SiamstrUpdate on Nostr: ![image]() # ...
เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของเรา ในยุคคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร?
ในปัจจุบัน ชีวิตของเราถูกเฝ้าสังเกตในหลากหลายรูปแบบ:
ทุกธุรกรรมจากบัตรเครดิตจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล การโทรถูกบันทึกโดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์และนำไปใช้เพื่อทำการตลาดให้กับตัวเอง ธนาคารถ่ายสำเนาเช็คและเก็บรวบรวมเอาไว้ และ ด้วยเทคนิคการ “จับคู่” ใหม่ๆ ก็ทำให้การรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลนั้นสามารถเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราได้มากขึ้น
เมื่อฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขยายใหญ่ขึ้น เมื่อมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบโทรศัพท์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากขึ้น การเฝ้าสังเกตและติดตามก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โดยส่วนใหญ่แล้ว ทางแก้ปัญหาที่ถูกนำเสนอขึ้นมา มักจะเกี่ยวข้องกับการมีบทบาทที่มากขึ้นของรัฐบาล
หนึ่งในข้อเสนอนั้นคือ การผ่านกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อจำกัดการใช้ข้อมูล:
“ข้อมูลจะไม่สามารถนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เดิมที่เก็บรวบรวมมา”
ดังนั้น ข้อมูลรายได้ที่ธนาคารเก็บรวบรวมจากการติดตามกิจกรรมบัญชีเงินฝาก จะไม่สามารถเปิดเผยให้กับบริษัทที่รวบรวมรายชื่อผู้ติดต่อ(Mailing list companies) ข้อมูลทางโทรศัพท์จะไม่สามารถขายให้กับบริษัทการตลาดทางโทรศัพท์ได้ ฯลฯ
นี่เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ดีนัก ด้วยหลายๆสาเหตุ รัฐบาลมักจะไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ความง่ายในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูล ทำให้เกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับใช้กฎหมายลักษณะนี้
อีกทั้งรัฐบาลเองก็มีแนวโน้ม ที่จะยกเว้นตัวเองจากกฎหมายที่ร่างขึ้น เช่น แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่
กรมสรรพากรจะยินยอมสละสิทธิ์ การใช้เทคนิคการจับคู่ฐานข้อมูล ซึ่งใช้สำหรับติดตามผู้หลีกเลี่ยงภาษี แน่นอนว่า แนวคิดในการพยายามจำกัด การใช้ข้อมูลจำเป็นต้องมีข้อจำกัดที่เข้มงวด
สำหรับการกระทำการส่วนตัวของบุคคล ซึ่งผู้สนับสนุนแนวคิด Extropians* นั้นยอมรับไม่ได้
*หนึ่งในชุมชนออนไลน์เก่าแก่ คล้ายกับ Cypherpunks
แต่ก็มีทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อ David Chaum
จากศูนย์คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์
ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ ที่กังวลกับปัญหานี้ มองหาทางแก้ไขแบบพ่อปกครองลูกจากรัฐบาล
แต่ Chaum กลับค่อยๆ วางรากฐานด้านเทคนิค สำหรับวิธีการจัดระเบียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลส่วนบุคคลของเราในรูปแบบใหม่ แทนที่จะพึ่งพากฎหมายใหม่และรัฐบาลมากขึ้น Chaum มองหาทางออกทางด้านเทคนิค และทางออกเหล่านี้ต้องพึ่งพาศาสตร์โบราณที่ทุ่มเทให้กับการรักษาความลับของข้อมูลนั่นคือ ศาสตร์การเข้ารหัส หรือ Cryptography
ศาสตร์การเข้ารหัส (Cryptography) ศิลปะแห่งการเขียนความลับ นั้นได้รับการปฏิวัติในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่จุดประกายโดย การประดิษฐ์ศาสตร์การเข้ารหัส “Public-key”
นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ได้ต่อยอดออกไปในทิศทางต่างๆมากมาย โดยอาศัยเทคโนโลยีนี้
เพื่อผลักดันขอบเขตของความลับและความเป็นส่วนตัวไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ
การประยุกต์ใช้ศาสตร์การเข้ารหัสในรูปแบบใหม่นั้น ให้ความหวังว่ามันจะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่กล่าวถึงข้างต้นได้
แนวทางของ Chaum ในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สามารถแบ่งออกเป็น 3 Layers
Layers แรกคือ Public-key cryptography ซึ่งจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อความ แต่ละรายการ
Layers ที่สองคือ Anonymous messaging ซึ่งช่วยให้ผู้คนสามารถสื่อสารผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง
และ Layers ที่สามคือ Electronic money ซึ่งจะทำให้ผู้คนสามารถไม่เพียงแค่สื่อสารระหว่างกันได้เท่านั้น แต่ยังสามารถทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยความเป็นส่วนตัวได้ในระดับเดียวกันกับการใช้เงินสด
หากคุณเข้าไปในร้านค้าและซื้อสินค้าด้วยเงินสด จะไม่เหลือบันทึกใด ๆ ที่ผูกมัดคุณกับการทำธุรกรรม
เมื่อไม่มีบันทึก ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องนำเข้าไปในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
เป้าหมายของ Electronic money คือการอนุญาตให้ธุรกรรมส่วนตัวประเภทเดียวกันนี้ (การทำธุรกรรมคล้ายการใช้เงินสด) เกิดขึ้นได้บนระบบอิเล็กทรอนิกส์
(ยังมีข้อเสนออื่นๆ สำหรับ “เงินอิเล็กทรอนิกส์” ที่ไม่ได้ให้การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของบุคคลมากนัก ข้อเสนอของ Chaum มีเจตนาที่จะรักษาคุณสมบัติด้านความเป็นส่วนตัวของเงินสด ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะเรียกว่า “เงินสดดิจิทัล” แต่ตัวเลือกอื่นๆของเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่เพียงขาดความเป็นส่วนตัว แต่เอื้อต่อการเฝ้าติดตามทางคอมพิวเตอร์ โดยการนำข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นไปบันทึกในฐานข้อมูล และหันเหผู้คนไปจากการใช้เงินสด
หากคุณได้พบเจอเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ให้ตรวจสอบดูว่า ระบบมีความสามารถในการรักษาความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงินแบบเดียวกับที่เงินสดทำได้อยู่หรือไม่
หากไม่เป็นเช่นนั้น ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อทำลายความเป็นส่วนตัว ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล)
จากบทความต้นฉบับ Protecting Privacy with Electronic cash by Hal Finney
แปลและเรียบเรียงโดย Siamstr Update
ตีพิมพ์ในนิตยสาร Extropy Magazine ปี 1993
Published at
2024-05-19 09:18:40Event JSON
{
"id": "f5f29b73d41c98397dd041c000b91131a550517bb59b0ba2b66ede2844ab32b7",
"pubkey": "2521f791b431596eb314662ee5ae65b686d7623f419198b156252a110cf90b37",
"created_at": 1716110320,
"kind": 30023,
"tags": [
[
"client",
"31990:20986fb83e775d96d188ca5c9df10ce6d613e0eb7e5768a0f0b12b37cdac21b3:1700732875747"
],
[
"published_at",
"1716110320"
],
[
"d",
"1GeTot2jCEGxrLAQMQ5Qv"
],
[
"image",
"https://yakihonne.s3.ap-east-1.amazonaws.com/2521f791b431596eb314662ee5ae65b686d7623f419198b156252a110cf90b37/files/1716110324395-YAKIHONNES3.png"
],
[
"title",
"ปกป้องความเป็นส่วนตัว ด้วยเงินอิเล็กทรอนิคส์ โดย Hal Finney\u2028\nตอนที่ 1 เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของเรา ในยุคคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร?"
],
[
"summary",
""
],
[
"zap",
"2521f791b431596eb314662ee5ae65b686d7623f419198b156252a110cf90b37",
"",
"100"
],
[
"t",
"#siamstr"
],
[
"t",
"#บทความ"
],
[
"t",
"#เงินอิเล็กทรอนิคส์"
],
[
"t",
"#การเงิน"
]
],
"content": "![image](https://yakihonne.s3.ap-east-1.amazonaws.com/2521f791b431596eb314662ee5ae65b686d7623f419198b156252a110cf90b37/files/1716106491242-YAKIHONNES3.png)\n\n# เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของเรา ในยุคคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร?\n\n***ในปัจจุบัน ชีวิตของเราถูกเฝ้าสังเกตในหลากหลายรูปแบบ: \nทุกธุรกรรมจากบัตรเครดิตจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล การโทรถูกบันทึกโดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์และนำไปใช้เพื่อทำการตลาดให้กับตัวเอง ธนาคารถ่ายสำเนาเช็คและเก็บรวบรวมเอาไว้ และ ด้วยเทคนิคการ \"จับคู่\" ใหม่ๆ ก็ทำให้การรวบรวมข้อมูลจากหลายฐานข้อมูลนั้นสามารถเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราได้มากขึ้น \nเมื่อฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขยายใหญ่ขึ้น เมื่อมีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบโทรศัพท์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์มากขึ้น การเฝ้าสังเกตและติดตามก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย***\n\nโดยส่วนใหญ่แล้ว ทางแก้ปัญหาที่ถูกนำเสนอขึ้นมา มักจะเกี่ยวข้องกับการมีบทบาทที่มากขึ้นของรัฐบาล\nหนึ่งในข้อเสนอนั้นคือ การผ่านกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อจำกัดการใช้ข้อมูล: \n\"ข้อมูลจะไม่สามารถนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เดิมที่เก็บรวบรวมมา\" \nดังนั้น ข้อมูลรายได้ที่ธนาคารเก็บรวบรวมจากการติดตามกิจกรรมบัญชีเงินฝาก จะไม่สามารถเปิดเผยให้กับบริษัทที่รวบรวมรายชื่อผู้ติดต่อ(Mailing list companies) ข้อมูลทางโทรศัพท์จะไม่สามารถขายให้กับบริษัทการตลาดทางโทรศัพท์ได้ ฯลฯ\n\nนี่เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ดีนัก ด้วยหลายๆสาเหตุ รัฐบาลมักจะไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ความง่ายในการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูล ทำให้เกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับใช้กฎหมายลักษณะนี้\nอีกทั้งรัฐบาลเองก็มีแนวโน้ม ที่จะยกเว้นตัวเองจากกฎหมายที่ร่างขึ้น เช่น แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่\nกรมสรรพากรจะยินยอมสละสิทธิ์ การใช้เทคนิคการจับคู่ฐานข้อมูล ซึ่งใช้สำหรับติดตามผู้หลีกเลี่ยงภาษี แน่นอนว่า แนวคิดในการพยายามจำกัด การใช้ข้อมูลจำเป็นต้องมีข้อจำกัดที่เข้มงวด \nสำหรับการกระทำการส่วนตัวของบุคคล ซึ่งผู้สนับสนุนแนวคิด Extropians* นั้นยอมรับไม่ได้ \n*หนึ่งในชุมชนออนไลน์เก่าแก่ คล้ายกับ Cypherpunks\n\nแต่ก็มีทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อ David Chaum \nจากศูนย์คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ \nในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ ที่กังวลกับปัญหานี้ มองหาทางแก้ไขแบบพ่อปกครองลูกจากรัฐบาล \nแต่ Chaum กลับค่อยๆ วางรากฐานด้านเทคนิค สำหรับวิธีการจัดระเบียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลส่วนบุคคลของเราในรูปแบบใหม่ แทนที่จะพึ่งพากฎหมายใหม่และรัฐบาลมากขึ้น Chaum มองหาทางออกทางด้านเทคนิค และทางออกเหล่านี้ต้องพึ่งพาศาสตร์โบราณที่ทุ่มเทให้กับการรักษาความลับของข้อมูลนั่นคือ ศาสตร์การเข้ารหัส หรือ Cryptography\n\nศาสตร์การเข้ารหัส (Cryptography) ศิลปะแห่งการเขียนความลับ นั้นได้รับการปฏิวัติในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่จุดประกายโดย การประดิษฐ์ศาสตร์การเข้ารหัส \"Public-key\"\nนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ได้ต่อยอดออกไปในทิศทางต่างๆมากมาย โดยอาศัยเทคโนโลยีนี้ \nเพื่อผลักดันขอบเขตของความลับและความเป็นส่วนตัวไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ \nการประยุกต์ใช้ศาสตร์การเข้ารหัสในรูปแบบใหม่นั้น ให้ความหวังว่ามันจะสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่กล่าวถึงข้างต้นได้\n\nแนวทางของ Chaum ในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สามารถแบ่งออกเป็น 3 Layers\nLayers แรกคือ Public-key cryptography ซึ่งจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อความ แต่ละรายการ \nLayers ที่สองคือ Anonymous messaging ซึ่งช่วยให้ผู้คนสามารถสื่อสารผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง \nและ Layers ที่สามคือ Electronic money ซึ่งจะทำให้ผู้คนสามารถไม่เพียงแค่สื่อสารระหว่างกันได้เท่านั้น แต่ยังสามารถทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยความเป็นส่วนตัวได้ในระดับเดียวกันกับการใช้เงินสด\n\nหากคุณเข้าไปในร้านค้าและซื้อสินค้าด้วยเงินสด จะไม่เหลือบันทึกใด ๆ ที่ผูกมัดคุณกับการทำธุรกรรม\nเมื่อไม่มีบันทึก ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องนำเข้าไปในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์\nเป้าหมายของ Electronic money คือการอนุญาตให้ธุรกรรมส่วนตัวประเภทเดียวกันนี้ (การทำธุรกรรมคล้ายการใช้เงินสด) เกิดขึ้นได้บนระบบอิเล็กทรอนิกส์\n\n(ยังมีข้อเสนออื่นๆ สำหรับ \"เงินอิเล็กทรอนิกส์\" ที่ไม่ได้ให้การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของบุคคลมากนัก ข้อเสนอของ Chaum มีเจตนาที่จะรักษาคุณสมบัติด้านความเป็นส่วนตัวของเงินสด ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะเรียกว่า \"เงินสดดิจิทัล\" แต่ตัวเลือกอื่นๆของเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่เพียงขาดความเป็นส่วนตัว แต่เอื้อต่อการเฝ้าติดตามทางคอมพิวเตอร์ โดยการนำข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นไปบันทึกในฐานข้อมูล และหันเหผู้คนไปจากการใช้เงินสด \nหากคุณได้พบเจอเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ให้ตรวจสอบดูว่า ระบบมีความสามารถในการรักษาความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงินแบบเดียวกับที่เงินสดทำได้อยู่หรือไม่ \nหากไม่เป็นเช่นนั้น ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อทำลายความเป็นส่วนตัว ไม่ใช่เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล)\n\n\n\u003eจากบทความต้นฉบับ [Protecting Privacy with Electronic cash by Hal Finney](https://www.scribd.com/document/732187985/Hal-Finney-Extropy-Magazine-Feature)\nแปลและเรียบเรียงโดย Siamstr Update \nตีพิมพ์ในนิตยสาร Extropy Magazine ปี 1993\n\n\n\n\n",
"sig": "3fecc568ba2a9fe64869806cbc7f4baef08351c76617ff6721c6f0fd5322205f6aaeeb7ebd6c30a0fe38ecacc7aa7b7af203122d1f78e796c99ca311472024ac"
}