Libertarian.realpolitik on Nostr: Louis Althusser ...
Louis Althusser บอกไว้ว่ากลไกปราบปรามของรัฐมันสร้างเอกภาพในพื้นที่สาธารณะได้ก็จริง แต่ไม่สามารถปราบปรามกลไกอุดมการณ์ได้ที่อยู่ในขอบเขตของเอกชน (ส่วนบุคคล) ในขณะที่กลไกปราบปรามและกลไกอุดมการณ์ก็ไม่มีสิ่งใดที่ใช้หน้าที่ของตัวเองแบบเพียว ๆ มันต้องมีทั้งสองควบคู่กันไป
กรัมซี่ เลนิน อัลทูแซร์เห็นตรงกันว่า 'ถ้ายึดกลไกทางอุดมการณ์ได้ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา' ก็จะมีแหล่งปักหลักเพื่อผลิตประชากรฝ่ายซ้ายขึ้นมาได้เรื่อย ๆ โดยไม่สูญพันธุ์ ทั้งนี้ตามมุมมองของมาร์กซ์ก็สนับสนุนการประโคมเรื่องของ "การกดขี่" ก็ทำให้พวกฝ่ายซ้ายใช้จังหวะนี้ในการฉวยโอกาสโต้กลับเพื่อสร้างความชอบธรรมในสังคม สร้างพื้นที่ในสังคม กล่าวคือ "ใช้ความขัดแย้งที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางการผลิตไปสู่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของตน"
มาร์กซ์ได้กล่าวสั้น ๆ อยู่ 2 ข้อ (ระบุในงานของตนอย่าง A Contribution to the Critique of Political Economy) ก็คือ (1) การต่อสู้ทางชนชั้นต่อการกดขี่ขูดรีดก็อยู่ภายใต้กลไกทางอุดมการณ์ตรงนี้ก็จะใช้ประโยชน์เพื่อมาทำลายกลไกอุดมการณ์ของรัฐแทนได้ และ (2) การต่อสู้ทางชนชั้นนอกเหนือจากภายในกลไกทางอุดมการณ์ มันสามารถเกิดขึ้นในโครงสร้างส่วนล่าง กล่าวคือ "การผลิต" นำไปสู่ "การกดขี่" และทำให้เกิดการต่อสู้ทางชนชั้นขึ้น
**เน้นย้ำ**
ความสัมพันธ์ทางการผลิต, การผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิต = แรงงานอยู่ในระบบแล้วจะต้องโดนนายทุนกดขี่เสมอ ดังนั้นการมีความสัมพันธ์ทางการผลิตจึงต้องมีการกดขี่เกิดขึ้น
Published at
2023-08-19 08:12:51Event JSON
{
"id": "9d67552845d80660ff6ceec2f65b2254f00a5977f310d2f4ecedf9ecb3fdaccd",
"pubkey": "3f930d5f05b2bb0c962ca56e5008d110a831ddd8395105c9b932c2317cd8ce4b",
"created_at": 1692432771,
"kind": 1,
"tags": [],
"content": "Louis Althusser บอกไว้ว่ากลไกปราบปรามของรัฐมันสร้างเอกภาพในพื้นที่สาธารณะได้ก็จริง แต่ไม่สามารถปราบปรามกลไกอุดมการณ์ได้ที่อยู่ในขอบเขตของเอกชน (ส่วนบุคคล) ในขณะที่กลไกปราบปรามและกลไกอุดมการณ์ก็ไม่มีสิ่งใดที่ใช้หน้าที่ของตัวเองแบบเพียว ๆ มันต้องมีทั้งสองควบคู่กันไป \n\nกรัมซี่ เลนิน อัลทูแซร์เห็นตรงกันว่า 'ถ้ายึดกลไกทางอุดมการณ์ได้ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา' ก็จะมีแหล่งปักหลักเพื่อผลิตประชากรฝ่ายซ้ายขึ้นมาได้เรื่อย ๆ โดยไม่สูญพันธุ์ ทั้งนี้ตามมุมมองของมาร์กซ์ก็สนับสนุนการประโคมเรื่องของ \"การกดขี่\" ก็ทำให้พวกฝ่ายซ้ายใช้จังหวะนี้ในการฉวยโอกาสโต้กลับเพื่อสร้างความชอบธรรมในสังคม สร้างพื้นที่ในสังคม กล่าวคือ \"ใช้ความขัดแย้งที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางการผลิตไปสู่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของตน\" \n\nมาร์กซ์ได้กล่าวสั้น ๆ อยู่ 2 ข้อ (ระบุในงานของตนอย่าง A Contribution to the Critique of Political Economy) ก็คือ (1) การต่อสู้ทางชนชั้นต่อการกดขี่ขูดรีดก็อยู่ภายใต้กลไกทางอุดมการณ์ตรงนี้ก็จะใช้ประโยชน์เพื่อมาทำลายกลไกอุดมการณ์ของรัฐแทนได้ และ (2) การต่อสู้ทางชนชั้นนอกเหนือจากภายในกลไกทางอุดมการณ์ มันสามารถเกิดขึ้นในโครงสร้างส่วนล่าง กล่าวคือ \"การผลิต\" นำไปสู่ \"การกดขี่\" และทำให้เกิดการต่อสู้ทางชนชั้นขึ้น\n\n**เน้นย้ำ**\n\nความสัมพันธ์ทางการผลิต, การผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิต = แรงงานอยู่ในระบบแล้วจะต้องโดนนายทุนกดขี่เสมอ ดังนั้นการมีความสัมพันธ์ทางการผลิตจึงต้องมีการกดขี่เกิดขึ้น",
"sig": "4743ea38d53e4bf61052d81da49a2e1c5f553d723d8749740378777687d7dbd6f5bd5da6b0238ef78f96faff74bac319d1e6dcc837db2ae02059dc9ec44df00e"
}