Lina Engword on Nostr: ...
ภาพการรวมตัวของพ่อค้าชาในตลาดที่วาดขึ้นในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง นั้น เป็นภาพที่วาดขึ้นโดยมีภาพ “แข่งชงชา” (斗浆图) สมัยซ่งใต้เป็นภาพต้นฉบับ ภาพต้นฉบับนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประจำมณฑลเฮยหลงเจียง
ธรรมเนียมการวาดก๊อปปี้ภาพโบราณที่มีชื่อเสียงนี้เป็นสิ่งที่ทำกันในวัฒนธรรมจีน ทำนองเป็นการยกย่องภาพต้นฉบับ อย่างภาพ “สีสันสองฝั่งน้ำในช่วงเทศกาลเชงเม้ง” (清明上河圖) มีเป็นสิบเวอร์ชั่น ทั้งที่วาดในสมัยหมิงและสมัยชิง กู้กงไต้หวันเคยเอาออกมาจัดแสดงพร้อมกันเป็นสิบภาพ ปีนั้นไปไต้หวันพอดีเลยได้เห็นของจริงละลานตามากครับ
การชงชาสมัยซ่งนั้นเป็นการชงชาผงในถ้วยชาขนาดใหญ่ ไซส์ประมาณถ้วยข้าวของคนจีน ใช้แปรงไม้ไผ่ตีผงชากับน้ำร้อน แบบเดียวกับการชงชาผงของญี่ปุ่นที่รับไปจากจีนในสมัยซ่ง ต่างกันที่ชาผงที่ชงสมัยซ่งจะนิยมน้ำชาสีขาว ไม่ใช่สีเขียวเหมือนชาผงญี่ปุ่นในปัจจุบัน เมื่อน้ำชาเป็นสีขาวเพื่อให้เห็นสีและฟองที่เกิดจากการตีได้ชัดเจน ถ้วยชาที่นิยมในสมัยซ่งจึงเป็นถ้วยชาสีเข้ม เช่น เคลือบเจี้ยน หรือ เทียนมู่ (สีดำ-น้ำตาล) เคลือบจี้โจว (สีดำ-น้ำตาล) นอกจากนี้เคลือบสีอื่นสมัยซ่งก็มีทำเป็นถ้วยชาเหมือนกัน เช่น เคลือบติ้ง (สีขาวครีม) เคลือบชิงไบ๋ (สีเขียวฟ้า) เคลือบเหยาโจว (สีเขียวมะกอก) เคลือบเกอ (สีเขียวมีรอยแตกรานของน้ำเคลือบสีดำ) เคลือบหลงฉวน (สีเขียว) ตรงนี้จะสังเกตว่าภาพในเวอร์ชั่นสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงถ้วยชาจะเป็นเคลือบที่ไม่มีในสมัยซ่ง เช่น ลายคราม (เกิดในสมัยราชวงศ์หยวน) เคลือบสีน้ำเงิน (เกิดสมัยหมิง) เคลือบสีเขียวอ่อน เคลือบสีชมพู (เกิดสมัยชิง)
ลักษณะเด่นอีกอย่างของภาชนะต้มน้ำชงชาสมัยซ่งคือจะมีพวยยาวปลายเรียวเล็ก เพื่อให้น้ำที่เทออกมามีแรงดันสูงช่วยให้ผงชาผสมกับน้ำได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้แปรงไม้ไผ่ตีชาให้เข้ากันจนเป็นฟองเนียนละเอียด ความนิยมอีกอย่างที่เกิดขึ้นจากการตีชาคือแข่งกันว่าฟองชาที่ได้จากการตีของใครจะเนียนละเอียดและอยู่ได้นานกว่ากัน
เรื่องการชงชาสมัยซ่งนี้ท่านประธานหมีได้พูดหลายครั้งแล้ว รูปภาพเกี่ยวกับการชงชาสมัยซ่งและรายละเอียดต่างๆ ก็เคยเอามาแชร์ในเพจไว้จะขุดขึ้นมาให้ดูอีกรอบครับ
ตามที่คุณ Chonnakan Chompun ได้ให้ข้อมูลว่าด้วยความที่การชงชาผงยุ่งยาก คนทั่วไปเข้าไม่ถึงจึงมีพ่อค้าแบกอุปกรณ์ชงชาเดินเร่ขายชาตอบสนองลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย
และด้วยความที่การชงชาผงยุ่งยากทั้งกระบวนการทำชา การบดชาให้เป็นผง ต้องร่อนชาต้องกรอง ชงก็ยาก จักรพรรดิหมิงไท่จู จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงจึงมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกชาผง เปลี่ยนมาชงชาใบ จากนั้นชาผงก็เสื่อมความนิยมลง แต่ในญี่ปุ่นไม่มีใครห้ามเลยยังชงชาผงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันครับ
ภาพการรวมตัวพ่อค้าชา วาดสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง
Published at
2024-07-23 23:04:14Event JSON
{
"id": "a746742886eca77bf94fcd620e2bf674e86255435f21f2f07ac7fa057c5f8862",
"pubkey": "d360efec41c120fe993b3d984863fd05ff41314fe6783191019cf7eb14907b5f",
"created_at": 1721775854,
"kind": 1,
"tags": [],
"content": "ภาพการรวมตัวของพ่อค้าชาในตลาดที่วาดขึ้นในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง นั้น เป็นภาพที่วาดขึ้นโดยมีภาพ “แข่งชงชา” (斗浆图) สมัยซ่งใต้เป็นภาพต้นฉบับ ภาพต้นฉบับนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประจำมณฑลเฮยหลงเจียง\n\nธรรมเนียมการวาดก๊อปปี้ภาพโบราณที่มีชื่อเสียงนี้เป็นสิ่งที่ทำกันในวัฒนธรรมจีน ทำนองเป็นการยกย่องภาพต้นฉบับ อย่างภาพ “สีสันสองฝั่งน้ำในช่วงเทศกาลเชงเม้ง” (清明上河圖) มีเป็นสิบเวอร์ชั่น ทั้งที่วาดในสมัยหมิงและสมัยชิง กู้กงไต้หวันเคยเอาออกมาจัดแสดงพร้อมกันเป็นสิบภาพ ปีนั้นไปไต้หวันพอดีเลยได้เห็นของจริงละลานตามากครับ\n\nการชงชาสมัยซ่งนั้นเป็นการชงชาผงในถ้วยชาขนาดใหญ่ ไซส์ประมาณถ้วยข้าวของคนจีน ใช้แปรงไม้ไผ่ตีผงชากับน้ำร้อน แบบเดียวกับการชงชาผงของญี่ปุ่นที่รับไปจากจีนในสมัยซ่ง ต่างกันที่ชาผงที่ชงสมัยซ่งจะนิยมน้ำชาสีขาว ไม่ใช่สีเขียวเหมือนชาผงญี่ปุ่นในปัจจุบัน เมื่อน้ำชาเป็นสีขาวเพื่อให้เห็นสีและฟองที่เกิดจากการตีได้ชัดเจน ถ้วยชาที่นิยมในสมัยซ่งจึงเป็นถ้วยชาสีเข้ม เช่น เคลือบเจี้ยน หรือ เทียนมู่ (สีดำ-น้ำตาล) เคลือบจี้โจว (สีดำ-น้ำตาล) นอกจากนี้เคลือบสีอื่นสมัยซ่งก็มีทำเป็นถ้วยชาเหมือนกัน เช่น เคลือบติ้ง (สีขาวครีม) เคลือบชิงไบ๋ (สีเขียวฟ้า) เคลือบเหยาโจว (สีเขียวมะกอก) เคลือบเกอ (สีเขียวมีรอยแตกรานของน้ำเคลือบสีดำ) เคลือบหลงฉวน (สีเขียว) ตรงนี้จะสังเกตว่าภาพในเวอร์ชั่นสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงถ้วยชาจะเป็นเคลือบที่ไม่มีในสมัยซ่ง เช่น ลายคราม (เกิดในสมัยราชวงศ์หยวน) เคลือบสีน้ำเงิน (เกิดสมัยหมิง) เคลือบสีเขียวอ่อน เคลือบสีชมพู (เกิดสมัยชิง)\n\nลักษณะเด่นอีกอย่างของภาชนะต้มน้ำชงชาสมัยซ่งคือจะมีพวยยาวปลายเรียวเล็ก เพื่อให้น้ำที่เทออกมามีแรงดันสูงช่วยให้ผงชาผสมกับน้ำได้ง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้แปรงไม้ไผ่ตีชาให้เข้ากันจนเป็นฟองเนียนละเอียด ความนิยมอีกอย่างที่เกิดขึ้นจากการตีชาคือแข่งกันว่าฟองชาที่ได้จากการตีของใครจะเนียนละเอียดและอยู่ได้นานกว่ากัน\n\nเรื่องการชงชาสมัยซ่งนี้ท่านประธานหมีได้พูดหลายครั้งแล้ว รูปภาพเกี่ยวกับการชงชาสมัยซ่งและรายละเอียดต่างๆ ก็เคยเอามาแชร์ในเพจไว้จะขุดขึ้นมาให้ดูอีกรอบครับ\n\nตามที่คุณ Chonnakan Chompun ได้ให้ข้อมูลว่าด้วยความที่การชงชาผงยุ่งยาก คนทั่วไปเข้าไม่ถึงจึงมีพ่อค้าแบกอุปกรณ์ชงชาเดินเร่ขายชาตอบสนองลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย\n\nและด้วยความที่การชงชาผงยุ่งยากทั้งกระบวนการทำชา การบดชาให้เป็นผง ต้องร่อนชาต้องกรอง ชงก็ยาก จักรพรรดิหมิงไท่จู จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงจึงมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกชาผง เปลี่ยนมาชงชาใบ จากนั้นชาผงก็เสื่อมความนิยมลง แต่ในญี่ปุ่นไม่มีใครห้ามเลยยังชงชาผงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันครับ\n\nภาพการรวมตัวพ่อค้าชา วาดสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง https://image.nostr.build/fcf40f2a8a0f0fa63b70e716635ffe1d6b2579791534d1b415fa1bae798c4f14.jpg",
"sig": "306ffb827b9dc9646a6346f1e7ca38e58e45a846975506b88fe0e70453659f6a4e7a049fdb80d3ba7641d49ecfed6be39ebdc43d68f7a03368dd86488e6066e0"
}