Why Nostr? What is Njump?
2025-03-18 03:15:47

journaling_our_journey on Nostr: ...



หนึ่งในความรู้สึกที่สามารถกัดกินใจเราได้มากที่สุดคือความรู้สึกผิด
.
หลายคนเปรียบเปรยความรู้สึกผิดว่าเป็นเหมือนกับ “เชื้อโรค” พวกเขามองว่า หากพวกเขาไม่รีบกำจัด “เชื้อโรค” นี้และปล่อยให้มันกระจายไปทั่วร่างกาย มันจะทำให้ร่างกายของพวกเขา shut down เอาได้ง่ายๆ
.
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนพยายาม “ปัด” ความรู้สึกผิดทิ้ง ทุกครั้งที่ความรู้สึกดังกล่าวโผล่เข้ามาในใจ
.
แต่ข้อสังเกตข้อหนึ่งก็คือ ไม่ว่าพวกเขาจะพยายาม “ปัด” ความรู้สึกผิดทิ้งกี่รอบ ความรู้สึกดังกล่าวก็ยังคงโผล่ขึ้นมาในใจเป็นระยะๆอยู่ดี
.
ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น?
.
สาเหตุที่เป็นไปได้ข้อหนึ่งก็คือ ความรู้สึกผิดของพวกเขามี “ข้อความ” บางอย่างที่ต้องการจะบอกพวกเขาครับ
.
พวกเขาจำเป็นต้องให้เวลากับตัวเอง นั่งอยู่กับความรู้สึกผิดของตัวเองสักพัก และเปิดใจ “ฟัง” ว่าความรู้สึกผิดของพวกเขาต้องการให้พวกเขารับรู้อะไรบ้าง
.
ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกผิดของเขาอาจต้องการให้เขารับรู้ว่า ตอนที่เขานอกใจแฟนเก่านั้น สิ่งที่เขาทำลงไปมันสร้างความเจ็บปวดให้กับแฟนเก่าเป็นอย่างมาก เป็นต้น
.
หลังจากที่พวกเขาเปิดใจ “ฟังข้อความ” ที่มาจากความรู้สึกผิดของพวกเขาแล้ว ขั้นตอนต่อไปของพวกเขาคือการ “ลงมือทำ”
.
ยกตัวอย่างเช่น แม้จะย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่อย่างน้อยที่สุด เขาก็สามารถขอโทษแฟนเก่าได้ (แม้แฟนเก่าจะไม่ให้อภัยก็ตาม) และหากเขามีแฟนใหม่ในอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างเขากับแฟนใหม่มีปัญหา เขาก็จะหยิบปัญหานั้นมาหาทางออกร่วมกันกับแฟนใหม่ ซึ่งถ้าเขาไม่สามารถหาทางออกที่น่าพึงพอใจได้ เขาก็จะเลิกกับแฟนใหม่ (จะไม่มีการนอกใจระหว่างที่ยังคบกันอยู่อีก) เป็นต้น
.
ทั้งหมดนี้อาจจะไม่ทำให้เสียงของความรู้สึกผิดเงียบหายไปจากใจได้โดยสมบูรณ์สำหรับทุกๆคนก็จริง แต่อย่างน้อยที่สุด หลายคนจะพบว่า เสียงของความรู้สึกผิดมันมีระดับ volume ที่เบาลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเลยครับ
.
อ้างอิง
Haaga, D. A. F. (2000). The psychology of guilt and shame: New perspectives. In P. R. Shaver & M. S. Mikulincer (Eds.), Human emotions: A handbook of research (pp. 354-376). Guilford Press.
Tangney, J. P. (1995). Shame and guilt in interpersonal relationships. In J. P. Tangney and K. W. Fischer (Eds.), Self-Conscious Emotions: The Psychology of Shame, Guilt, Embarrassment, and Pride (pp. 114-390). New York: Guilford

#จิตวิทยา #siamstr
Author Public Key
npub1kmuax8ezgue2zz8z9mhpjgr5x83584g5fqlqlp42048hez4sjp8sz7wk8n