SOUP on Nostr: ...
“ผลิตผลทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
เป็นประโยชน์กับทุกคนเสมอ
ไม่ว่าในทางใดก็ทางหนึ่ง”
เป็นโพสของอาจารย์พิริยะ ที่เรียกได้ว่าคือ
“หลักการพื้นฐาน” ของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
ที่หลายคนอาจหลงลืม และซุปอยากขยายความต่อ
เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ระบบที่แฟร์จริง”
.
เราถูกสอนให้คิดว่า ถ้ามีคนรวยขึ้น ต้องมีใครอีกคนจนลง แต่ในความเป็นจริง ระบบตลาดเสรีไม่ได้ทำงานแบบนั้นเลย เพราะเมื่อมีคนผลิตของที่ดีขึ้น ผลิตได้เร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง สินค้าที่เคยเข้าถึงยาก ก็เริ่มกลายเป็นของธรรมดาที่ใครก็ใช้ได้
.
คนหนึ่งคนที่ผลิตเพิ่มขึ้น อาจได้กำไรมากขึ้น แต่คนอีกเป็นล้านกลับได้ใช้สินค้าที่ถูกลง ชีวิตง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เห็นได้ชัดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่ใช่เพราะมีใครต้อง “เสียสละจากการบังคับ” แต่เพราะทุกคนแลกเปลี่ยนกัน “ด้วยความสมัครใจ”
นี่คือหลักการที่เศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียนเชื่อมั่นมาตลอด ว่าเสรีภาพในการผลิตและแลกเปลี่ยน คือรากฐานของความมั่งคั่งร่วมกัน “การแบ่งงานกันทำ” ของคนที่ถนัดต่างกัน คือวิธีที่มนุษย์สร้างสังคมเจริญขึ้นมาได้จริง ไม่ใช่เพราะรัฐสั่งให้ทำ แต่เพราะทุกคนเห็นประโยชน์ร่วมกันและยินดีแลกเปลี่ยนกันเอง
.
ปัญหาคือ วันนี้เราไม่ได้อยู่ในตลาดเสรีจริง
แต่เราอยู่ในระบบที่รัฐเข้ามาเขียนกติกา
ออกใบอนุญาต ควบคุมอุตสาหกรรม กำหนดราคา
และที่แย่คือการออกกฎที่เอื้อให้พวกพ้อง ทำให้บางคนได้เปรียบในตลาด โดยไม่ได้มาจากการผลิตเก่งหรือบริการดีแต่มาจากการมีสายสัมพันธ์กับอำนาจ (แบบนี้คือ ทุนนิยมพวกพ้อง)
.
แล้วคนทั่วไปที่เห็นภาพแบบนี้ ก็พากันเรียกร้องให้รัฐเข้ามาจัดการ ทั้งที่จริงแล้ว…คนที่ควรรับผิดชอบ คือรัฐเอง ที่เปิดช่องให้เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก
.
เราจึงติดกับดักเดิมซ้ำๆ คือรัฐสร้างปัญหา แล้วใช้ปัญหานั้นเป็นข้ออ้างในการขยายอำนาจ
สุดท้ายมันก็ยิ่งบิดเบือนระบบเศรษฐกิจให้ผิดเพี้ยนเข้าไปอีก จนคนทำงานจริง ผลิตของจริง กลับไม่มีที่ยืนในระบบ
.
.
ให้เห็นภาพต่อว่า ถ้ามีคนผลิตมากขึ้น ทุกคนในระบบจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเสมอ ตราบใดที่
1 เขาไม่ได้ขโมยใคร
2 เขาแลกเปลี่ยนบนความสมัครใจ เท่านั้นยังไม่พอ
3 “เงิน” มันต้องเป็นกระจกสะท้อนคุณค่าจากการผลิต
ไม่ใช่เงินที่สร้างจากหนี้แล้วใช้กฎหมายยังคับว่ามันมีค่า
ถ้าเงื่อนไขสามข้อนี้ยังอยู่ครบ
ทุนนิยมตลาดเสรีที่แท้จริง ก็จะเป็นระบบที่ยั่งยืน
และแฟร์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์เรายังไม่เคยแยกอำนาจการเงินออกจากมือมนุษย์ได้เลย
เพราะถ้าเราปล่อยให้รัฐพิมพ์เงินได้อย่างอิสระ
ลดคุณค่าของเงินได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ
และแทรกแซงราคาตลาดโดยไม่มีการผลิตรองรับ
เมื่อถึงจุดนั้น ต่อให้เราผลิตเก่งแค่ไหน เราก็ไม่มีทางรวยขึ้น เพราะรางวัลไม่ได้แจกตามผลงาน
แต่แจกตามความใกล้ชิตผู้มีอำนาจ
เมื่อเงินเสื่อมค่าลงทุกวัน ข้าวของแพงขึ้น
เราต้องทำงานหนักขึ้น แต่ซื้อของได้น้อยลง
แล้วเราจะเริ่มถามตัวเองว่า
“เรากำลังทำงานสร้างคุณค่าจริงๆ
ขยันจนแทบไม่มีเวลาหายใจ
แต่สุดท้ายเรากำลังก้าวไปเดินหน้า
หรือแค่พยายามเอาตัวรอดในระบบที่ไม่ยุติธรรม”
และในวันนั้น…คุณอาจจะย้อนนึกถึงประโยคนี้
ที่อาจารย์เคยโพสแล้วอาจไม่ได้คิดว่ามันสำคัญ
ปล.วันนี้เราอาจเห็นต่างกันเรื่องบทบาทของรัฐ
แต่ซุปคิดว่าจุดร่วมของคำถามนี้คือ
ระบบเศรษฐกิจที่ดี ควรให้รางวัลกับผู้ผลิต
หรือให้รางวัลกับคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจ…
#Siamstr
Published at
2025-04-02 04:04:32Event JSON
{
"id": "7297c9f2e89da796dacd6546de3390ca7510e3c1213bff49638b2a3e982966f0",
"pubkey": "d5c3d0636715f1a9d5be2af8adae092d75579623ab223f7e970516184d1159b3",
"created_at": 1743566672,
"kind": 30023,
"tags": [
[
"client",
"Yakihonne",
"31990:20986fb83e775d96d188ca5c9df10ce6d613e0eb7e5768a0f0b12b37cdac21b3:1700732875747"
],
[
"published_at",
"1743566672"
],
[
"d",
"0_o23BHxlJ2igbuomgFU5"
],
[
"image",
"https://image.nostr.build/df4f56e496f0c9f54ec8041f8715841e2c5b0ad080565b3816c8128cdd2b7b29.jpg"
],
[
"title",
"ใครผลิต ใครได้ประโยชน์"
],
[
"summary",
""
],
[
"zap",
"d5c3d0636715f1a9d5be2af8adae092d75579623ab223f7e970516184d1159b3",
"",
"100"
],
[
"t",
"Siamstr"
]
],
"content": "\"ผลิตผลทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น \nเป็นประโยชน์กับทุกคนเสมอ \nไม่ว่าในทางใดก็ทางหนึ่ง\"\n\nเป็นโพสของอาจารย์พิริยะ ที่เรียกได้ว่าคือ\n“หลักการพื้นฐาน” ของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ\nที่หลายคนอาจหลงลืม และซุปอยากขยายความต่อ \nเพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ระบบที่แฟร์จริง”\n.\nเราถูกสอนให้คิดว่า ถ้ามีคนรวยขึ้น ต้องมีใครอีกคนจนลง แต่ในความเป็นจริง ระบบตลาดเสรีไม่ได้ทำงานแบบนั้นเลย เพราะเมื่อมีคนผลิตของที่ดีขึ้น ผลิตได้เร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง สินค้าที่เคยเข้าถึงยาก ก็เริ่มกลายเป็นของธรรมดาที่ใครก็ใช้ได้\n.\nคนหนึ่งคนที่ผลิตเพิ่มขึ้น อาจได้กำไรมากขึ้น แต่คนอีกเป็นล้านกลับได้ใช้สินค้าที่ถูกลง ชีวิตง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เห็นได้ชัดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่ใช่เพราะมีใครต้อง \"เสียสละจากการบังคับ\" แต่เพราะทุกคนแลกเปลี่ยนกัน \"ด้วยความสมัครใจ\"\n\nนี่คือหลักการที่เศรษฐศาสตร์สำนักออสเตรียนเชื่อมั่นมาตลอด ว่าเสรีภาพในการผลิตและแลกเปลี่ยน คือรากฐานของความมั่งคั่งร่วมกัน \"การแบ่งงานกันทำ\" ของคนที่ถนัดต่างกัน คือวิธีที่มนุษย์สร้างสังคมเจริญขึ้นมาได้จริง ไม่ใช่เพราะรัฐสั่งให้ทำ แต่เพราะทุกคนเห็นประโยชน์ร่วมกันและยินดีแลกเปลี่ยนกันเอง\n.\nปัญหาคือ วันนี้เราไม่ได้อยู่ในตลาดเสรีจริง\nแต่เราอยู่ในระบบที่รัฐเข้ามาเขียนกติกา\nออกใบอนุญาต ควบคุมอุตสาหกรรม กำหนดราคา\nและที่แย่คือการออกกฎที่เอื้อให้พวกพ้อง ทำให้บางคนได้เปรียบในตลาด โดยไม่ได้มาจากการผลิตเก่งหรือบริการดีแต่มาจากการมีสายสัมพันธ์กับอำนาจ (แบบนี้คือ ทุนนิยมพวกพ้อง)\n.\nแล้วคนทั่วไปที่เห็นภาพแบบนี้ ก็พากันเรียกร้องให้รัฐเข้ามาจัดการ ทั้งที่จริงแล้ว...คนที่ควรรับผิดชอบ คือรัฐเอง ที่เปิดช่องให้เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่แรก\n.\nเราจึงติดกับดักเดิมซ้ำๆ คือรัฐสร้างปัญหา แล้วใช้ปัญหานั้นเป็นข้ออ้างในการขยายอำนาจ\nสุดท้ายมันก็ยิ่งบิดเบือนระบบเศรษฐกิจให้ผิดเพี้ยนเข้าไปอีก จนคนทำงานจริง ผลิตของจริง กลับไม่มีที่ยืนในระบบ\n.\n.\nให้เห็นภาพต่อว่า ถ้ามีคนผลิตมากขึ้น ทุกคนในระบบจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเสมอ ตราบใดที่\n1 เขาไม่ได้ขโมยใคร \n2 เขาแลกเปลี่ยนบนความสมัครใจ เท่านั้นยังไม่พอ \n3 \"เงิน\" มันต้องเป็นกระจกสะท้อนคุณค่าจากการผลิต \nไม่ใช่เงินที่สร้างจากหนี้แล้วใช้กฎหมายยังคับว่ามันมีค่า\n\nถ้าเงื่อนไขสามข้อนี้ยังอยู่ครบ\nทุนนิยมตลาดเสรีที่แท้จริง ก็จะเป็นระบบที่ยั่งยืน \nและแฟร์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา \nซึ่งตลอดประวัติศาสตร์เรายังไม่เคยแยกอำนาจการเงินออกจากมือมนุษย์ได้เลย\n\nเพราะถ้าเราปล่อยให้รัฐพิมพ์เงินได้อย่างอิสระ\nลดคุณค่าของเงินได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ\nและแทรกแซงราคาตลาดโดยไม่มีการผลิตรองรับ\nเมื่อถึงจุดนั้น ต่อให้เราผลิตเก่งแค่ไหน เราก็ไม่มีทางรวยขึ้น เพราะรางวัลไม่ได้แจกตามผลงาน \nแต่แจกตามความใกล้ชิตผู้มีอำนาจ\n\nเมื่อเงินเสื่อมค่าลงทุกวัน ข้าวของแพงขึ้น \nเราต้องทำงานหนักขึ้น แต่ซื้อของได้น้อยลง\nแล้วเราจะเริ่มถามตัวเองว่า\n\n“เรากำลังทำงานสร้างคุณค่าจริงๆ \nขยันจนแทบไม่มีเวลาหายใจ \nแต่สุดท้ายเรากำลังก้าวไปเดินหน้า \nหรือแค่พยายามเอาตัวรอดในระบบที่ไม่ยุติธรรม”\n\nและในวันนั้น...คุณอาจจะย้อนนึกถึงประโยคนี้\nที่อาจารย์เคยโพสแล้วอาจไม่ได้คิดว่ามันสำคัญ\n\nปล.วันนี้เราอาจเห็นต่างกันเรื่องบทบาทของรัฐ\nแต่ซุปคิดว่าจุดร่วมของคำถามนี้คือ\nระบบเศรษฐกิจที่ดี ควรให้รางวัลกับผู้ผลิต \nหรือให้รางวัลกับคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจ...\n\n#Siamstr",
"sig": "e6b290b05874afb0e6a1c6a78e64ff26b7d66cb4be4cdd27281569404f8979db9c30a2a05be44b8511f52b4f581d284e50fcd90c33a76d5de03639c682586788"
}