Why Nostr? What is Njump?
2025-03-06 01:40:05

journaling_our_journey on Nostr: ...



คู่รักหลายคู่เริ่มต้นคบกันในช่วงฤดูหนาว
.
และเนื่องจากช่วงที่พวกเขาเริ่มต้นคบกัน
มันเป็นช่วงที่อากาศหนาว
พวกเขาจึงใช้เวลา indoor ด้วยกันอยู่บ่อยๆ
.
พวกเขานั่งดูซีรี่ส์ด้วยกัน
พวกเขาทำอาหารกินกันภายในห้อง
พวกเขานอนซุกผ้าห่มกอดกัน
ฯลฯ
.
ฟังดู romantic ดีใช่ไหมครับ?
.
อย่างไรก็ตาม
แม้พวกเขาจะสนิทสนมและใกล้ชิดกันมากๆ
แต่พอฤดูหนาวผ่านพ้นไป
(เหมือนอย่างตอนนี้ที่อากาศเริ่มร้อน)
หลายคู่กลับเลิกรากันซะอย่างนั้น
.
มันเกิดอะไรขึ้น?
.
ต่อไปนี้คือเหตุผลที่อาจอยู่เบื้องหลัง
การเลิกกันของคู่รักเหล่านี้ครับ
.
# 1
.
มีการศึกษาพบว่า
เวลาที่เรามองเห็นใครสักคนในช่วงอากาศเย็นๆ
เรามีแนวโน้มที่จะประเมินว่าคนๆนั้น “ดูดี” มากกว่า
เมื่อเทียบกับกรณีที่เราเจอคนๆนั้นในช่วงอากาศร้อนๆ
.
มันจึงเป็นไปได้ครับว่า
ตอนที่คู่รักคบกันช่วงฤดูหนาว
พวกเขาอาจจะรู้สึกพึงพอใจกับรูปร่างหน้าตาแฟนตัวเอง
แต่พอช่วงฤดูหนาวผ่านพ้นไป
พวกเขาอาจจะไม่ได้รู้สึกพึงพอใจเท่าไหร่แล้ว
.
# 2
.
พอช่วงฤดูหนาวผ่านพ้นไป
วิถีชีวิตประจำวันของคนเราก็อาจจะเปลี่ยนไป
.
จากเดิมที่เรามักจะใช้เวลา indoor เยอะในช่วงหน้าหนาว
เราก็อาจจะเปลี่ยนมาทำกิจกรรม outdoor มากขึ้น
และเข้าสังคมมากขึ้นในช่วงที่อากาศอบอุ่นมากขึ้น
.
ตอนนั้นเองที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความสัมพันธ์อาจรู้สึกว่า
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตประจำวันนี้
มันเริ่ม “ไม่เป็นตัวของตัวเอง” อีกต่อไป
ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงนี้ยังถือเป็นเรื่อง “ปกติ” สำหรับอีกฝ่ายหนึ่ง
.
ความ “เข้ากันไม่ได้” นี้จึงอาจเป็นชนวนที่นำมาสู่การเลิกรากันได้
.
# 3
.
ช่วงฤดูหนาวคือช่วงเวลาที่กระตุ้นความรู้สึกเหงา
และโดดเดี่ยวมากเป็นพิเศษในกลุ่มคนโสด
หลายคนจึงตัดสินใจพาตัวเองเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์
เพราะพวกเขามองความสัมพันธ์นั้นเป็น “หลุมหลบภัย”
จากความเหงาและความโดดเดี่ยว
.
เหตุผลของการเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์ข้อนี้
จึงอาจไม่ได้มี “น้ำหนัก” มากพอให้พวกเขา
พร้อมที่จะ “ทำงาน” กับความสัมพันธ์นี้อย่างจริงจัง
ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของพวกเขามีแนวโน้ม
ที่จะจบลงด้วยการเลิกราง่ายขึ้น
เมื่อเทียบกับคนที่เข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์
ด้วยเหตุผลอื่นที่มี “น้ำหนัก” มากกว่านี้
.
อ้างอิง
https://doi.org/10.1068/p5715
https://penntoday.upenn.edu/news/how-psychology-explains-itch-spring-cleaning
https://doi.org/10.5173/ceju.2016.793
https://psycnet.apa.org/doi/10.1037/a0034628

#จิตวิทยา #siamstr
Author Public Key
npub1kmuax8ezgue2zz8z9mhpjgr5x83584g5fqlqlp42048hez4sjp8sz7wk8n