความพยายาม ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรคใด ๆ แสงที่มอบความหวังให้คนอื่น เหมือนที่คุณลุงสร้างสรรค์และ เป็นวิถีของการดำเนินชีวิตที่ลุงคอยทำมาตลอดนั่นเอง
—
References:
* https://www.youtube.com/watch?v=0kuLUrEGUOc&t=747s&ab_channel=GREATMINDSOfficial
* https://www.re-thinkingthefuture.com/know-your-architects/a520-15-projects-by-tadao-ando/
* https://showitbetter.co/architects-work-tadao-ando/
* https://www.archdaily.com/101260/ad-classics-church-of-the-light-tadao-ando
* https://www.archdaily.com/802201/ad-classics-roman-pantheon-emperor-hadrian
#siamstr #architecture #tadaoando #สถาปัตยกรรม #ญี่ปุ่น