Libertarian.realpolitik on Nostr: ...
เคยสงสัยไหมว่าทำไมพอมีปัญหาทางเศรษฐกิจแล้วจะมีคนบางกลุ่มออกมาบอกว่า “รัฐควรแก้ไขปัญหา…” อย่างนั้นอย่างนี้ หรือถ้าแก้แล้วยังมีปัญหาตามมาก็พยายามหาหลักการและเหตุผลมาสนับสนุนว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐ กล่าวคือ ปัญหาทุกอย่างในความคิดพวกเขาจะต้องแก้ด้วยรัฐเป็นสัดส่วนที่มากกว่าการปล่อยไปตามกลไกตลาดเสมอ พวกเขาเหล่านี้มีชุดความคิด (mindset) ที่ว่ารัฐควรเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างหนักแน่น จนไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่าแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นมาอีกนั้นมาจากไหน? มากไปกว่านั้นพวกเขาปฏิเสธความคิดที่ว่า “เศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องของมนุษย์” หากแต่เป็น “เครื่องจักรรถยนต์” การพิสูจน์ว่าพวกเขาเหล่านั้นมองเศรษฐกิจยังไงก็ต้องทบทวนถึงแนวคิดเรื่องนี้กันก่อน

เริ่มแรก “เศรษฐกิจเป็นเรื่องของมนุษย์” คือการมองมนุษย์บนฐานแบบ *Anthropomorphism *ซึ่งเชื่อว่าบุคลิกภาพ อารมณ์ เจตนา อะไรต่าง ๆ มันมี ‘ความเป็นมนุษย์’ ซึ่งแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นมันจึงไม่มีรูปแบบแผนที่ตายตัวและคาดการณ์ได้ด้วยสูตรคำนวณที่แม่นยำ หรือ มีตัวแปรคงที่ จะตรงกันข้ามกับ “เศรษฐกิจเป็นเหมือนเครื่องยนต์” หรือ *mechanomorphism *เป็นการมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างหรือกับมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในจักรวาลเปรียบเสมือนกับเครื่องจักรที่เราสามารถคาดการณ์ หรือ วัดได้ด้วยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) แต่ในความเป็นจริง ถ้ามนุษย์เราสามารถวัดหรือคาดการณ์ทุกอย่างที่แม่นยำได้เกี่ยวกับสังคมมนุษย์เราเอง ปัญหาทุกอย่างในสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ก็เป็นเพียงเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เมื่อปัญหามันเกิดขึ้นเราก็สามารถหาแนวทางเชิงเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาให้มันบรรเทาหรือหมดไปได้
เมื่อรู้สูตรคำนวณและตัวแปรที่แม่นยำการคาดการณ์อนาคตก็ย่อมเป็นไปได้และหาทางหลีกเลี่ยงมันได้ แต่ทว่าในสังคมมนุษย์มันมีความซับซ้อนและไม่แน่นอน ซึ่งในความเป็นจริงสังคมมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ด้วยการคำนวณหรือประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นอกเหนือจาก “สัจพจน์” ที่ถูกค้นพบว่าเป็นจริงแท้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น กฎอุปสงค์-อุปทานตามหลักการ ceteris paribus (all other things being equal) เมื่อราคาสินค้าและบริการของ A เพิ่มขึ้นสูง อุปสงค์ที่จะต้องการสินค้าและบริการ A จะต้องลดลง และกฎทางเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สูญสลายสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมชาติของมนุษย์” ไป อย่างการก้าวข้ามความรู้สึกนึกคิดในแบบที่มนุษย์เป็นอยู่ในปัจจุบันอันมีลักษณะเฉพาะต่างกันไปแต่ละคน ทำให้บางครั้งการตั้งคำถามต่อธรรมชาติของมนุษย์ การตั้งคำถามกับกระบวนการตามธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์แบบ “มักจะ” นำไปสู่ข้อสรุปที่ปฏิเสธสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมชาติ” แล้วโอบรับกลไกที่เชื่อว่าเป็น “ระบบ” ที่คาดการณ์ได้ว่ามนุษย์ดำเนินตามระบบแบบนั้นมากกว่าจะมีเจตจำนงที่ยากจะเหมือนกัน

การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นไปตามชุดความคิดที่กล่าวมาข้างต้น หากจะขยายความว่ามันคืออะไรกันแน่? ก็คงไม่พ้นการอธิบายด้วยการยกเหตุผลวิบัติหนึ่งที่เรียกพฤติกรรมจำเพาะเหล่านี้ว่า “Nirvana fallacy” คือ ความพยายามเปรียบเทียบความเป็นจริงกับเป้าหมายทางอุดมคติ ซึ่งแนวโน้มของความคิดของคนที่จะใช้ตรรกะวิบัติประเภทนี้เขามองว่ามันจะมี “perfect solution” ในปัญหาที่เฉพาะเจาะจง แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่ามันแก้ไขไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง พวกเขาก็จะหา perfect solution อย่างอื่นมาแก้ไขปัญหาต่อเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จักจบ สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศไทยและต่างประเทศที่เหล่าผู้มีอำนาจพยายามลองผิดลองถูก (trial and error) กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนผ่านนโยบายที่ทำร้ายประชาชนในประเทศอยู่เรื่อยไป คนเหล่านั้นพวกเขามักจะไม่เข้าใจวิถีชีวิตของคนและมีความคิดที่คับแคบ เป็นเหตุผลว่าทำไมเขามองว่าเศรษฐกิจเป็นเหมือนเครื่องจักรรถยนต์มากกว่าเป็นเรื่องของสิ่งมีชีวิต (มนุษย์)

ผู้ที่ยึดถือแนวทางเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) และผู้นับถือลัทธิอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายล้วนมักจะใช้ “การแก้ปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม” มากกว่าหาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและเข้ากับความเป็นจริงซึ่งไม่ใช่ข้อเสนอเดิม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากประเทศ A มีปัญหาขาดแคลนสินค้า x รัฐบาลของประเทศ A มีนักการเมืองชื่อบี เสนอให้รัฐควบคุมราคาอันเนื่องมาจากสินค้าที่ขาดแคลนมีราคาแพงอยู่แล้ว มันอาจจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ผลที่ได้รับก็คือ สินค้า x ยิ่งจะขาดแคลนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทันใดนั้นเองการควบคุมราคาก็ไม่อาจควบคุมได้อยู่อีกต่อไป นักการเมืองบีเลยเสนอมาตรการอื่น ๆ ที่ให้รัฐมีบทบาทไปซะเองโดยการให้รัฐบาลผลิตสินค้า x ขึ้นมาเองผ่านเงินภาษีไปจัดตั้งอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า x สิ่งที่อาจตามมาอีกก็คือ สินค้า x ที่ผลิตอาจแก้ไขความขาดแคลนได้ก็จริง แต่คุณภาพของสินค้าอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเอกชนแข่งขันคุณภาพสินค้ากันเอง อาจทำให้เกิดตลาดมืดขึ้นมา หรือ ท้ายที่สุดรัฐเกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมีปัญหาด้านต้นทุนที่สูง … ข้อสรุปก็คือ ยิ่งให้รัฐเข้ามายุ่งหรือแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ก็อาจเกิดปัญหาอื่นตามมา ข้อเสนอใดที่เมื่อให้รัฐเข้าไปยุ่งและยุ่งมากขึ้นล้วนเป็นการ “แก้ไขปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม” ไม่มีทางที่จะคิดถึงทางเลือกอื่น ตราบเท่าที่เขาเชื่อว่ารัฐคือ “ทุกสิ่งทุกอย่าง” ที่จะประทานให้กับเขา
ทางออกที่ง่ายที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ
- การมองหาตัวเลือกที่ดีที่สุดและเป็นสิ่งที่ตามกลไกธรรมชาติ *
ในปัจจุบันรัฐบาลพยายามบิดเบือนกลไกธรรมชาติแล้วต้องการควบคุมมันให้อยู่กับมือ แต่ครั้งเมื่ออดีตรัฐคอมมิวนิสต์มันแสดงให้เห็นแล้วว่าการรวมศูนย์ทางเศรษฐกิจนั้นนอกเหนือจากจะเป็นไปไม่ได้ในทางทฤษฏีแล้ว ในความเป็นจริงก็ทำให้มีปัญหามากมายก่ายกองกว่าประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทั้งคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าและความอดอยากที่รุนแรงกว่า การบิดเบือนกลไกธรรมชาติจะต้องได้รับสิ่งตอบแทนที่แลกเปลี่ยนก็คือการเกิด “วิกฤต” หลายคนที่มีความคิดที่จะให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤต เพราะตลาดเสรีเป็นตัวนำไปสู่วิกฤตเอง ซึ่งตามเหตุผลนี้ทำให้พวกเขามักมองข้ามจุดเริ่มแรกไปว่าเศรษฐกิจไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์แบบ มันล้วนมีจุดเติบโตและจุดถดถอยของมัน (เพราะมันคือ “ธรรมชาติ”) แต่สุดท้ายกลไกธรรมชาติของตลาดมันก็จะปรับตัวให้ดีขึ้นของตัวมันเองโดยไม่ต้องไปทำอะไร แต่พวกเขาดันคิดว่ากลไกธรรมชาติคือ “ปัญหา” ตั้งแต่แรกและควรกำกับควบคุมมันแทน ทว่าการควบคุมก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่จบสิ้น คำถามสุดท้ายในส่วนท้ายของบทความนี้ก็คือ “แล้วพวกเขาจะทำไปทำไม?” ในเมื่อทำไปแล้วมันมีปัญหาตามมา? คำตอบในมุมมองของผู้เขียนก็คือ พวกเขาไม่ได้เชื่อเรื่องเสรีภาพตั้งแต่แรก แม้ว่าพวกเขาทำไปแล้วอ้างเสรีภาพมันก็นำไปสู่ความย้อนแย้งที่ใช้สถาบันที่ผูกขาดความรุนแรงเหนือพื้นที่มากำกับหรือมองเสรีภาพให้คนอื่นได้อย่างปลอมเปลือก ไม่ใช่เสรีภาพแบบสิทธิ์ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละคนจริง ๆ
#siamstr
.
บรรณานุกรม
Thornton, Mark. The REAL Solution to the Coming Economic Crisis. Auburn, AL: Mises institute, 2022.
Published at
2023-09-25 05:00:20Event JSON
{
"id": "df72211a47980da81045b1549ead91fd7e6ed62786a37c27d4c0a513a8cabb18",
"pubkey": "3f930d5f05b2bb0c962ca56e5008d110a831ddd8395105c9b932c2317cd8ce4b",
"created_at": 1695618020,
"kind": 30023,
"tags": [
[
"client",
"yakihonne.com"
],
[
"published_at",
"1695618020276"
],
[
"d",
"oxtNTJZVI--lBKU2mqFwS"
],
[
"image",
"https://yakihonne.s3.ap-east-1.amazonaws.com/3f930d5f05b2bb0c962ca56e5008d110a831ddd8395105c9b932c2317cd8ce4b/files/1695617070756-YAKIHONNES3.jpg"
],
[
"title",
"วิกฤตเศรษฐกิจเกิดจาก \"การแก้ปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม\"\n"
],
[
"summary",
"ทางออกสู่เสรีภาพทางเศรษฐกิจและสังคม"
],
[
"t",
"Economics"
],
[
"t",
"Politics"
]
],
"content": "เคยสงสัยไหมว่าทำไมพอมีปัญหาทางเศรษฐกิจแล้วจะมีคนบางกลุ่มออกมาบอกว่า ***\"รัฐควรแก้ไขปัญหา...\"*** อย่างนั้นอย่างนี้ หรือถ้าแก้แล้วยังมีปัญหาตามมาก็พยายามหาหลักการและเหตุผลมาสนับสนุนว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐ กล่าวคือ ปัญหาทุกอย่างในความคิดพวกเขาจะต้องแก้ด้วยรัฐเป็นสัดส่วนที่มากกว่าการปล่อยไปตามกลไกตลาดเสมอ พวกเขาเหล่านี้มีชุดความคิด (mindset) ที่ว่ารัฐควรเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างหนักแน่น จนไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่าแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นมาอีกนั้นมาจากไหน? มากไปกว่านั้นพวกเขาปฏิเสธความคิดที่ว่า \"เศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องของมนุษย์\" หากแต่เป็น \"เครื่องจักรรถยนต์\" การพิสูจน์ว่าพวกเขาเหล่านั้นมองเศรษฐกิจยังไงก็ต้องทบทวนถึงแนวคิดเรื่องนี้กันก่อน\n\n\n\n\n\n\n**เริ่มแรก** \"เศรษฐกิจเป็นเรื่องของมนุษย์\" คือการมองมนุษย์บนฐานแบบ *Anthropomorphism *ซึ่งเชื่อว่าบุคลิกภาพ อารมณ์ เจตนา อะไรต่าง ๆ มันมี 'ความเป็นมนุษย์' ซึ่งแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นมันจึงไม่มีรูปแบบแผนที่ตายตัวและคาดการณ์ได้ด้วยสูตรคำนวณที่แม่นยำ หรือ มีตัวแปรคงที่ จะตรงกันข้ามกับ “เศรษฐกิจเป็นเหมือนเครื่องยนต์” หรือ *mechanomorphism *เป็นการมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างหรือกับมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในจักรวาลเปรียบเสมือนกับเครื่องจักรที่เราสามารถคาดการณ์ หรือ วัดได้ด้วยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) แต่ในความเป็นจริง ถ้ามนุษย์เราสามารถวัดหรือคาดการณ์ทุกอย่างที่แม่นยำได้เกี่ยวกับสังคมมนุษย์เราเอง ปัญหาทุกอย่างในสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ก็เป็นเพียงเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เมื่อปัญหามันเกิดขึ้นเราก็สามารถหาแนวทางเชิงเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาให้มันบรรเทาหรือหมดไปได้\n\n\nเมื่อรู้สูตรคำนวณและตัวแปรที่แม่นยำการคาดการณ์อนาคตก็ย่อมเป็นไปได้และหาทางหลีกเลี่ยงมันได้ แต่ทว่าในสังคมมนุษย์มันมีความซับซ้อนและไม่แน่นอน ซึ่งในความเป็นจริงสังคมมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ด้วยการคำนวณหรือประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นอกเหนือจาก \"สัจพจน์\" ที่ถูกค้นพบว่าเป็นจริงแท้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น **กฎอุปสงค์-อุปทานตามหลักการ ceteris paribus (all other things being equal)** เมื่อราคาสินค้าและบริการของ A เพิ่มขึ้นสูง อุปสงค์ที่จะต้องการสินค้าและบริการ A จะต้องลดลง และกฎทางเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สูญสลายสิ่งที่เรียกว่า **“ธรรมชาติของมนุษย์”** ไป อย่างการก้าวข้ามความรู้สึกนึกคิดในแบบที่มนุษย์เป็นอยู่ในปัจจุบันอันมีลักษณะเฉพาะต่างกันไปแต่ละคน ทำให้บางครั้งการตั้งคำถามต่อธรรมชาติของมนุษย์ การตั้งคำถามกับกระบวนการตามธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์แบบ “มักจะ” นำไปสู่ข้อสรุปที่ปฏิเสธสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมชาติ” แล้วโอบรับกลไกที่เชื่อว่าเป็น “ระบบ” ที่คาดการณ์ได้ว่ามนุษย์ดำเนินตามระบบแบบนั้นมากกว่าจะมีเจตจำนงที่ยากจะเหมือนกัน\n\n\n\nการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นไปตามชุดความคิดที่กล่าวมาข้างต้น หากจะขยายความว่ามันคืออะไรกันแน่? ก็คงไม่พ้นการอธิบายด้วยการยกเหตุผลวิบัติหนึ่งที่เรียกพฤติกรรมจำเพาะเหล่านี้ว่า ***\"Nirvana fallacy\"*** คือ ความพยายามเปรียบเทียบความเป็นจริงกับเป้าหมายทางอุดมคติ ซึ่งแนวโน้มของความคิดของคนที่จะใช้ตรรกะวิบัติประเภทนี้เขามองว่ามันจะมี **\"perfect solution\" ในปัญหาที่เฉพาะเจาะจง** แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่ามันแก้ไขไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง พวกเขาก็จะหา perfect solution อย่างอื่นมาแก้ไขปัญหาต่อเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จักจบ **สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศไทยและต่างประเทศที่เหล่าผู้มีอำนาจพยายามลองผิดลองถูก (trial and error)** กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนผ่านนโยบายที่ทำร้ายประชาชนในประเทศอยู่เรื่อยไป คนเหล่านั้นพวกเขามักจะไม่เข้าใจวิถีชีวิตของคนและมีความคิดที่คับแคบ เป็นเหตุผลว่าทำไมเขามองว่าเศรษฐกิจเป็นเหมือนเครื่องจักรรถยนต์มากกว่าเป็นเรื่องของสิ่งมีชีวิต (มนุษย์)\n\n\n\n\nผู้ที่ยึดถือแนวทาง**เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics)** และผู้นับถือลัทธิอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายล้วนมักจะใช้ \"การแก้ปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม\" มากกว่าหาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและเข้ากับความเป็นจริงซึ่งไม่ใช่ข้อเสนอเดิม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากประเทศ A มีปัญหาขาดแคลนสินค้า x รัฐบาลของประเทศ A มีนักการเมืองชื่อบี เสนอให้รัฐควบคุมราคาอันเนื่องมาจากสินค้าที่ขาดแคลนมีราคาแพงอยู่แล้ว มันอาจจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ผลที่ได้รับก็คือ สินค้า x ยิ่งจะขาดแคลนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทันใดนั้นเองการควบคุมราคาก็ไม่อาจควบคุมได้อยู่อีกต่อไป นักการเมืองบีเลยเสนอมาตรการอื่น ๆ ที่ให้รัฐมีบทบาทไปซะเองโดยการให้รัฐบาลผลิตสินค้า x ขึ้นมาเองผ่านเงินภาษีไปจัดตั้งอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า x สิ่งที่อาจตามมาอีกก็คือ สินค้า x ที่ผลิตอาจแก้ไขความขาดแคลนได้ก็จริง แต่คุณภาพของสินค้าอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเอกชนแข่งขันคุณภาพสินค้ากันเอง อาจทำให้เกิดตลาดมืดขึ้นมา หรือ ท้ายที่สุดรัฐเกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมีปัญหาด้านต้นทุนที่สูง ... ข้อสรุปก็คือ ยิ่งให้รัฐเข้ามายุ่งหรือแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ก็อาจเกิดปัญหาอื่นตามมา ข้อเสนอใดที่เมื่อให้รัฐเข้าไปยุ่งและยุ่งมากขึ้นล้วนเป็นการ \"แก้ไขปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม\" ไม่มีทางที่จะคิดถึงทางเลือกอื่น ***ตราบเท่าที่เขาเชื่อว่ารัฐคือ \"ทุกสิ่งทุกอย่าง\" ที่จะประทานให้กับเขา***\n\n\n## ทางออกที่ง่ายที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ \n\n\n\u003e* การมองหาตัวเลือกที่ดีที่สุดและเป็นสิ่งที่ตามกลไกธรรมชาติ *\n\nในปัจจุบันรัฐบาลพยายามบิดเบือนกลไกธรรมชาติแล้วต้องการควบคุมมันให้อยู่กับมือ แต่ครั้งเมื่ออดีตรัฐคอมมิวนิสต์มันแสดงให้เห็นแล้วว่าการรวมศูนย์ทางเศรษฐกิจนั้นนอกเหนือจากจะเป็นไปไม่ได้ในทางทฤษฏีแล้ว ในความเป็นจริงก็ทำให้มีปัญหามากมายก่ายกองกว่าประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทั้งคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าและความอดอยากที่รุนแรงกว่า การบิดเบือนกลไกธรรมชาติจะต้องได้รับสิ่งตอบแทนที่แลกเปลี่ยนก็คือการเกิด \"วิกฤต\" หลายคนที่มีความคิดที่จะให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤต เพราะตลาดเสรีเป็นตัวนำไปสู่วิกฤตเอง ซึ่งตามเหตุผลนี้ทำให้พวกเขา**มักมองข้ามจุดเริ่มแรกไปว่าเศรษฐกิจไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์แบบ มันล้วนมีจุดเติบโตและจุดถดถอยของมัน (เพราะมันคือ “ธรรมชาติ”)** **แต่สุดท้ายกลไกธรรมชาติของตลาดมันก็จะปรับตัวให้ดีขึ้นของตัวมันเองโดยไม่ต้องไปทำอะไร แต่พวกเขาดันคิดว่ากลไกธรรมชาติคือ \"ปัญหา\" ตั้งแต่แรกและควรกำกับควบคุมมันแทน** ทว่าการควบคุมก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่จบสิ้น คำถามสุดท้ายในส่วนท้ายของบทความนี้ก็คือ “แล้วพวกเขาจะทำไปทำไม?” ในเมื่อทำไปแล้วมันมีปัญหาตามมา? คำตอบในมุมมองของผู้เขียนก็คือ พวกเขาไม่ได้เชื่อเรื่องเสรีภาพตั้งแต่แรก แม้ว่าพวกเขาทำไปแล้วอ้างเสรีภาพมันก็นำไปสู่ความย้อนแย้งที่ใช้สถาบันที่ผูกขาดความรุนแรงเหนือพื้นที่มากำกับหรือมองเสรีภาพให้คนอื่นได้อย่างปลอมเปลือก ไม่ใช่เสรีภาพแบบสิทธิ์ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละคนจริง ๆ\n\n#siamstr\n.\nบรรณานุกรม\n\nThornton, Mark. The REAL Solution to the Coming Economic Crisis. Auburn, AL: Mises institute, 2022.",
"sig": "a9051deaec6611db7365ce159b19a925df4550c5bf8e9d599132937c061dee004a1004aa4eec5e5d47db8b452ab1dedbed7903db0039b38fcdc922cbe452ff7e"
}