1. ก่อนประวัติศาสตร์ ณ ดินแดน แถวๆ นี้
มนุษย์เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณไหล่ทวีปซุนดาแลนด์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย ตลอดจนยุคหินอันยาวนาน แล้วเริ่มสร้างอารยะธรรมขึ้นตามพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเหมาะกับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์
หลักฐานแรกๆ ที่ถูกค้นพบ เกี่ยวกับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ คือ การเลี้ยงไก่บ้านซึ่งพบครั้งแรกในโลกที่ชุมชนบ้านโนนวัด จังหวัด นครราชสีมา ประเทศไทย
นักโบราณคดีขุดค้นพบ กระดูกไก่บ้านฝังอยู่ในบริเวณนี้จำนวนมาก และ เจอในอายุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบ โดยสามารถนับย้อนไปได้ตั้งแต่ช่วง 1,650-1,250 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งตรงกับยุคหินใหม่ (3,600 กว่าปีมาแล้ว)
ตั้งแต่มนุษย์โบราณเริ่มทำการปฏิวัติการเกษตร ลงหลักปักฐานตั้งชุมชน จึงจำเป็นต้องแผ้วถางป่าเพื่อเป็นที่ราบสำหรับปลูกข้าว ส่งผลให้ไก่ป่าเริ่มเข้ามาหากินตามพื้นที่ชุมชน และคนจึงเริ่มเลี้ยงไก่เพื่อเป็นอาหารอย่างจริงจัง องค์ความรู้นี้ถูกส่งต่อผ่านทางเครือข่ายทางการค้าไปยัง เมโสโปเตเมีย อินเดีย ไปจนถึงยุโรป
เมื่อชุมชนเกษตรกรรมใหญ่ขึ้น พัฒนาเป็นแหล่งอารายธรรมในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ - ยุคเหล็ก เห็นได้จากการเริ่มค้นพบเครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้ และที่มีชื่อเสียงที่สุด คือจากที่อารยธรรมบ้านเชียง บริเวณจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีอายุกว่า 3,000 ปีมาแล้ว
2. ก่อร่างสร้างอารยธรรม กำเนิด “คนไทย”
จากชุมชนกึ่งเกษตรกรรม-หาของป่า เริ่มพัฒนาเป็นเมืองที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีลักษณะเป็นเมืองที่มีพื้นที่ไม่ใหญ่ ประชากรไม่เยอะ แต่มีจำนวนเมืองมาก ตั้งกระจายอยู่ตามเส้นทางการค้าที่สำคัญ เช่นตามปากแม่น้ำ หรือ ช่องเขา ทางเดินผ่านป่า
คนที่นี่ ในสมัยนั้น ยังไม่ใช้ภาษาไทยในการสือสาร แต่ใช้ภาษามอญ-เขมร เป็นหลัก สืบเนื่องจากอารยธรรมฟูนัน จนถึง ขอม ที่แผ่ขยายอิทธิผลอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน
แล้วคนไทย หรือตามนิยามก็คือ ”กลุ่มคนที่พูดภาษาไทย” อยู่ที่ไหนและมาเริ่มอยู่ที่นี่ได้อย่างไร ?
คนพูดภาษาตระกูลไท-ไต ยุคนั้นอาศัยอยู่แทบตอนใต้ของจีน , บริเวณอาณาจักร เดียนเบียนฟู(เวียดนาม) , และ เวียงจันทร์(ลาว) ส่วนใหญ่เป็นเขตที่ราบสูงภูเขา ซึ่งนักโบราณคดีตั้งชื่อบริเวณนี้ว่าโซเมีย (Zomia)
จึงจะเห็นได้ว่า ภาษาไทยนั้นยังไม่ถูกใช้เป็นภาษากลาง ณ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ ภาคกลาง ของประเทศไทยในปัจจุบัน
จนกระทั่งการค้าทางทะเลกับจีนเริ่มเติบโตมากขึ้นจากเส้นทางสายไหมทางทะเล จีน ติดต่อกับ อินเดีย เปอร์เซีย ผ่านทะเลจีนใต้ - ช่องแคบมะละกา - มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งการเดินเรือในสมัยก่อน ต้องแล่นเรือเลียบชายฝั่งไปเรื่อยๆ ยังไม่สามารถตัดผ่านทะเลเปิดได้
เรือเหล่านี้จึงจำเป็นต้องแวะติดต่อกับชาวเผ่าตามทางระหว่างเดินเรือ เพื่อเติมเสบียงและแลกเปลี่ยนสินค้า ก่อให้เกิดเมืองท่าตามปากแม่น้ำ ปากอ่าว
กำแพงทางภาษา คืออุปสรรคของชาวราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้ภาษามอญเป็นหลัก คนเวียงจันทร์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการสื่อสารเพื่อทำการค้ากับจีน เนื่องจากมีรากทางภาษาใกล้เคียงกัน กอปรกับ ชาวภูเขา(เวียงจันทร์ ถึง จีนใต้) นำสินค้าจำพวก ทองคำ ข้าวเปลือก ไม้หอม เครื่องเทศ มาแลกเปลี่ยนกับสำเภาจีนด้วย
จึงเริ่มมีการใช้ภาษาไทย เพื่อเป็นภาษากลางทางการค้า ก่อกำเนิด ”คนไทย” ที่อาศัยอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก
เหล่าคนไทย เมื่อผ่านไปหลาย Generation เริ่มสะสม Wealth ก่อร้างสร้างวงศ์ตระกูล จนเริ่มเข้ามามีบทบาทในราชสำนักโบราณที่แต่เดิมเป็นคนมอญ เช่นใน อู่ทอง สุพรรณบุรี หรือ ละโว้ และยังมีคนไทยอีกมากมายที่เป็นชนชั้นนำผ่านการค้าขายกับจีน ส่งผลให้วัฒนธรรมคนพูดภาษาไทยเข้ามาครอบคลุมทั้งพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยในที่สุด…
FYI : การค้าขายในยุคนั้น ใช้ Barter trade , ทองคำ/หอยเบี้ย (สินค้าประเภทเงิน) ควบคู่กับเหรียญโลหะของแต่ละเมือง
FYI : ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาในไทยผ่านช่องทางการค้าจาก อินเดีย - ทวาย(พม่า) - ด่านเจดีย์สามองค์ เข้าสู่หัวเมืองต่างๆ และพัฒนาเป็นอารยธรรมทวารวดีในกาลต่อมา ซึ่งมีเมืองใหญ่อย่าง นครปฐม ,เสมา ,ศรีเทพ โดยเฉพาะเมืองศรีเทพ(เพชรบูรณ์) ที่เป็นเมืองพุทธขนาดใหญ่ ถึงขั้นมีมหาวิทยาลัยสงฆ์อยู่ในเมือง
3.เริ่มต้นประวัติศาสตร์ ยุคทองของชนชาติไทย ผ่านการค้าเสรี และ เงินที่แข็งแกร่ง
ถ้านับว่าจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์คือภาษาเขียน ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยคงเริ่มเมื่อพ่อขุนรามคำแหง จารึกภาษาไทยเป็นเวอร์ชั่นแรก บนหินทรายแป้ง เมื่อกว่า 700 ปีก่อน
เมืองสุโขทัย ถูกสถาปนาขึ้นบนเส้นทางการค้าบริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เปิดเมืองสุโขทัยให้เป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ สร้างถนนหนทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง
ลักษณะสังคมในสมัยสุโขทัยจะเป็นแบบกึ่งเกษตรกรรม คือ ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ และ ทำการประมงน้ำจืดเพื่อการยังชีพเป็นหลัก เหลือกว่านั้นจึงขาย ขณะเดียวกันก็มีการค้าขายของป่าจำพวก ไม้หอม เครื่องเทศ ไปจนถึงการถลุงแร่โลหะขาย เนื่องด้วยมีแร่เหล็ก ทองคำ และ ทองแดง อุดมสมบูรณ์อยู่ในพื้นที่ ดั่งชื่อ “สุวรรณภูมิ”
FYI : สมัยนี้เริ่มใช้เงินพดด้วงอย่างเป็นกิจลักษณะ ทำจากโลหะหลายประเภท (Precious metals money) ซึ่งถือเป็นเงินชั้นที่ 1 ในลำดับขั้นของเงิน ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าราคาแพงเช่น ที่อยู่อาศัย หรือ สัตว์ใหญ่ ขณะที่ใช้หอยเบี้ย เป็นหน่วยย่อยควบคู่กันไป เพื่อแลกเปลี่ยนของราคาถูกเช่น อาหาร หรือ ของใช้ประจำวัน
*โดยหอยเบี้ยที่ใช้กันในอุษาคเนย์ จะนำเข้ามาจากหมู่เกาะตั้งแต่ฟิลิปปินส์ ไป จนถึง มัลดีฟฟ์ เป็นเหตุให้รัฐในสมัยนั้นไม่สามารถควบคุม Supply ของหอย จึงจะเห็นได้ว่าถ้าปีไหนมรสุมเยอะ ปริมาณหอยที่เข้ามาในระบบก็จะน้อย หอยเบี้ยจึงเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติบางประการเป็นเงินได้*
ต่อมาในสมัยอยุธยา ชนชาติไทยสร้างเมืองจนกลายเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย กลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญในกลไกเศรฐกิจโลก
ในยุคนั้น ราชวงค์หมิงของจีนมีการสำรวจเส้นทางการค้าอย่างกว้างขวางโดย เจิ้ง เหอ (Cheng Ho, 1371-1433) ขันทีผู้บัญชาการกองเรือมหาสมบัติของจักรพรรดิหงอู่ ทำให้การค้าผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลรุ่งเรืองถึงขีดสุด
อีกทั้งยุคอยุธยายังร่วมสมัยเดียวกันกับช่วงเริ่มต้นของยุคเรอเนสซองซ์ในภาคพื้นยุโรป ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ศิลปะและวิทยาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องผ่านระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานของเงินที่ดี (Gold standard) ทำให้เครือข่ายอารยธรรมรอบโลก ไม่ว่าจะตะวันออกไกลจนถึงเกาะอังกฤษล้วนมีการพัฒนาขึ้น
พร้อมไปกับการเริ่มล่าอนานิคมโดยชาวตะวันตก ที่สร้างนวัตกรรมทางการเงินอย่างตลาดหุ้น (Dutch East India Company (VOC)) และ การเกิดขึ้นของระบบธนาคาร ทำให้ชนชาติยุโรปสามารถเข้าถึง “ทุน” ได้มากกว่าชาติอื่น และใช้ทุนดังกล่าวในการล่าทรัพยากรทั่วโลก กอบโกยกลับสู่จักวรรดิของตน
อยุธยาตลอดจนถึงยุครัตนโกสิทร์ ได้ประโยชน์จากภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยความที่เป็นรัฐกันชนระหว่างสองมหาอำนาจยุโรป (อังกฤษ,ฝรั่งเศส) จึงทำให้รักษาเอกราชไว้ได้ (แต่เสียสิทธิสภาพนอกอนาเขต และ โดนสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม)
รัฐอยุธยานั้นผูกขาดการค้า โดยมีพระคลังข้างที่ ดูแล ติดต่อ ทำการค้ากับฝรั่ง และเก็บภาษีหลากหลายประเภท เพื่อนำเงินมาใช้สร้าง ถนน สะพาน และกิจการทหาร
เนื่องด้วยความที่ประเทศโดยรอบต้องใช้แรงงานมหาศาลในการสร้างเมืองอณานิคม บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวชั้นเยี่ยม จึงได้อานิสงค์ในการส่งออกอาหารไปเลี้ยงแรงงานรอบๆ อุษาคเนย์ ทำกำไรให้มหาศาล เกิดเป็นยุคทองของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย
อารยธรรมคนพูดภาษาไทยแผ่ขยายเหนือสุดไปถึงประมาณอุตรดิตถ์ ใต้สุดไม่ไกลกว่านครศรีธรรมราช ไม่ได้ครอบคลุมเหมือนแผนที่ประเทศไทยที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการขีดเส้นแผนที่ และสถาปนาความเชื่อรัฐชาติสมัยใหม่
(รูปภาพอยุธยา วาดในปี ค.ศ.1665 โดย Johannes Vingboons, ผู้จ้างคือ the Dutch East India Company)
4. รัตนโกสินทร์
แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เรียกว่า บางกอก มีชุมชนดั้งเดิมอาศัยอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่สมัยอยุทธยา จนกระทั่งพระเจ้าตากสินสร้างกรุงธนบุรี และต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายราชธานีมาอยู่อีกฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและสถาปานาเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน
ช่วงแรกยังเป็นระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมคือกึ่งการเกษตร มีการค้าขายกับต่างชาติบ้างตามเดิมคือ จีน อินเดีย มลายู โดยสินค้าส่งออกหลักยังคงเป็นข้าว
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาว์ริง (Bowring Treaty) กับอังกฤษซึ่งในสมัยนั้นเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลก ส่งผลให้เกิดการค้าเสรีระหว่างไทยกับอังกฤษขึ้น และ เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางตามมา
ถึงแม้ว่าสนธิสัญญานี้จะทำให้ไทยเสียสิทธินอกอณาเขตให้อังกฤษ แต่ก็ทำให้ไทยได้ค้าขายและเริ่มเปิดตัวสู่โลกมากขึ้น ตลาดเสรีเริ่มกำเนิดในไทย มีการเข้ามาลงทุนจากต่างชาติและพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องไปจนถึงการผลิตเหรียญกษาปณ์และธนบัตรในรัชกาลที่ 4
ต่อมาเริ่มมีการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านจากระบบศักดินาสู่อารยะ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงระบบการเงินการธนาคารอย่าง กรมธนบัตร , กรมการคลัง , และ ธนาคารสยามกัมมาจล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ ได้มีการรวมศูนย์อำนาจ เริ่มขีดเส้นเขตแดน ยึดหัวเมืองเหนือจรดใต้ ปราบกบฏผู้มีบุญทั้งหลาย
”ความเป็นคนไทย“ ถูกขยายออกไปนอกที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีการทำลายความเชื่อ ภาษาพูด,เขียน ของท้องถิ่นต่างๆ และสร้างค่านิยมการใช้ภาษาพูด,เขียน แบบไทยแทน
หลักสูตรการเรียนการสอนประวัติศาสตร์หลังยุคนี้จึงมีลักษณะเป็น “ราชาชาตินิยม” กล่าวคือการสอนเพื่อเสริมสำนึกความรักชาติไทย ผ่านตัวละครในประวัติศาสตร์ราชสำนักไทย ไล่ย้อนกลับไปถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง
เราจึงโตมาโดยแทบไม่รู้จักกษัตริย์ล้านนา หรือ เจ้าเมืองปาตานีเลย ทัังๆที่เราถูกย้ำนักย้ำหนาว่าผืนดินทุกตารางนิ้วตามแผนที่ปัจจุบันคือประเทศไทย
ขณะเดียวกันเรากลับโตมาด้วยความเชื่อใน “เชื้อชาติไทย” ตามวลีหนึ่งในเพลงชาติ ซึ่งเชื้อชาติไทยนั้นไม่มีอยู่จริง หากแต่คนไทยทุกวันนี้เกิดจากการผสมปนไปมาของคนอุษาคเนย์ คนจีน และ อื่นๆ …
ด้วยระบบการปกครองที่ยังรวมศูนย์อำนาจเบ็ดเสร็จและการบริหารเศรษฐกิจของประเทศโดยชนชั้นนำเพียงหยิบมือ ทำให้การใช้จ่ายของรัฐในสมัยนั้นไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ในรัชกาลที่ 6 - 7 ก่อให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไทยได้กลายมาเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่และมีการลงทุนเข้ามาประเทศอย่างมหาศาลจากต่างชาติ ทั้งในแง่การค้าขาย และ การเมือง ที่อเมริกาอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทางไปสู่ทั้งภูมิภาคเพื่อหวังจะหยุดการล้มครืนของ Domino effect จากลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Bretton Woods Conference, meeting at Bretton Woods, New Hampshire (July 1–22, 1944),
อย่างที่เราเห็น อเมริกาหยุดลัทธิคอมมิวนิสต์ไว้ได้สำเร็จที่ชายแดนฝั่งแม่น้ำโขง แต่แลกมาด้วยความเจ็บปวดของคนในพื้นที่จากภัยสงครามและความขัดแย้ง ความโกรธเกลียดฝังรากลึกมาถึงปัจจุบันพร้อมทั้งที่อเมริการสถาปณาตนเป็นผู้นำโลกรายใหม่ ผ่านการล่าอณานิคมโดย Us dollar , World Bank , IMF ….