TMP on Nostr: ...
ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลในแง่มุม information นะครับ เหมือนเช่นเคย จะพยายามย่อยให้เข้าใจง่ายเหมือนเดิมนะครับ จะพยายามทำให้เหมือนกับเพื่อนเล่าเรื่องให้ฟังนะครับ (พยายามให้สั้นแล้วทำได้แค่นี้ 😂😂)
Main idea ของข่าวแบบสั้นๆ คือ พาแมวไปทำหมันแล้วเสียชีวิต
ข้อควรคำนึงที่เราควรรู้ก่อนที่เราจะต้องมีการทำหัตถการอะไรที่ต้องวางยาสลบ คือความพร้อมและความเสี่ยงที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ซึ่งในความเสี่ยงการวางยาก็เหมือนกับของคนเลย โดยปกติแล้วหมอทุกคนก็จะต้องพยายามทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดอยู่แล้วไม่ว่าทั้งหมอคนหรือหมอสัตว์ โดยเบื้องต้น เราก็จะต้องมีการตรวจร่างกายสัตว์ก่อน มีการตรวจเลือดเพื่อเช็คเบื้องต้นว่าค่าเม็ดเลือดเป็นอย่างไร ค่าตับไตเป็นยังไง สามารถวางยาได้มั้ย ถ้าสัตว์ที่มีอายุมากขึ้น เราอาจต้องมีการตรวจๆอื่นเพิ่มเติมมากขึ้นเช่นการตรวจหัวใจ เป็นต้น
แต่ก็จะมีข่าวมาเรื่อยๆว่าแมวฉันเป็นแมวเด็กนะ แมวพันธุ์แท้ แข็งแรง ตรวจทุกอย่างปกติ แล้วทำไมถึงตายได้ละ หมอวางยาไม่ดี หมอปลอม ฯลฯ วันนี้ผมจะพามารู้จักโรคหัวใจแฝงในแมว หรือ transient myocardial thickening(TMT) โดยเบื้องต้นผมขอพูดในแง่ที่ว่าไม่ได้มีโรคหรือความผิดปกติอื่นๆแทรกซ้อน การตรวจร่างกายเบื้องต้นเป็นปกติ และทุกอย่างเป็นมาตรฐานนะครับ
โรคหัวใจแฝงในแมว (transient myocardial thickening) ถ้าสั้นๆก็คืออยู่ๆหัวใจแมวก็เกิดหนาตัวมากขึ้นแล้วทำให้การบีบตัวหัวใจผิดปกติ พอหัวใจบีบตัวผิดปกติ ก็เกิดหัวใจวาย(heart failure)และเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรค ณ ตอนนี้ ยังหาสาเหตุของโรคไม่ได้(idiopathic) แต่ที่เรามักจะพบได้บ่อยๆคือความเครียด(ที่ผมเคยเจอ/คุยกับคนอื่นมา เช่น พาแมวไปอาบน้ำแล้วแมวเครียดเลยเป็น, การจับบังคับที่เยอะ, อยู่นอกบ้านแล้วเครียดแล้วเป็น ถ้าในข่าวที่เราพบบ่อยๆก็คือแมวแข็งแรงพาไปทำหมันแล้วเสียชีวิต เป็นต้น) อาการที่เราพบเจอได้คืออยู่ๆแมวเราก็ดูหายใจลำบากมากขึ้น หอบ อ้าปากหายใจ ซึ่งโดยปกติแล้วถ้าไม่ได้มีอะไรเหนี่ยวนำมาก่อนเราจะไม่มีทางรู้ว่าแมวเรามีโรคนี้ ไม่ว่าเราจะมีการตรวจ x-ray, echocardiogram, ตรวจค่าเลือดที่เกี่ยวกับหัวใจ เราจะมาตรวจเจอก็ต่อเมื่อแมวเรามีความผิดปกตินี้เกิดขึ้นแล้ว
โรคนี้แมวพันธุ์ไหนเจอได้บ้าง ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินคือทุกสายพันธุ์ครับ แต่เราจะเจอได้บ่อยได้แมวพันธุ์มากกว่าแมวไทยครับ
การรักษาเราก็จะรักษาในแนวเดียวกับแมวที่เป็นโรคหัวใจ จะเป็นการรักษาทางยาเป็นหลัก แต่ตัวโรคนี้สามารถหายได้ครับ บางรายสามารถ recover กลับมาปกติได้ แต่ในบางรายก็อาจจะเป็นโรคหัวใจต่อได้เลยก็มีเช่นกัน
สุดท้ายผมไม่ได้อยากให้คนเลี้ยงแมวทุกคนกลัว แต่อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันสามารถเกิดสิ่งนี้ขึ้นได้ ผมมองว่าความรู้คือสิ่งที่ป้องกันตัวเองได้ดีที่สุด สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคือคนที่เลี้ยงแมวคือคนที่รู้จักแมวเราดีที่สุด คำแนะนำเบื้องต้นในมุมมองของผมคือ สิ่งแรกที่เราควรรู้คือแมวเรามีนิสัยอย่างไร มีนิสัยขี้กลัวหรือไม่ เครียดง่ายหรือไม่ ถ้าแมวเรามีประวัติเรื่องเครียดหรือกลัวง่าย เราอาจจะต้องระวังเรื่องนี้มากกว่าแมวที่ไม่ได้มีนิสัยประมาณนี้ เพราะ ความเครียดในแมวสามารถเหนี่ยวนำโรคอื่นๆได้เช่นกัน ถ้ามีเวลาและโอกาสสามารถพาแมวมาตรวจสุขภาพได้ก็จะเป็นการ monitor ร่างกายได้ว่าเบื้องต้นมีอะไรปกติผิดปกติหรือไม่ครับ เหมือนกับคนเราที่ไปตรวจร่างกายนั้นเอง
ปล FYI, DYOR
ปล2 คำค้น transient myocardial thickening in cats
Ref : ภาพจากเพจโหนกระแส
#siamstr
Published at
2024-09-10 08:54:13Event JSON
{
"id": "d4c385ec55c8102611890cc5766c0e17944aea5075ced8470fdc730a5c7285fd",
"pubkey": "c30d2acca0b9bd38427679d5e2cb940d29b7225e0d43ca8df3f15c1515955286",
"created_at": 1725958453,
"kind": 1,
"tags": [
[
"imeta",
"url https://image.nostr.build/019654de245a4da42fc2964eed299180c37fed4efac01fb63f3f077ff566451b.jpg",
"m image/jpeg",
"x 668652f81d2970fe53104cb11fd683c9662a2b361e402423700f103cc7adfebb",
"ox 019654de245a4da42fc2964eed299180c37fed4efac01fb63f3f077ff566451b",
"blurhash L[LW;ZfkRjbI?^ayoLs:=|WBofbH",
"dim 1170x1826",
"alt 019654de245a4da42fc2964eed299180c37fed4efac01fb63f3f077ff566451b.jpg",
"thumb https://image.nostr.build/thumb/019654de245a4da42fc2964eed299180c37fed4efac01fb63f3f077ff566451b.jpg",
"image https://image.nostr.build/resp/1080p/019654de245a4da42fc2964eed299180c37fed4efac01fb63f3f077ff566451b.jpg",
"size 273346"
],
[
"t",
"siamstr"
]
],
"content": "ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลในแง่มุม information นะครับ เหมือนเช่นเคย จะพยายามย่อยให้เข้าใจง่ายเหมือนเดิมนะครับ จะพยายามทำให้เหมือนกับเพื่อนเล่าเรื่องให้ฟังนะครับ (พยายามให้สั้นแล้วทำได้แค่นี้ 😂😂)\n\nMain idea ของข่าวแบบสั้นๆ คือ พาแมวไปทำหมันแล้วเสียชีวิต \n\nข้อควรคำนึงที่เราควรรู้ก่อนที่เราจะต้องมีการทำหัตถการอะไรที่ต้องวางยาสลบ คือความพร้อมและความเสี่ยงที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ซึ่งในความเสี่ยงการวางยาก็เหมือนกับของคนเลย โดยปกติแล้วหมอทุกคนก็จะต้องพยายามทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดอยู่แล้วไม่ว่าทั้งหมอคนหรือหมอสัตว์ โดยเบื้องต้น เราก็จะต้องมีการตรวจร่างกายสัตว์ก่อน มีการตรวจเลือดเพื่อเช็คเบื้องต้นว่าค่าเม็ดเลือดเป็นอย่างไร ค่าตับไตเป็นยังไง สามารถวางยาได้มั้ย ถ้าสัตว์ที่มีอายุมากขึ้น เราอาจต้องมีการตรวจๆอื่นเพิ่มเติมมากขึ้นเช่นการตรวจหัวใจ เป็นต้น\n\nแต่ก็จะมีข่าวมาเรื่อยๆว่าแมวฉันเป็นแมวเด็กนะ แมวพันธุ์แท้ แข็งแรง ตรวจทุกอย่างปกติ แล้วทำไมถึงตายได้ละ หมอวางยาไม่ดี หมอปลอม ฯลฯ วันนี้ผมจะพามารู้จักโรคหัวใจแฝงในแมว หรือ transient myocardial thickening(TMT) โดยเบื้องต้นผมขอพูดในแง่ที่ว่าไม่ได้มีโรคหรือความผิดปกติอื่นๆแทรกซ้อน การตรวจร่างกายเบื้องต้นเป็นปกติ และทุกอย่างเป็นมาตรฐานนะครับ\n\nโรคหัวใจแฝงในแมว (transient myocardial thickening) ถ้าสั้นๆก็คืออยู่ๆหัวใจแมวก็เกิดหนาตัวมากขึ้นแล้วทำให้การบีบตัวหัวใจผิดปกติ พอหัวใจบีบตัวผิดปกติ ก็เกิดหัวใจวาย(heart failure)และเสียชีวิตได้ \n\nสาเหตุของโรค ณ ตอนนี้ ยังหาสาเหตุของโรคไม่ได้(idiopathic) แต่ที่เรามักจะพบได้บ่อยๆคือความเครียด(ที่ผมเคยเจอ/คุยกับคนอื่นมา เช่น พาแมวไปอาบน้ำแล้วแมวเครียดเลยเป็น, การจับบังคับที่เยอะ, อยู่นอกบ้านแล้วเครียดแล้วเป็น ถ้าในข่าวที่เราพบบ่อยๆก็คือแมวแข็งแรงพาไปทำหมันแล้วเสียชีวิต เป็นต้น) อาการที่เราพบเจอได้คืออยู่ๆแมวเราก็ดูหายใจลำบากมากขึ้น หอบ อ้าปากหายใจ ซึ่งโดยปกติแล้วถ้าไม่ได้มีอะไรเหนี่ยวนำมาก่อนเราจะไม่มีทางรู้ว่าแมวเรามีโรคนี้ ไม่ว่าเราจะมีการตรวจ x-ray, echocardiogram, ตรวจค่าเลือดที่เกี่ยวกับหัวใจ เราจะมาตรวจเจอก็ต่อเมื่อแมวเรามีความผิดปกตินี้เกิดขึ้นแล้ว\n\nโรคนี้แมวพันธุ์ไหนเจอได้บ้าง ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดินคือทุกสายพันธุ์ครับ แต่เราจะเจอได้บ่อยได้แมวพันธุ์มากกว่าแมวไทยครับ\n\nการรักษาเราก็จะรักษาในแนวเดียวกับแมวที่เป็นโรคหัวใจ จะเป็นการรักษาทางยาเป็นหลัก แต่ตัวโรคนี้สามารถหายได้ครับ บางรายสามารถ recover กลับมาปกติได้ แต่ในบางรายก็อาจจะเป็นโรคหัวใจต่อได้เลยก็มีเช่นกัน\n\nสุดท้ายผมไม่ได้อยากให้คนเลี้ยงแมวทุกคนกลัว แต่อยากให้ทุกคนรู้ว่ามันสามารถเกิดสิ่งนี้ขึ้นได้ ผมมองว่าความรู้คือสิ่งที่ป้องกันตัวเองได้ดีที่สุด สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อคือคนที่เลี้ยงแมวคือคนที่รู้จักแมวเราดีที่สุด คำแนะนำเบื้องต้นในมุมมองของผมคือ สิ่งแรกที่เราควรรู้คือแมวเรามีนิสัยอย่างไร มีนิสัยขี้กลัวหรือไม่ เครียดง่ายหรือไม่ ถ้าแมวเรามีประวัติเรื่องเครียดหรือกลัวง่าย เราอาจจะต้องระวังเรื่องนี้มากกว่าแมวที่ไม่ได้มีนิสัยประมาณนี้ เพราะ ความเครียดในแมวสามารถเหนี่ยวนำโรคอื่นๆได้เช่นกัน ถ้ามีเวลาและโอกาสสามารถพาแมวมาตรวจสุขภาพได้ก็จะเป็นการ monitor ร่างกายได้ว่าเบื้องต้นมีอะไรปกติผิดปกติหรือไม่ครับ เหมือนกับคนเราที่ไปตรวจร่างกายนั้นเอง\n\nปล FYI, DYOR\nปล2 คำค้น transient myocardial thickening in cats\nRef : ภาพจากเพจโหนกระแส\n\n#siamstr\n\n\n\nhttps://image.nostr.build/019654de245a4da42fc2964eed299180c37fed4efac01fb63f3f077ff566451b.jpg",
"sig": "9f8a28fc5d6d3146927bd4e8d155f2935a05b3fbd20ea9f0b901f3c7ecbb3f61d589961392bdb0f7236f2ed9abff1c7cfc4273e6fafacfb4bb2cfe7587b230a1"
}