
เมื่อไม่นานมานี้
ผมได้อ่านเรื่องราวของคนๆหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็ง
.
.
.
อาการของเขาหนักมาก
แต่เขาก็สู้สุดฤทธิ์
และพาตัวเองเข้ารับการรักษาอย่างเต็มเหนี่ยว
.
.
.
จนในที่สุด เขาก็หายป่วย
และกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง
.
.
.
พอผู้คนได้รับรู้ถึงเรื่องราวของเขา
หลายคนมองเขาในแง่บวก
หลายคนชื่นชมในความสู้สุดฤทธิ์ของเขา
.
.
.
ผมอ่านเรื่องราวของคนๆนี้แล้ว
ผมอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามกับตัวเองว่า
.
.
.
หากเรื่องราวในข้างต้นไม่ใช่เรื่องราวของคนที่ป่วยเป็นมะเร็ง
หากเรื่องราวในข้างต้นเป็นเรื่องราวของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
.
.
.
พอผู้คนได้รับรู้ถึงเรื่องราวของเขา
ปฏิกิริยาของผู้คนจะเป็นอย่างไร?
.
.
.
หลายคนจะยังคงมองเขาในแง่บวกอยู่หรือไม่?
หลายคนจะยังคงชื่นชมในความสู้สุดฤทธิ์ของเขาอยู่หรือไม่?
.
.
.
สำหรับคนที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจำนวนไม่น้อย
คำตอบที่มีให้คำถามในข้างต้น…เป็นคำตอบที่ไม่ค่อยสวยเท่าไหร่นัก
.
.
.
เพราะสำหรับคนที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจำนวนไม่น้อย
เมื่อคนอื่นรับรู้ว่าพวกเขาเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
พวกเขาก็จะถูก “แปะป้าย” ด้วยคำตัดสินใจเชิงลบต่างๆนานาเรียบร้อยแล้ว
.
.
.
บ้า ขี้เกียจ เรียกร้องความสนใจ อ่อนแอ ไร้ความสามารถ ฯลฯ
.
.
.
มันช่างเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างจากกรณีของคนที่เคยป่วยเป็นมะเร็งเหลือเกิน
.
.
.
ทั้งหมดที่ผมเขียนมานี้
ผมไม่ได้คาดหวังให้ทุกคนหันมาชื่นชมอดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (หรือโรคจิตเวชอื่นๆ) นะครับ
.
.
.
เพียงแค่เราไม่ “แปะป้าย” พวกเขาด้วยคำตัดสินเชิงลบ…ก็ดีมากๆแล้วครับ
#จิตวิทยา #siamstr